29 ต.ค. 63 นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า หลังจากที่ ธปท. ได้ปรับมาตรการเป็นการให้ความช่วยเหลือเชิงรุกและตรงจุดที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกหนี้แต่ละรายไปแล้วนั้น
ธปท. ได้กำชับสถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เต็มที่ โดยปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุกมากขึ้นสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่สามารถกลับมาจ่ายชำระหนี้ได้ตามปกติ โดยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย รวมถึงใช้มาตรการอื่นตามความเหมาะสม เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย การพักชำระค่างวด รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อย และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย
แม้ว่าสถาบันการเงินได้เริ่มดำเนินการช่วยลูกหนี้แล้ว สะท้อนจากตัวเลขการจัดชั้นหนี้เสื่อมคุณภาพและ NPL ที่ผ่านมายังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดย NPL ของธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 อยู่ที่ 3.14% เทียบกับไตรมาส 2 ที่ 3.09% อย่างไรก็ดี ขอให้สถาบันการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีก ขณะเดียวกันลูกหนี้ SMEs ที่ยังมีรายได้ไม่เพียงพอจ่ายหนี้ หรือคาดว่าอาจติดขัดเพราะรายได้ยังไม่ฟื้นตัว ขอให้รีบติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้
สำหรับสินเชื่อซอฟต์โลนที่ยังมีวงเงินเหลืออยู่อีกจำนวนมาก ขณะนี้ บสย. ได้เข้ามาช่วยค้ำประกันในปีที่ 3-10 ในวงเงิน 57,000 ล้านบาท ทำให้ลูกหนี้ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อซอฟต์โลนได้ง่ายขึ้น โดยลูกหนี้ที่เคยขอซอฟต์โลนไปแล้วแต่สถาบันการเงินไม่มีความมั่นใจที่จะปล่อยกู้ก็สามารถกลับมาติดต่อขอสินเชื่อใหม่ได้
ลูกหนี้ที่มีปัญหาการติดต่อสถาบันการเงิน หรือยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันกับสถาบันการเงินสามารถแจ้งความต้องการที่จะปรับโครงสร้างหนี้ไปยังสถาบันการเงินผ่าน "ทางด่วนแก้หนี้" เว็บไซต์ https://www.1213.or.th/App/DebtCase ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |