“จะเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน การก่อสร้างทางหลวงสายใหม่ การพัฒนาระบบราง ทั้งรถไฟทางคู่ ทางรถไฟสายใหม่ รถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านการเดินทางสัญจร และการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่เชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
แม้ว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงระบาดในหลายพื้นที่ทั่วโลก และบางประเทศพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นรายวัน ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ตลอดจนการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสาธารณสุขเป็นหลัก แต่ด้วยภาคเศรษฐกิจที่จะต้องขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นฟันเฟืองที่สำคัญทำให้ภาครัฐได้ให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน
ดังนั้นภาคการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยหนุนกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนเดินหน้าได้ แน่นอนว่าจะหยุดไม่ได้โดยเด็ดขาด จึงเป็นที่มาของกระทรวงคมนาคม โดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่มีนโยบายที่สำคัญคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง โดยมีเป้าประสงค์เพื่อกระจายความเจริญไปทั่วทุกภูมิภาค เนื่องจากสิ่งที่จะได้ตามมาคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
ยกระดับอีสานใต้
ล่าสุด นายศักดิ์สยามได้ลงพื้นที่อีสานใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร เพื่อเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน การก่อสร้างทางหลวงสายใหม่ การพัฒนาระบบราง ทั้งรถไฟทางคู่ ทางรถไฟสายใหม่ รถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง
นอกจากนี้ยังพ่วงรวมถึงการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านการเดินทางสัญจร และการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่เชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สปป.ลาว และเวียดนาม จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเร่งรัดดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง ตลอดจนส่งเสริมด้านความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ โดยการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายทางถนน
“จะเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน การก่อสร้างทางหลวงสายใหม่ การพัฒนาระบบราง ทั้งรถไฟทางคู่ ทางรถไฟสายใหม่ รถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านการเดินทางสัญจร และการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่เชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
ทุ่มงบพัฒาบก ราง น้ำ อากาศ
เมื่อได้กางแผนของกระทรวงคมนาคมแล้ว พบว่า ในส่วนโครงการในพื้นที่อีสานใต้ 3 จังหวัด ประกอบด้วย “จังหวัดอำนาจเจริญ” โดยกรมทางหลวง (ทล.) ได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาโครงการต่างๆ วงเงินกว่า 10,823 ล้านบาท เช่น การปรับปรุงเพิ่มช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 202 ยโสธร-อำนาจเจริญ ตอนยโสธร-บ.น้ำปลีก (ตอน 1-2) ระยะทางรวม 32.8 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1,272 ล้านบาท
สำหรับจังหวัดยโสธร ทล.ได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงการพัฒนาโครงการในอนาคตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจราจร รวมงบประมาณในการพัฒนาโครงการต่างๆ มูลค่ากว่า 9,158 ล้านบาท ในส่วนของจังหวัดมุกดาหาร มูลค่าการลงทุนกว่า 6,070 ล้านบาท เช่น การปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 212 อ.หว้านใหญ่-อ.ธาตุพนม ระยะทาง 24 กม. วงเงิน 1,047 ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างทางแนวใหม่ทางหลวงหมายเลข 12 บ.นาไคร้-อ.คำชะอี (2 ตอน) ระยะทาง 37 กม. วงเงิน 2,393 ล้านบาท
นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังมีแผนการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางรางในพื้นที่ภาคอีสาน โดยได้ดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ รวมถึงอยู่ระหว่างการประกวดราคาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม โดยมีเส้นทางที่เตรียมพัฒนาในอนาคต เช่น รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย และช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี และทางรถไฟสายใหม่ เช่น ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ ช่วงศรีสะเกษ-ยโสธร-ร้อยเอ็ด และช่วงอุบลราชธานี-ช่องเม็ก รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาทางรถไฟจาก อ.เลิงนกทา ผ่านจังหวัดอำนาจเจริญไปยังจังหวัดอุบลราชธานี
ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาที่สำคัญคือ รถไฟความเร็วสูงตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน โดยช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างและเตรียมลงนามสัญญา คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 และช่วงนครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2570 ซึ่งจะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง Belt & Road Initiative เชื่อมไทยไปสู่โลก อีกทั้งยังมีการบูรณาการโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับมอเตอร์เวย์ (MR-MAP) ซึ่งจะเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน และลดภาระในการลงทุนของภาครัฐ โดยในพื้นที่ภาคอีสาน ประกอบด้วย 4 เส้นทาง ได้แก่ 1.หนองคาย-แหลมฉบัง 2.บึงกาฬ-สุรินทร์ 3.ตาก-นครพนม และ 4.กาญจนบุรี-อุบลราชธานี
สำหรับการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงท่าอากาศยาน 4 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี พร้อมทั้งเตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งท่าอากาศยานมุกดาหาร ที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางและเสริมศักยภาพจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นประตูสู่อินโดจีนอีกด้วย
ตั้งศูนย์จำหน่าย OTOP
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ในปี 2564 กระทรวงคมนาคมมีแผนจะบูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการหาสถานที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการวางผลิตภัณฑ์การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP (หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์) แบบถาวร เพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมองว่าที่ผ่านมา เรามีพื้นจัดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ไม่เพียงพอและไม่ชัดเจนแน่นอนว่าอยู่ที่ไหน
ทั้งนี้ หากจะส่งเสริมให้ OTOP มีความมั่นคงมีเสถียรภาพ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เมื่อผลิตแล้วต้องดำเนินการหาพื้นที่ที่วางจำหน่ายได้ เช่น บริเวณสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงพื้นที่ในสถานีรถไฟหัวลำโพง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นอกจากนี้จะหารือกับกรมท่าอากาศยาน (ทย.), บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กรมเจ้าท่า (จท.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) หลังจากนี้ไปพิจารณาจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม
ส่วนแนวทางบริหารจัดการให้ผู้ประกอบการนำสินค้า OTOP มาจำหน่าย หรือค่าเช่านั้น จะเป็นระบบแบ่งปัน หรือ Profit Sharing เบื้องต้นจะเป็นลักษณะการตลาดรูปแบบค้าขายปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) โดยแบ่งปันผลกำไรในระบบที่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการแสวงหากำไรเท่านั้น แต่เป็นการดึงศักยภาพของผู้ประกอบกอบการ OTOP และมองว่าได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
จะเห็นได้ว่าแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระจายไปตามภูมิภาค ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเดินทางที่ครอบคลุมทุกโหมดการขนส่ง ซึ่งไม่เพียงจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ และประเทศอื่นๆ ด้วย ที่สำคัญคือ การสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศอีกด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |