30 ต.ค.63 - นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้าเพื่อออกแบบโครงสร้างและรูปแบบวิธีการทำงานของคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ว่าสถาบันพระปกเกล้าในฐานะเป็นหน่วยงานกำกับของประธานรัฐสภามีหน้าที่หาคำตอบให้กับสภาเท่านั้น ไม่ได้เป็นฝ่ายดำเนินการเองทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างคิดค้นโครงสร้างที่เหมาะสม โดยเฉพาะโครงสร้างกรรมการปรองดองในอดีตและข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากการอภิปรายหาทางออกร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันที่ 26-27 ต.ค. ที่ผ่านมาว่ามีอะไรบ้าง ก่อนจะรวบรวมเสนอต่อประธานรัฐสภา อย่างเร็วสุดในวันที่ 2 พ.ย.นี้ โดยจะเสนอให้เห็นว่าโครงสร้างแต่ละโครงสร้างมีข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
รวมถึงข้อห่วงใยของสถาบันฯ แต่ยอมรับว่าเงื่อนไขการตั้งคณะกรรมการปรองดองครั้งนี้ยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการไปถึงจุดไหนอย่างไร อะไรที่เป็นเนื้อหาที่ต้องเอามาพูดคุยบ้าง ดังนั้นสถาบันฯ ออกแบบได้เพียง โครงสร้างและวิธีการทำงานในเชิงหลักการวิชาการเท่านั้น รวมถึงรวบรวมประสบการณ์จากต่างประเทศมานำเสนอด้วย
นายวุฒิสาร กล่าวว่าส่วนโครงสร้างกรรมการชุดนี้จะมีองค์ประกอบใดบ้าง เป็นเรื่องที่ประธานรัฐสภาต้องกลับไปหารือผู้เกี่ยวข้อง สถาบันพระปกเกล้ามีหน้าที่เสนอทางเลือกต่างๆให้เท่านั้น
นายวุฒิสาร กล่าวถึงการนำรูปแบบการตั้งคณะกรรมการปรองดองในอดีตมารวบรวมเป็นข้อเสนอ ว่าที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการลักษณะนี้แล้วหลายครั้ง เช่นคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชุดที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง เป็นประธาน คณะกรรมการค้นหาความจริงที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน หรือคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ซึ่งจะทำให้เห็นได้ว่าการทำงานของแต่ละคณะ มีบรรยากาศและสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้เห็นเงื่อนไขในแต่ละด้าน
ส่วนที่นายชวน เสนอให้มีทุกฝ่ายเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการปรองดองฯ นั้น เห็นว่าโดยหลักการแล้ว สถานการณ์ตอนนี้สิ่งสำคัญคือต้องมีพื้นที่ให้แต่ละฝ่ายได้รับฟังกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ไม่บอกเปิดเผยเนื้อสาระ โดยขอให้ฟังการชี้แจงของนายชวน ยืนยันว่าการรวบรวมทางออกครั้งนี้ ไม่ได้รวบรวมจากงานของสถาบันพระปกเกล้าเท่านั้น แต่รวมถึงประสบการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แต่ละรัฐบาลมีมาด้วย
เมื่อถามว่าการออกแบบโครงสร้างครั้งนี้ จะต้องมีการหารือร่วมกับคณะรัฐมนตรี รัฐสภาและฝ่ายต่างๆ ด้วยหรือไม่นั้น นายวุฒิสาร บอกว่าไม่ถึงขนาดนั้น เพราะสถาบันพระปกเกล้ามีหน้าที่เสนอรายงานต่อประธานรัฐสภาเท่านั้น ส่วนประธานรัฐสภาจะนำไปพิจารณาดำเนินอย่างไรต่อ เป็นหน้าที่ของประธานรัฐสภา
นายวุฒิสาร ย้ำว่าเงื่อนไขสำคัญของการออกแบบโครงสร้างคณะกรรมการสมาฉันท์ฯ ครั้งนี้ คือทำแล้วต้องให้มีความเชื่อมั่นว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ส่วนการคัดเลือกตัวบุคคลเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการปรองดองฯนั้น ยืนยันว่ายังไม่มีการกำหนดรูปแบบหรือทาบทามบุคคลใดตามที่เป็นข่าว เพราะไม่มีหน้าที่ในการทาบทามตัวบุคคล เนื่องจากการแต่งตั้งบุคคลเป็นอำนาจประธานรัฐสภา อีกทั้งยังไม่ทราบใครจะเป็นคนแต่งตั้ง
นายวุฒิสาร ปฏิเสธที่จะตอบคำถามว่าบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการปรองดองฯจะมีคุณสมบัติอย่างไร แต่อย่างน้อยให้สบายใจว่าไม่ช้า ยืนยันสถาบันพระปกเกล้ามีความพยายามตั้งใจดำเนินการตามที่จะได้รับมอบหมายให้รอบคอบที่สุด ไม่ใช่หน่วยงานที่ไปซื้อเวลา
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความกดดันหรือไม่กับการพิจารณาตั้งคณะกรรมการปรองดองฯในสถานการณ์แบบนี้ ยอมรับว่ามีความกดดันอย่างแน่นอน แต่คิดว่าเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายในสังคม ที่จะต้องทำให้เกิดอนาคตที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้ ให้ความขัดแย้งถือเป็นเรื่องปกติ และทุกฝ่ายต้องใช้ความอดทน สติ ระงับตัวเองไม่ให้สร้างความรุนแรง เพื่อปกป้องไม่ซ้ำรอยเหมือนในอดีต แต่ยอมรับว่าสิ่งที่สร้างคือการสร้างความมั่นใจกับทุกฝ่ายว่าจะให้เกิดความเชื่อมั่นได้อย่างไร.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |