สสส.เปิดเวทีออนไลน์"อนุบาลสร้างสรรค์-ปลอดภัย"


เพิ่มเพื่อน    

        สสส.เปิดเวทีออนไลน์ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องเด็กปฐมวัยอย่างมีส่วนร่วม เน้นเฝ้าระวัง-ป้องกัน-เยียวยา ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กในรั้วโรงเรียน ชงเสนอคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยบรรจุในแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยดูแลคุณภาพชีวิต-พัฒนาการ ชู อนุบาลสร้างสรรค์-ปลอดภัย ตัดตอนปัญหาเด็กเล็กถูกทำร้ายทางร่างกาย-จิตใจ เด็กปฐมวัยช่วยตัวเองไม่ได้ ครูต้องสร้างมาตรฐาน หลายประเทศครูต้องได้รับใบอนุญาตสายวิชาชีพดูแลเด็กทดสอบทุกๆ 3 ปี

      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีระดมข้อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันครูโลก หัวข้อ ผ่าตัดนโยบายให้เด็กปฐมวัยมีพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์และปลอดภัย ใช้รูปแบบ Online Policy Crowdsourcing สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพื่อเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ขับเคลื่อนสู่กลไกระดับชาติภายใต้ พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2562

(ณัฐยา บุญภักดี)

        ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สสส. ในฐานะเจ้าบ้านเป็นผู้ดำเนินรายการเวทีระดมข้อเสนอเชิงนโยบายแบบออนไลน์ 150 นาทีจากวิทยากร 13 ท่าน ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เว็บไซต์ สสส. ทั้งนี้ สสส.ขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นภารกิจที่หลายหน่วยงานมีหน้าที่ร่วมกัน โดยประเทศไทยมีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำหนดทิศทาง มาตรฐาน และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ภายใต้พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2562    

(บรรยากาศการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ สสส. ไทยพีบีเอส ฯลฯ)

      การระดมข้อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ผ่าตัดนโยบายให้เด็กปฐมวัยมีพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์และปลอดภัย เพราะช่วงชีวิตของเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี คือช่วงเวลาแห่งการหล่อหลอมกล่อมเกลา เพื่อก้าวสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาวะ กฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความต่อเนื่อง ทั่วถึงและเท่าเทียม โดยให้มีระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่สร้างการมีส่วนร่วมบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับชาติ ภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชนจนถึงครอบครัว ให้มีกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีความหลากหลาย แต่เป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เป็นหลักประกันให้เด็กปฐมวัยได้รับการเลี้ยงดู พัฒนา ให้การศึกษาและได้รับการปกป้องเป็นพิเศษ ซึ่งในวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดประชุมเพื่อพิจารณาแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย จึงคาดหวังว่าข้อเสนอเชิงนโยบายที่ภาคประชาชนระดมสมองร่วมกัน จะเป็นข้อมูลนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ เพื่อเป็นการสะท้อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่มีความห่วงใยต่อปัญหาการดูแลเด็กปฐมวัย

      โจทย์ใหญ่ในสังคมไทยตอนนี้ คือการเป็นสังคมสูงวัย ทำให้ต้องเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและช่วยดูแลสังคมเราต่อไป ซึ่งจะต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ป้องกัน เยียวยาปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก เร่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างถ้วนหน้า รายงานสุขภาพคนไทยปี 2561 พบว่าเด็กวัยอนุบาลคือกลุ่มวัยที่ถูกอบรมด้วยการทำร้ายร่างกายมากกว่าเด็กวัยอื่นๆ เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลทางใจ ซึ่งรายงาน ThaiHealth Watch 2563 ก็พบว่า สายด่วนสุขภาพจิต 1323 มีเด็ก-เยาวชนโทร.มาขอคำปรึกษาจำนวนมาก เพราะมีความเครียด วิตกกังวลสูง และกลัวเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สมอง และพัฒนาการของพวกเขาในระยะยาว ณัฐยากล่าว

      เวทีระดมข้อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ผ่าตัดนโยบายให้เด็กปฐมวัยมีพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์และปลอดภัย เพราะช่วงชีวิตของเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี คือช่วงเวลาแห่งการหล่อหลอมกล่อมเกลาเพื่อก้าวสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาวะ เป็นการให้ความรู้ผู้ปกครอง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ครู ให้เป็นทีมเดียวกัน โดยมีเป้าหมายให้เด็กได้รับความรู้สมัยใหม่ เมื่อ 10-20 ปีก่อนมีองค์ความรู้ แต่ไม่ใส่ใจเต็มที่ วินัยเชิงบวกในการเรียนรู้ผ่านการเล่น พัฒนาเด็กให้มีทักษะพื้นฐาน สอนให้ทำงานบ้าน สนับสนุนทักษะสมอง ทักษะความคิด สร้างเสาเข็มของชีวิตให้เติบโต มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ กำกับตัวเอง ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ปฐมวัยเป็นโอกาสทองที่สมอง 80% จะได้รับการพัฒนา ถ้าเลยจากวัยนี้แล้วถูกแรงกดดันการใช้ความรุนแรงควบคุม มีการใช้อำนาจทำลายศักยภาพในการเรียนรู้    


 

(การนำเสนอภาพบนจอ)

      ตลอดช่วง 2 สัปดาห์มีข่าวปรากฏปัญหาความรุนแรงในเด็กเกิดขึ้น เป็นประเด็นความสนใจของสังคม เพราะความสนใจมุ่งไปสู่การลงโทษบุคคลที่เกี่ยวข้อง ภาพในเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่ครูไม่กี่คน รร.ไม่กี่ รร. จึงเป็นโอกาสของสังคมที่จะระดมสมองช่วยกันแก้ไขปัญหา จึงเป็นที่มาของการจัดการปัญหาอย่างเร่งด่วนในส่วนที่จะให้กับสังคมด้วยการตอกย้ำมาตรฐานที่ควรจะเป็น

      เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ในการสร้างมาตรฐานและปฏิบัติให้เป็นจริงจัง ทุกวันนี้เราต้องเข้าใจด้วยว่าครูก็มีความเครียดสูง จำเป็นที่จะต้องมีนักจิตวิทยาช่วยกันดูแลด้วย ครูมีภาระที่จะต้องประเมินผลทางเอกสาร ไม่ใช่การดูแลและสอนเด็กแต่เพียงอย่างเดียว เด็กก็ต้องได้รับการดูแลทางจิตใจควบคู่กันไปด้วย ในหลายประเทศครูก็ต้องได้รับใบอนุญาตสายวิชาชีพในการดูแลเด็กผ่านการทดสอบทุกๆ 3 ปี working with children     

      ในเว็บไซต์ happinet.club ทำความเข้าใจและรับมือกับ “ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก” ความรู้สำหรับการดูแลเด็กปฐมวัย เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประเด็นสีเทาที่เด็กและเยาวชนกำลังเผชิญ ทำความเข้าใจและรับมือกับ “ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก” ความเครียดที่เป็นพิษลดลงได้ด้วยการยื่นมือช่วยเหลือกันในชุมชน สอนให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น 11 วิธีสอนเด็กให้รู้จักสิทธิ เนื้อตัว ร่างกาย หลักการฝึกระเบียบวินัยให้แก่เด็กวัย 3-6 ปี 9 วิธีดูแลเด็กโดยใช้พลังบวก ครู ศพด.สร้างเครื่องมือกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ห้องเรียนพ่อแม่ “สร้างเด็กสมองดีด้วยการเลี้ยงดูและการเล่น” สอนเด็กผ่านการเล่น กรณีศึกษา:โรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่น ชวนทำของเล่นจากของใช้ในบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับการทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก  

(บรรยากาศการถ่ายทอดสดในห้องประชุม 201 สสส.)

      Mappa คือแพลตฟอร์มใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ สร้างได้จากทุกสิ่ง ง่ายบ้าง ยากบ้าง แต่ทำได้จริง และสุดท้ายเราคือเจ้าของความรู้นั่นเอง” ดังนั้น Mappa เป็นแผนที่พาทุกคนไปบุกเบิกและสร้างเส้นทางการเรียนรู้ใหม่ๆ ตามจังหวะและความสนใจของตัวเองโดยไม่เกี่ยงวัย ไม่จำกัดอายุ ทั้งการเล่นสนุก ทดลองโปรเจ็กต์ใหม่ๆ กิจกรรมกระตุ้นไอเดียหลากหลาย ไม่ยัดเยียดและหยิบยื่น ชวนลูกอ่านโลกผ่านหนังสือ 5 เล่ม นิทานไม่ต้องสอน เล่าเถอะอยากฟัง..

      ใช้เครื่องมือดิจิทัลช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก แช้ตบอต หรือเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้ง่าย เข้าถึงง่าย แจ้งไปยังหน่วยงานหรือเครือข่ายที่สามารถ Take Action ได้ คัดกรองพยากรณ์ความเสี่ยงของการเป็นเหยื่อ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใช้สูตรคำนวณมาตรฐาน Adverse Childhood Experience (ACE) เรียนรู้รูปแบบความน่าจะเป็นทางสถิติจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยใช้ Machine Learning สามารถฝังเครื่องมือพยากรณ์ไว้ในเครื่องมืออื่น เว็บไซต์ แช้ตบอต เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน.

(วิทยากรร่วมเสวนาออนไลน์)

 

 

เพิ่มทักษะสร้างวินัยเชิงบวกให้เด็กแทนที่รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

        วิทยากร 13 ท่านคลายปมปัญหา ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งไม่ได้เกิดขึ้นเพียง 1-2 เดือน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กทั่วโลกล้วนมาจากวิธีการอบรมสั่งสอนที่ร้ายแรง ส่งผลเด็กอยู่กับความรุนแรง เลือกใช้ความรุนแรงโต้ตอบ เด็กไทยถูกกลั่นแกล้ง ถูก Bully เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น ครูบางส่วนเห็นปัญหา แต่อยู่ภายใต้โครงสร้าง รร. สุภาษิต รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตีบาง รร.ตีเด็กหน้าเสาธงเป็นการลงโทษ อีกฝ่ายเห็นว่าถ้าไม่ตีเด็ก โอกาสที่เด็กฉลาดสร้างสรรค์ มีอนาคตไกลกว่านี้ ควรเพิ่มทักษะสร้างวินัยเชิงบวกให้เด็ก

      วิทยากรทั้งหมด 13 ท่าน รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, อภิสิริ จรัลชวนะเพท (ครูอุ้ย) ผู้ก่อตั้ง รร.อนุบาลบ้านรักและผู้เชี่ยวชาญการศึกษาวอดอร์ฟ, กรองทอง บุญประคอง (ครูก้า) ผู้ก่อตั้งผู้บริหารผู้รับใบอนุญาต รร.จิตต์เมตต์ (ปฐมวัย), ชิตพงษ์ กิตตินราดร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion นวัตกรรมเทคโนโลยีแก้ไขปัญหาสังคม, ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ นักจิตวิทยา จิตเภท และผู้ก่อตั้ง Life Education Thailand, เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยาเด็กและครอบครัว เจ้าของเพจตามใจนักจิตวิทยา, ธัญทิพย์ ชาติสวัสดิ์ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย, ภูวฤทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ หรือครูเกมแห่งโรงเรียนอนุบาลช้างเผือก, ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร (ครูหม่อม) อาจารย์สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยและนักการศึกษา, ดร.ปิยะวดี ธนเศรษฐกร (ครูใหม่) Thailand EF Partnership

        ชิดพงษ์ กิตตินราดร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion นวัตกรรมเทคโนโลยีแก้ไขปัญหาสังคม กล่าวว่า การกระทำความรุนแรงต่อเด็ก เทคโนโลยีช่วยให้การแจ้งเหตุต่อคนรอบข้างได้เพื่อขอความช่วยเหลือ เด็กมีความเสี่ยงที่จะถูกทำร้ายเมื่อเกิดเรื่องแล้วจะแจ้งกับใคร การคัดกรอง ประเมินเด็กเป็นเรื่องของครูจริงหรือไม่ เมื่อเกิดความรุนแรงที่กระทำต่อเด็ก ถูกทำร้ายถูกล่วงละเมิดทางเพศ เหยื่อไม่กล้าเดินเข้าไปใน สน.ตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งๆ ที่เรามีกลไก มี กม. เมื่อพบเหตุสงสัยที่จะขอความช่วยเหลือ มีกลไกหน่วยงานรับแจ้งเหตุได้ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้ามีการปกปิดตัวตนแล้วการแจ้งเหตุเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จำเป็นที่เรานำเครื่องมือเข้ามาช่วย

      ทุกวันนี้เด็กไทยถูกกลั่นแกล้ง ถูก Bully เป็นจำนวนเยอะมาก ติดอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น เด็กส่วนมากแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเอาคืน ขอความช่วยเหลือ ขณะนี้มี 50 รร.เผยแพร่ด้วยการเตือนกว่าพันคน มีการฝังเครื่องมือรับแจ้งเหตุ ใน รร.มีครูทำร้ายเด็ก มีครูจำนวนหนึ่งต่อต้านการทำร้ายเด็ก ครูเห็นปัญหา แต่ไม่รู้จะแจ้งใคร เพราะอยู่ภายใต้โครงสร้างของ รร. ควรจัดทำเครื่องมือเป็นเว็บไซต์ผ่านออนไลน์ปกปิดตัวตน มีหน่วยงานรับแจ้งอยู่ในท้องถิ่น มีเครือข่าย

      การศึกษา EF ของเด็กปฐมวัย จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กมีพัฒนาการ EF นำมาทดสอบประเมินต้องใช้เวลานาน จากการเรียนรู้ข้อมูลจากเด็ก 2,000 คน การเล่นนิทานให้เด็กฟัง โภชนาการต่างๆ ของเด็ก การดื่มนม เด็กขับถ่ายได้ทุกวัน เด็กช่วยงานบ้านเป็นเครื่องวัด EF ได้เป็นอย่างดี การสร้างการเรียนรู้ผ่านการเล่น การสร้างความตระหนักรู้ผ่านการเล่น การสร้าง public hearing จากผู้ปกครอง พ่อแม่หลายคนหารือว่าเราจะส่งลูกไปเรียน รร.อนุบาลดีไหม ครูสอนเด็กอ่านออกเขียนได้ไม่จำเป็น

      ให้เด็กเข้าเรียน ป.1 โดยไม่เรียนอนุบาล ถ้าไม่ให้เรียนอนุบาลก็ต้องสอนที่บ้านให้เป็น home school พ่อแม่จัดสื่อการเรียนการสอนที่บ้าน ทุกวันนี้การเรียนที่ รร.เด็กเรียนหนังสือเป็นหน้ากระดาน เด็กไม่มีจินตนาการ ไม่สะดวกในการขยับร่างกาย ครูต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทตัวเองจากการออกคำสั่งเป็นคอยสังเกต ขณะนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าฯ กำลังทำอยู่ เจมส์ เจแฮกแมน ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ ให้เด็กออกแบบหลักสูตรเอง เด็กอยากเล่นก็ออกไปเล่นได้ ครูไม่ต้องออกคำสั่ง เพียงแต่ดูว่าเด็กเล่นแล้วปลอดภัยไหม บาง รร.ทำหลักสูตรแบบวอดอล์ฟ ให้การเรียนการสอนประเมินผลได้ ครูควรมีจิตวิทยาในการสอน ขณะเดียวกันก็ต้องมีส่วนร่วมทั้งผู้ปกครองและ รร. ส่วนใหญ่แล้ว รร.จัดให้มีการพบผู้ปกครอง แต่ไม่มีเครื่องมือกลไกความรู้ในการประเมินผล    

        รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีหน้าที่ดูแลเด็กถูกทำร้าย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเสียงข้างน้อย แต่เป็นสมาชิกตลอดชีพที่จะใช้เสียงอย่างหนักและพูดอย่างถึงที่สุด ครูส่วนใหญ่มีความเอื้ออาทร มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความปรารถนาดีต่อศิษย์ มีความเชื่อที่จะอบรมสั่งสอนลูกศิษย์สอดแทรกกับวัฒนธรรมไทย รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี พ่อแม่บางคนพูดกับครูว่าตีลูกได้เลย โดยเฉพาะบาง รร.ตีเด็กหน้าเสาธงเป็นการลงโทษหลังเคารพธงชาติแล้ว แต่หมอกลับมองว่าไม่ควรตีลูก ควรจะเป็นความร่วมมือกันระหว่างพ่อแม่เด็กและผู้ปกครอง 

      การที่เด็กไม่ส่งการบ้าน ก็ต้องเพิ่มทักษะสร้างวินัยเชิงบวกให้กับเด็ก บางคนบอกว่าอยู่มาได้เพราะไม้เรียว แต่หมอขอบอกว่าถ้าไม่มีไม้เรียวจะดียิ่งกว่านี้อีก เราจะอบรมอย่างไร ไม่ใช้การลงโทษทำให้เขาเจ็บทั้งกายและใจโดยไม่เห็นคุณค่าของเด็ก บางคนมีชื่อเสียงตลอดชีวิต ทำให้เขายอมตามผู้มีอำนาจ ฟังใครไม่เป็น เด็กๆ ถูกควบคุมโดยตลอด เด็กต้องยืนได้ดีกว่า การเลี้ยงลูกเป็นเด็กดีได้หรือไม่ดีก็ได้ แต่ให้เป็นเด็กดีจากภายในที่มั่นคงจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า  

      กมธ.วิสามัญศึกษาแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า 1.ประกาศเป็น รร.ไม่ใช้พฤติกรรมรุนแรงต่อเด็กด้วยกาย วาจา อารมณ์ 2.แจ้งกับครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนว่าเรื่องนี้ห้ามเกิดขึ้นใน รร. โดยทุกคนที่เข้ามาทำงานต้องรับทราบเรื่องนี้ รวมทั้งให้เซ็นรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร 3.ถ้าพิสูจน์ว่ากระทำจริงจะไม่มีโอกาสได้ทำงานใน รร.ได้อีก โดยจะไม่ใช้คำขอโทษ ยอมรับผิดและให้ทำงานต่อ 4.เจ้าหน้าที่และครูที่เห็นเหตุการณ์และไม่เข้าช่วยเหลือ รวมถึงไม่แจ้งเหตุแก่ผู้บริหาร รร.จะถือเป็นความผิดแบบเดียวกัน 5.อบรมเด็กทุกคนให้เป็นผู้แจ้งเหตุทันที รวมถึงแต่งตั้งนักเรียนที่เป็นหัวหน้า รองหัวหน้าห้องให้ทำหน้าที่แจ้งเหตุ 6.เมื่อรับแจ้งเหตุแล้วต้องให้คนที่มีพฤติกรรมรุนแรงต่อนักเรียนหยุดปฏิบัติการใน รร.หรือที่มีการกระทำรุนแรง

        ธัญทิพย์ ชาติสวัสดิ์ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งไม่ได้เกิดขึ้นเพียง 1-2 เดือน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเด็กและทั่วโลกเกิดจากการใช้วินัยอบรมสั่งสอนที่ร้ายแรง พ่อแม่ทำกับลูกด้วยการตี หยิก เป็นการสั่งสอนให้มองว่าการปล่อยปละละเลยทำให้ลูกได้รับผลกระทบจิตใจร่างกาย ส่งผลให้เด็กใช้ความรุนแรงในอนาคต ครู พ่อแม่ทำความรุนแรงต่อเด็ก มีรากปัญหาที่สาเหตุ การลงโทษด้วยการทำร้ายเด็กด้วยรูปแบบต่างๆ ใน รร.อนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูพี่เลี้ยงดูแลเด็ก เรียนรู้เสริมสร้าง ต้องดูทักษะจริยธรรมก่อนที่จะเป็นครู มีการเตรียมความพร้อม ผ่านการพัฒนาอบรมอย่างต่อเนื่อง มีจิตใจรักเด็ก เราจะไม่โทษว่าใครทำผิด แต่ขอให้มองด้วยว่าภูเขาน้ำแข็ง การแก้ไขปัญหาต้องดูรากฐานของครอบครัวด้วย สถาบันการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศุภนิมิตฯ มีหลักสูตรแนะแนวการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับภาครัฐในท้องถิ่น อสม. รพ.สต. ดูแลแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ เตรียมความพร้อมการเป็นแม่ของครอบครัว

      ข้อเท็จจริง 10 ข้อที่เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กในประเทศไทย 1.ความรุนแรงต่อเด็กเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เกิดอันตรายต่อเด็ก ได้รับบาดเจ็บ ทารุณกรรม ละเลย การแสวงหาประโยชน์จากเด็ก หรือใช้อุปสรรคขัดขวางไม่ให้เด็กมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม 2.ความรุนแรงทางอารมณ์และทางร่างกายพบได้มากที่สุด เด็ก 62% หรือ 3 ใน 5 ของเด็กอายุ 1-14 ปีในประเทศไทยเคยประสบความก้าวร้าวทางอารมณ์ เด็ก 56% หรือกว่าครึ่งของประชากร เด็กอายุ 1-14 ปีเคยถูกทำโทษด้วยการทำร้ายร่างกาย เด็กอายุ 1-14 ปี จำนวน 4% ในเมืองไทยเคยถูกครอบครัวอบรมสั่งสอนลูกหลานด้วยการทำโทษด้วยวิธีร้ายแรงที่สุด

      3.การลงโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกายจัดเป็นความรุนแรงต่อเด็ก ประเทศไทยอยู่ในลำดับ 7 จาก 75 ประเทศที่เชื่อว่าการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นในการอบรมสั่งสอน เด็กอายุ 3-4 ปีเป็นช่วงอายุที่ถูกทำโทษด้วยวิธีรุนแรงมากที่สุด การตีก้นเด็ก การตบหน้าเด็ก การตบศีรษะ การตบบ้องหู 4.การทำร้ายเด็กส่งผลเสียต่อภาคเศรษฐกิจ การทำความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบก่อให้เกิดความสูญเสียทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก สูญเสียคิดเป็นเงิน 209 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ (7 ล้านล้านบาท) การทารุณในวันเด็กส่งผลกระทบตลอดชั่วชีวิตของเด็ก ทำให้เด็กคนนั้นไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

      5.เด็กกลุ่มเปราะบางมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะประสบความรุนแรง เด็กที่ป่วยเรื้อรัง หรือทุพพลภาพ เด็กที่มาจากครอบครัวยากจน และพ่อแม่หย่าร้าง เพิ่มความเสี่ยงต่อการที่เด็กจะได้รับความรุนแรงมากขึ้น หากเด็กมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการก็ย่อมได้รับโอกาสเสี่ยงที่จะประสบความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก 6.สิ่งที่เราทราบเกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น สถิติความรุนแรงต่อเด็ก จำนวน สาเหตุ ผลกระทบมีอยู่ในวงจำกัดมาก ไม่มีการสำรวจระดับประเทศ การรายงานความรุนแรงต่อเด็กเป็นจำนวนน้อยกว่าเหตุที่เกิดขึ้นจริง

      7.ประเด็นความรุนแรงต่อเด็กมีใน กม.และนโยบายระดับประเทศมากมาย แต่การบังคับใช้จริงยังมีความล่าช้า พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.การสาธารณสุข ให้การคุ้มครองสิทธิเบื้องต้นเด็ก แต่พบว่ามีอีกหลายกรณีที่ละเมิดพระราชบัญญัติ การใช้แรงงานเด็ก เด็กเลิกเรียนกลางคัน เด็กไม่ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเพียงพอ ความรู้สึกอับอาย ความหวาดกลัวของเหยื่อว่าจะถูกแก้แค้น การที่ตัวเด็กผู้เป็นเหยื่อไม่ปริปากบอกใคร 8.เราต้องสร้างกลไกปกป้องคุ้มครองเด็กร่วมกันเพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็ก จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐบาล การทำงานอย่างเป็นระบบ เสริมสร้างพลังความเข้มแข็งให้กับครอบครัว ผู้ดูแลเด็กและชุมชน

      9.การยุติความรุนแรงต่อเด็กต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงภายในหัวใจและความคิด ต้องมีผู้ชี้นำจากชุมชน ผู้นำความเชื่อทางศาสนา สื่อประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหัวใจและความคิดของผู้คนได้ การเสริมสร้างให้เด็กมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานและค่านิยม ซึ่งต้องลงมือทำทันที เดี๋ยวนี้ 10.เราทุกคนต้องยุติความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจในภาคเอกชนต้องกำจัดข้อปฏิบัติทุกประการในการทำงานและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบ เริ่มต้นจากขอบเขตที่เราสามารถทำได้ก่อน

        อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ (สมิทธ์) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเชิงบวก และผู้บริหารไลฟ์ เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนและครอบครัวแบ่งลักษณะหน้าที่ดูแลในรูปแบบ Parental Involvement คือครอบครัวมีบทบาทส่วนร่วมได้แค่ในบางช่วงเวลา เช่น เจอลูกได้แค่ตอนไปส่งที่ รร. แล้วพ่อแม่ไปทำงาน มารับลูกกลับบ้านเมื่อเลิกเรียน จึงเป็นที่มาของการขาดพื้นที่สร้างสรรค์และปลอดภัย จนกลายเป็นช่องโหว่สร้างปัญหาความรุนแรงในเด็กอนุบาล ซึ่งเป็นวัยที่ควรเน้นเรียนรู้ผ่านการเล่นและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หากในเมืองไทยมีนโยบายกำหนดให้ครอบครัว โรงเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กด้วยกันในทุกมิติ เชื่อว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เด็กถูกทำร้ายเหมือนในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งที่ปรากฏเป็นข่าว

      รร.ในระดับมัธยม อาชีวะเห็นช่องว่างใหญ่มาก เราจะมีส่วนร่วมกับครอบครัว เห็นความกลัวบางอย่างที่พ่อแม่จะพูดอะไรกับครู แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเรียนใน รร. รร.มีพื้นที่รั้วรอบขอบชิดหรือไม่ มีพื้นที่ให้คำปรึกษาหารือเพื่อการออกแบบร่วมกัน การร่วมกันทำงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนเน้นพื้นที่เอกชนขับเคลื่อนการสร้างมาตรฐาน ผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็กพัฒนาเด็กเติบโตไม่ให้เกิดช่องว่าง กระบวนการวิธีคิด เราไม่เห็นวิธีการสื่อสาร ไม่เห็นเครื่องมือในการดูแลเด็ก พ่อแม่ได้แต่ติดตามการบ้าน แต่ต้องลงรายละเอียดว่าลูกเรียนหนังสือได้ไหม มีพัฒนาการดีไหม เด็กต้องมีพื้นฐานทางอารมณ์และจิตใจควบคู่กับการเรียนหนังสือด้วย

      การใช้ชีวิตในศูนย์เด็กเล็ก ไม่มีช่องว่าง ไม่มีวิชาการ รร.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กออกแบบเตรียมพร้อมด้านการสื่อสาร ขณะนี้เมืองไทยแก้ไขปัญหาทำให้เกิด 3 ปัญหา เกิดความยุ่งยากมากยิ่งขึ้นไปอีก เราจะสร้างกระบวนการอย่างไรให้ผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็กได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ วิธีคิดในการทำงาน ทุกคนเข้าถึงการพัฒนาตัวเองได้ เป็นเรื่องจำเป็นของการออกแบบในเชิงนโยบายเป็นอย่างมาก ถ้าไม่ออกแบบให้ดีจะอยู่ในรูปแบบการตรวจสอบ ไม่ใช้การมีส่วนร่วม รร.ก็อยู่ในสภาวะถูกกดดัน ถูกตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เราจำเป็นต้องมีระบบสนับสนุนที่เข้มแข็ง ดูแลศูนย์เด็กเล็กเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต้องไม่สูง บนภูเขาน้ำแข็งมีวงจรปิด แต่ใต้ภูเขาน้ำแข็งไม่มีวงจรปิด ครูทำอะไรบางอย่างที่คนไม่รู้

      เราควรยกระดับสนับสนุนองค์ความรู้ พัฒนาบุคลากรของ รร.ศูนย์เด็กเล็ก รร.อนุบาลทั่วประเทศ การมีส่วนร่วมในมิติอื่นๆ กำหนดมาตรฐานการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำให้ความเป็นครอบครัว แผ่ขยายเข้าไปในรั้วของ รร.ด้วย     

      ข้อเสนอเรื่อง การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวเชิงบวกในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปัจจุบันการระบบการดูแลเด็กปฐมวัยของประเทศมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งด้านการพัฒนามาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก การจัดสรรสวัสดิการ หากแต่กระบวนการสำคัญที่ยังคงเป็นช่องว่างใหญ่ของการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลเด็กปฐมวัย สืบเนื่องจากกรณีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งที่ใช้ความรุนแรงในการดูแลเด็กปฐมวัยและเป็นมาต่อเนื่อง มีหลายกรณีที่ทั้งเป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้ปัญหาถูกซุกไว้ใต้พรมได้เป็นระยะเวลานานนั้น เพราะไม่มีนโยบายที่ชัดเจนที่ให้โรงเรียนมีการทำงานร่วมกับครอบครัวที่เป็นรูปธรรม ทำให้ครอบครัวไม่ทราบถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละคน และไม่มีพื้นที่ในการพูดคุยปรึกษาหารือกันระหว่างครอบครัวและคุณครูในการออกแบบการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

      การมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและครอบครัวในปัจจุบัน เป็นไปในลักษณะของ Parental Involvement คือครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนได้เฉพาะในเรื่องที่โรงเรียนขอความร่วมมือ และแบ่งบทบาท แบ่งช่วงเวลาในการดูแลเด็กกันอย่างชัดเจน ขาดรูปแบบการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ขาดพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการในการทำงานเพื่อพัฒนาเด็ก

      ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่มาของข้อเสนอเชิงนโยบายดังต่อไปนี้ 1.ควรกำหนดให้มีการยกระดับกระบวนการสนับสนุนองค์ความรู้ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบด้านการทำงานร่วมกันระหว่างครอบครัว และโรงเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสริมพลัง และการมีส่วนร่วมในมิติอื่นๆ

      2.ควรมีการกำหนดมาตรฐานการมีส่วนร่วมเชิงบวกระหว่างโรงเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครอบครัว (ด้านเวลา ทรัพยากร องค์ความรู้ บทบาท การแลกเปลี่ยนข้อมูล) ทำให้ความเป็นครอบครัวสามารถแผ่ขยายเข้ามาในรั้วโรงเรียนได้ และทำให้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเชื่อมต่อถึงช่วงเวลาที่เด็กอยู่กับครอบครัวได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"