28 ต.ค.63 - เวลา 17.15 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมเบร เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ ซึ่งใช้เวลาการหารือนาน 1 ชั่วโมงครึ่ง
จากนั้น นายดอน ให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าพบ ว่า การพบกันครั้งนี้เป็นการพบกันอย่างเป็นทางการครั้งที่ 3 แต่เป็นการพบกันครั้งแรกหลังตนเป็นรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งทูตสหรัฐฯ ได้ขอนัดหารือหลังจากพบกันในพิธีถวายพระราชสาส์นตราตั้งในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา ประเด็นส่วนใหญ่ที่มีการหารือกันเป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ หลังจากที่เอกอัครราชทูตสหรัฐฯเข้ารับตำแหน่งในไทยตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา และได้ไปพูดคุยกับภาคธุรกิจ รวมถึงไปดูโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้ง 2 ฝ่าย และมองว่าหลังสถานการณ์โรคโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นทั้ง 2 ทางได้อย่างไร การหารือในวันนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่านักธุรกิจที่เข้ามาเป็นทูตเขามีมุมมองอย่างไร ซึ่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯได้ส่งข่าวกลับไปที่สหรัฐฯเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ในไทยนี่คือภาพใหญ่ที่ได้คุยกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการพูดคุยกับสถานการณ์ชุมนุมในไทยหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า ไม่มีเลย มีการพูดกันแค่ 20 วินาทีเท่านั้นในประเด็นนี้ ไม่ได้มีการลงลึก ณ วันนี้เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นของท่าน ภูมิหลังของท่านทูตเป็นนักธุรกิจมาก่อน และเข้ามาในภารกิจที่จะสานสัมพันธ์ทำให้ 2 ประเทศใกล้ชิดกัน ซึ่งผลประโยชน์จะตกแก่ประชาชน เพราะฉะนั้นเราจะไม่สนใจเรื่องการเมือง เพราะมองว่าการเมืองเป็นเรื่องปกติของแต่ละประเทศ จะเดินไปต่อหรืออย่างไรก็ตามที่ทำให้นานาประเทศต้องมาเอาใจใส่หรือห่วงกังวลเป็นพิเศษ ณ วันนี้มันไม่ใช่เป็นประเด็นสำหรับสหรัฐฯ จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องมาสนใจหรือแสดงความคิดเห็นเรื่องการเมือง ซึ่งก็เป็นไปอย่างที่ตนได้พูดในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่าต่างประเทศมีความเข้าใจเกือบทั้งหมด และไม่ได้มีท่าทีใดๆ ออกมา แต่ได้แสดงความห่วงใยและหวังว่าเหตุการณ์ดังกล่าวว่าจะไม่ส่งผลบานปลายออกไป และกระทบจนทำให้นานาประเทศต้องมาให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
เมื่อถามว่าถือเป็นมิติใหม่หรือไม่ เพราะในอดีต เอกอัครราชทูตสหรัฐฯจะให้ความสนใจเกี่ยวกับการเมืองของไทย แต่ดูเหมือนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ คนปัจจุบันจะให้ความสนใจแต่เรื่องธุรกิจ นายดอน กล่าวว่า เป็นเรื่องดี เพราะเรื่องนี้ถือเป็นประโยชน์กับประชาชนและทำให้เกิดโอกาสทางด้านการค้าการลงทุน จะเรียกเป็นมิติใหม่ก็ได้ เพราะท่านมาในความสนใจของนักธุรกิจ และเห็นโอกาสที่มีอยู่มากมายในไทย เรื่องอื่นก็ไม่ต้องพูดถึงเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่าฝ่ายสหรัฐฯ แสดงความเป็นห่วงว่าการชุมนุมจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของชาวต่างประเทศในไทยหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เช่นกัน เป้าหมายของท่านคือทำให้เกิดการการพัฒนาด้านเศรษฐกิจซึ่งก็เป็นเรื่องดีสำหรับประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการเมกะโปรเจคของรัฐบาลคืออีอีซีว่าในอนาคตโครงการที่เกิดขึ้นจะทำให้บ้านเมืองเป็นไปด้วยดี เพราะเป็นการต่อยอดมาจากโครงการอิสเทิร์นซีบอร์ดที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว เรื่องนี้ถือเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน รัฐบาลก็อยากเห็นการลงทุนของไทยในต่างประเทศและอยากเห็นการลงทุนของสหรัฐในไทยเช่นกัน นอกจากนี้ยังพูดถึงการประชุมสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 พ.ย.นี้ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีด้านเศรฐกิจ จะได้พูดคุยกับนักธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯที่อยู่ในไทยซึ่งจะมาร่วมประชุมด้วยตัวเอง และผู้ที่อยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งจะเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าได้มีการพูดคุยกันถึงกรณีของกลุ่มคนที่ไปชุมนุมหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ด้วยหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า ไม่มี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |