สกายวอล์ค ที่เชียงคาน อยู่ในช่วงทดลองเปิด
ถ้าอยากไปเสพความสงบ ก็ต้องไปเที่ยว"เชียงคาน" จังหวัดเลย แม้ไม่มีวิวเลิศหรูอลังการ แต่ก็จะได้ความกริ่มกรุ่นอบอุ่นหัวใจกลับมา จากวิถีวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ที่ส่งผ่านชีวิตผู้คนในชุมชน รวมทั้ง อาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพรูปแบบเดิมๆ อันเป็นสิ่งหายากยิ่งในประเทศไทย และเมื่อเร็วๆนี้ เชียงคานได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 100 เมืองท่องเที่ยวยั่งยืนของโลก จากหน่วยงานระดับโลกอย่าง Green Destinations Foundation ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จัดอันดับร่วมกับ ITB หรือ Internation Tourism Borse องค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับโลกเช่นกัน
เมื่อช่วงที่ฝนเทกระหน่ำกรุงเทพ ตกเกือบทั้งวันทั้งคืน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ชวนไปเชียงคาน จุดหมาย คือ การไปร่วมงานเปิดศูนย์วัฒนธรรมไทดำ ที่ อพท.เข้าไปช่วยส่งเสริมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยั่งยืน ซึ่งพอไปถึงกลับไม่มีฝน แค่อากาศครึ้มๆ กลางวันร้อน
แต่ก่อนที่จะถึงเวลาเปิดศูนย์วัฒนธรรมไทดำในช่วงเย็น อพท.พาไปแวะกราบ“พระใหญ่ภูคกงิ้ว” และ เยี่ยมชม“สกายวอล์ค”ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน สกายวอล์คที่ว่านี้ กำลังเป็น"ทอล์คออฟเดอะทาวน์" ของคนเลยและจังหวัดอีสานรอบๆ เพราะเป็นสะพานทางเดินที่พื้นเป็นกระจก (น่าจะแห่งที่สอง แห่งแรกคือที่อัยยาเวง ยะลา) ท่ามกลางธรรมขาติ เขียวขจี และสองสายน้ำ คือแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขง ด้วยความสูง 80เมตร กว้าง 2เมตร และทางเดินยาว 100 เมตร ขึ้นไแล้วจะเห็นวิวโดยรอบ 360องศา พร้อมกับความเสียว สำหรับคนที่ไม่เคยสัมผัสสกายวอล์กพื้นกระจก
แม้จะยังไม่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงทดลอง ก็มีคนมาเที่ยวสกายวอล์คเชียงคานเยอะมาก โดยเฉพาะในช่วงวันหยุด คนแน่นเลยทีเดียว รถสองแถวที่วิ่งรับส่งคนชึ้นลง วิ่งกันไม่ขาดสาย ส่วนค่าเข้าสกายวอล์ค ถือว่าถูกมากๆ เพียงคนละ 40 บาท ซึ่งรวมค่ารถสองแถวขึ้นลง และค่ายืมรองเท้าใส่หุ้มรองเท้าเดิมเวลาเดินบนสกายวอล์ค
ก่อนจะได้เหยียบพื้นกระจกบนสกายวอล์ค มองไปก้เห็นว่าคนอยู่บนสะพานเยอะพอสมควร จึงถามเจ้าหน้าที่ว่าขึ้นได้คราวละกี่คน ซึ่งได้รับคำตอบว่าครั้งละ 50 คน แต่เท่าที่เห็นเกินกว่า 50 คน แน่นอน เรียกว่าการจัดการอาจจะยังไม่ลงตัวหรือยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้เปิดเป็นทางการจริงจัง แต่เอาล่ะไหนๆ ก็มาถึงแล้ว ก็ไม่ควรป๊อด เกินไป ว่าไปแล้ว เราจัดว่าเป็น"รุ่นแรก"ของนักท่องเที่ยวที่ได้มาเหยียบสกายวอล์คที่นี่ ฉะนั้น ก็อย่าเสียโอกาสกระนั้นเลย
หลังจากทำใจให้ฮึกเหิม สู้กับการกลัวความสูง ยิ่งเวลา มองผ่านพื้นกระจก จะเห็นต้นไม้น้อยใหญ่เบื้องล่าง ก็จะเกิดอาการเสียวขาหน่อยๆ ต้องรีบเดินชิดขอบๆ ที่มีราวเหล็กให้จับ ส่วนพวกใจกล้า ก็ลุยเดินไปตรงกลางเลย ทั้่งนั่ง ทั้งยืนถ่ายรูปกันกิ๊วก๊าว เพราะวิวฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขง ก็คือ สปป.ลาว มองไปเห็นแต่ความเขียวครึ้มหนาแน่น แต่เมื่อทอดตามองไปด้านซ้าย ก็จะเป็นแม่น้ำเหือง ไหลมาบรรจบรวมกับแม่น้ำโขง กลายเป็นสายน้ำสองสี ปะทะกัน มีการบอกว่าถ้าเป็นช่วงเย็นๆ ถ้าได้มายืนที่สกายวอล์ค จะเห็นพระอาทิตย์ตกดิน สุดแสนจะโรแมนติกมาก แต่เราไม่มีโอกาสอ้อยอิ่งถึงช่วงเย็น เพราะต้องไปอีกหลายจุด
พระใหญ่ภูคกงิ้ว
ก่อนกลับสักการะ"พระใหญ่ภูคกงิ้ว " หรืออีกชื่อ พระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ ที่องค์พระตั้งอยู่ตรงจุดใกล้ๆกับสะพานสกายวอล์ค องค์พระสูง19มตร ตัวฐานกว้าง 7.2 เมตร ตั้งตระหง่านหันพระพักตร์ไปทางสปป.ลาว ใต้ฐานองค์พระะุทธรูป ได้มีการอัญเชิญ"ปฐวีธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ "จากพระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม พระธาตุบังทวน พระธาตุขามแก่น พระธาตุมาคูน พระธาตุศรีสองรัก มาบรรจุดไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล
งานเปิด”ศูนย์วัฒนธรรมคนไทดำ บ้านนาป่าหนาด * ซึ่งเป็นหมู่บ้านของคนเชื้อสายไทดำ หรือ ไทชงดำ หรือไทโซ่ง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มัอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดดเด่น สืบทอดกันมายาวนาน เพราะบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวไทดำอพยพมาจากแคว้นสิบสองจุไทย บริเวณแม่น้ำดำ แม่น้ำแดง หรือเมืองแถน ปัจจุบันเรียกว่า เมืองเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม ครั้นเมื่อเกิดสงครามตั้งแต่สมัยสงครามฝรั่งเศสเวียดนาม จึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานปักหลักอยู่ที่ “บ้านนาป่าหนาด” แต่แม้กาลเวลาจะผ่านพ้นไปเนิ่นนานแค่ไหน แต่ผู้คนที่นี่ยังสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม อย่างเหนียวแน่น ไม่ถูกวิถีสมัยใหม่กลืนหายไป
ชาวไทดำ บ้านป่าหนาด
ความเป็น"ไทดำ "สัมผัสได้ตั้งแต่แรกเห็น จากเครื่องแต่งกายที่เป็นสีดำล้่วน ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แตกต่างกันที่ผู้หญิงใส่เสื้อสั้นกว่า และสวมผ้าถุง ส่วนผู้ชายใส่เสื้อสีดำตัวยาว ใส่กางเกง สิ่งที่สร้างสีสันบนเครื่องแต่งกายนั้นก็คือเครื่องประดับ โดยผู้หญิงจะที่ผ้าโพกหัวที่รูปทรงคล้ายหมวกปักลวดลายหลากสีสัน ส่วนผู้ชายมีผ้าปักขนาดใหญ่คล้ายตะปิ้ง ประดับด้วยลูกปัด ผูกคาดเอว
โคมไฟ ชาวไทดำ อีกเอกลักษณ์ของชุมชน
ก่อนหน้านี้่ อพท.ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนให้ชุมชนชาวไทดำ เชียงคาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบทางวัฒนธรรม เนื่องจากมองเห็นศักยภาพด้านวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนที่ยังเข้มแข็ง และยังสนับสนุนให้ "ชาวไทดำ "ทำ"โคมไฟ " ที่ดัดแปลงมาจากตุ้มหนู (กรง) และ ตุ้มนก (กรง) ซึ่งเป็นเครื่องรางที่แสดงถึงความโชคดี แขวนไว้หน้าบ้านทุกหลัง นำมาทำเป็นโคมไฟประดับประดา ตลอดแนวถนนคนเดินในขุมชน สร้างความสว่างไสวและสีสัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
อีกมุมหนึ่งของถนนในชุมชนไทดำ ที่ติดโคมไฟสว่างไสว
การเปิดศูนย์วํฒนธรรมไทดำครั้งนี้ มีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาเป็นประธาน โดยรมว.กระทรวงท่องเที่ยวฯ ได้ชื่นชม จังหวัดเลย ว่ามีความพร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะมีภูเขา ทั้งภูเรือ ภูกระดึง ภูหลวง และมีแม่น้ำโขง เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆที่อิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม นอกจากนี้ สกายวอล์คที่เพิ่งเปิดก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอยากมาเที่ยวเชียงคานมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นที่มีพื้นที่เหมาะสม สามารถทำเป็นสกายวอล์คได้ และส่วนตัวเห็นว่า การทำสกายวอล์ค อาจเป็นการร่วมทุนระหว่างท้องถิ่นกับเอกชน หรือทำเป็นโครงการ PPP เพื่อให้เป็นจุดเช็กอิน ของนักท่องเที่ยว
ด้านดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รักษาการแทน ผอ.อพท. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อพท. ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ จังหวัดเลยให้เป็นพิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย 7ปี ( 2563-2570 )ต่อนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ในแคมเปญ Explore the Unseen Thailand หรือ “เรารู้จักกันดีพอหรือยัง” เพื่อส่งเสริมให้ชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทย (เอ็กซ์แพท) ที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานเหนือได้เดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด ตามแผนยุทธศาสตร์ มีเป้าหมายดำเนินการใน 15 ชุมชน ครอบคลุม 9 อำเภอ ในจังหวัดเลย จุดขายชูความหลากหลายทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งอพท.คาดว่าจะสามารถโกยรายได้ท่องเที่ยวเข้าจังหวัดรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงตลอด7ปี
วันรุ่งขึ้น พวกเราไปทำพิธี "ผาสาดลอยเคราะห์ "ซึ่งเป็นพิธีกรรมโบราณชาวเชียงคาน ที่มีอายุกว่าร้อยปี เป็นพิธีตามความเชื่อว่า "การลอยเคราะห์" เป็นการปลดปล่อยทุกข์ ปล่อยโศกโรคภัย ปล่อยเคราะห์ร้าย หรือสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต และจะทำให้มีแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตแทน พิธีนี้สามารถทำได้ตลอดเวลา ซึ่งแต่เดิมชาวเชียงคานมักจะทำพิธีกันในช่วงออกพรรษา แต่ปัจจุบันถ้าใครอยากลอยเคราะห์ก็มาทำพิธีได้ทุกวัน
กระทงลอยเคราะห์ ก่อนได้รับการประดับประดา ตัวกระทงทำจากกาบกล้วย ใบตอง เทียน มะละกอสลัก ธูป เทียน ทุกอย่างมีความหมายซ่อน
"การลอยเคราะห์"จะใช้กระทงที่ทำง่ายๆจากกาบกล้วย และมีเครื่องประกอบอื่นๆที่ทำด้วยใบตอง ไม้ไผ่ กระดาษและเทียนขี้ผึ้ง ซึ่งวัสดุที่นำมาลอย ล้วนมีความหมายแฝงซ่อนอยู่ เช่น ธงไม้ไผ่เล็กๆ ม้วนด้วยกระดาษสีเป็นรูปแฉกๆ สื่อความหมายขอให้ความยุ่งเหยิงวุ่นวายในครอบครัวลอยหายไป และยังมีรูป เทียน ที่หล่อเป็นรูปดอกบัว เป็นต้น การลอยเคราะห์ จะต้องมีผู้ทำพิธี และผู้ต้องการลอยเคราะห์ จะต้องประดับกระทง ด้วยตนเอ ระหว่างจัดแต่งกระทง ที่มีรูปแบบกำหนด ต้องตั้งจิตอธิษฐานว่าอยากให้สิ่งไม่ดีเรื่องอะไรออกไปจากชีวิต และยังต้อง ตัดเล็บ ตัดผมของตัวเองใส่ลงไปในกระทง หลังจากนั้นจะมีผู้รู้ที่เรียกว่าพราหมณ์ มาทำพิธีสวด จุดธูปเทียนที่กระทง หลังจากนั้นจึงนำกระทงไปลอยยังแม่น้ำลำคลอง
หลังประดับเรียบร้อยแล้ว พร้อมลอย"ผาสาดลอยเคราะห์" พิธีกรรมเก่าแก่ของชาวเชียงคาน ในคอนเซ็ปต์ ขอให้ความทุกข์
ความไม่ดี "ตกไปกับไฟ ไหลไปกับน้ำ" มีเคล็ดลลับสำคัญ คือเมื่อลอยลงแม่น้ำแล้ว ห้ามหันกลับไปดูเด็ดขาด
"เราต้องอธิษฐานให้สิ่งที่ไม่ดี "ตกไปกับไฟ ไหลไปกับน้ำ " และเคล็ดลับสำคัญ คือ เมื่อนำกระทงไปลอยแล้ว ห้ามหันไปมองอีกเด็ดขาด ถ้าเราเหลียวไปมอง เหมือนยังอาลัยอาวรณ์ไอ้่เจ้า ความทุกข์ความ โศก โรคภัยอยู่ มันก็จะไม่ไป " แม่นาง ผู้สืบทอดพิธีกรรมโบราณจากคุณตา ย้ำเรื่องเคล็ดลับการลอยหลายครั้ง
วันศรีคุณเมือง วัดเก่าแก่คูเชียงคาน
นอกจากกิจกรรมที่กล่าวแล้ว ในเชียงคานยังมีสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจ ที่อยากแนะนำคึอ "วัดศรีคุณเมือง ได้รับการยกย่องว่าเป็น"มนต์เสน่ห์วัฒนธรรมแห่งเชียงคาน* อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงคานมานานมากว่า 400 ปี ได้รับการบูรณะจริงจังเมื่อพ. ศ. 2485 วัดศีคุณเมืองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสะท้อนวัฒนธรมดั้งเดิม เห็นได้จาก โบสถ์เก่าแก่ ที่มีหลังคาลดหลั่นตามแบบศิลปะล้านช้าง ผนังด้านหน้าบรรณ ของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังนิทานพระพุทธชาดกชุดพระพุทธเจ้าสิบชาติ เมื่อเดินผ่านประตูโบสถ์เข้ามาด้านในจะพบกับพระพุทธรูปไม้จำหลัก ลงรักปิดทอง ปางประทานอภัย สร้างตามแบบศิลปะล้านช้างหรือแบบลาวเหนือ ซึ่งคาดว่าจะสร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 24-25
ถนนคนเดิน
ช่วงค่ำๆ ทุกเสาร์ อาทิตย์ ในเชียงคานยังมีถนนคนเดิน ให้ชิม ช้อป อย่างสบายใจ ในบรรยากาศน่ารักๆ ช่วงนี้อากาศเย็นเริ่มเข้าไทยแล้ว และเลยนับเป็นจังหวัดแรกๆที่รับลมหนาวจากจีน เชียงคาน จึงน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะช่วงที่ไปแม้กลางวันจะร้อน แต่ช่วงเช้าอากาศเย็นสบายประมาณ 25องศา ระเบียงห้องพักที่อยู่ด้านริมโขง มีหมอกอ้่อยอิ่ง ทางเดินเลียบริมโขง มีคนมาถ่ายรูป เดินเล่น ปั่นจักรยาน บางคนก็วิ่งออกกำลัง เป็นวิถีชีวิตที่เงียบสงบ งดงาม เหมาะกับการพักกาย พักใจ เพิ่มพลังชีวิตอย่างยิ่ง
ตำรวจเชียงคาน ในยูนิฟอร์มดั้งเดิม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |