27 ตุลาคม 2563 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กิจกรรมยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว (ผลิตภัณฑ์คลัสเตอร์ผ้าและเครื่องแต่งกาย) ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยมี นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงานการดำเนินโครงการฯ ณ ห้องวายุภักษ์ 3-4 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนซันเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ Bangkok Design Camp ในครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 63 จังหวัด รวม 277 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2563 โดยได้เรียนเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากทั้งภาครัฐและเอกชนมาเป็นวิทยากร อาทิ ดร.เรืองลดา ปุณยลิขิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.ชัยวุฒิ รื่นเริง รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อ.นราธิป อ่ำเที่ยงตรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด การขาย และการบริการ และนายยงยุทธ นิลเปล่งแสง ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตานี มาร์เก็ตติ้ง จํากัด เป็นต้น
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า “กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง โดยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาอาชีพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านผ้า และการส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยการพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วของพี่น้อง ๆ ทุกคน ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อสร้างความประทับใจ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถ้าหากเราย้ำอยู่กับที่ แม้จะล้ำหน้าคนอื่น ท้ายที่สุดเราก็จะถูกแซง “อยู่กับที่ก็เหมือนถอยหลัง” กิจกรรมที่กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล นำมาสู่พี่ๆน้อง ๆ ทำให้เรามีความเชื่อมั่นว่าพี่ๆน้อง ๆ จะไม่ย้ำอยู่กับที่ ของพี่ชีวิตของพวกเรา ครอบครัว ชุมชน ตำบล หมู่บ้าน จังหวัดของพวกเรา มีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตั้งความหวังไว้ กับกรมการพัฒนาชุมชนในการเป็นองคาพยพที่สำคัญของรัฐบาล ในสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ประชาชนสามารถใช้บริการ ร่วมเป็นหุ้นส่วนชีวิต ใน
การนำพา ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล ดีขึ้นอย่างยั่งยืน สามารถนำเรื่องการดูแลครอบครัวให้มีความมั่นคง ผ่านกระบวนการและกิจกรรมสำคัญ ได้แก่
การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติปรับใช้ในชีวิต การจัดสรรพื้นที่ การปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ลดรายจ่าย ส่งผ่านไปยังผู้นำในพื้นที่ให้รณรงค์การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนและครอบครัว และสามารถต่อยอดอาชีพได้ เช่น ตอนที่ลงพื้นที่เยี่ยมชม ผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พัฒนากลุ่มผ้าย้อมคราม จากต้นครามที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ชุมชน มาบูรณาการสร้างอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมที่ 2 กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจในสร้างการเข้าถึงแหล่งทุนของชุมชน อาทิ เช่น กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กู้ยืมในกระบวนการกลุ่ม ดอกเบี้ยเพียง ร้อยละ 0.1 เท่านั้น โดยการเขียนโครงการ เข้าถึงง่าย เพื่ออันเป็นแหล่งทุน ในการพัฒนาอาชีพ กลุ่มอาชีพ ขยายกิจการ เพิ่มการผลิต การลงทุน อันเป็นบูรณาการการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชนให้รอบทิศรอบด้านและเกิดประโยชน์สูงสุด
กิจกรรมที่ 3 การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ประกอบการ สามารถบูรณาการข้ามจังหวัดกันได้ องคาพยพที่สำคัญ บริษัทประชารัฐรักสามัคคี บริหารที่มีอยู่ทุกจังหวัด และ OTOP Trader ภาคเอกชนที่เข้าช่วยในเรื่องเปิดการตลาดให้แก่ชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สร้างครือข่าย ข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัด ข้ามทวีป ต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน เพื่อเป็นการต่อยอด แลกเปลี่ยนวัตถุดิบ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ แปรรูป เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ 4 กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง มีความประสงค์ คาดหวัง อยากดำเนินการ แบบศูนย์ OTOP คอมเพล็กซ์ พุแค จังหวัดสระบุรี ที่เป็นจุดกระจายสินค้าของชุมชน ถ้าหากหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว และโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งมีอยู่ จำนวน 3,680 ชุมชน/หมู่บ้าน จัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า ก็มีร้านจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน ช่วยชุมชน จำนวน 3,680 ร้านค้า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านให้ได้ศักยภาพและมีความพร้อมที่จะรองรับการให้บริการนักท่องเที่ยวได้อย่างครบวงจร
และกิจกรรมที่ 5 การตลาดออนไลน์ กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการจัดจ้าง นักการตลาดรุ่นใหม่ ในทุกพื้นที่ จังหวัด มาส่งเสริมในสร้างเรื่องราว (Story) จุดดีและจุดเด่น (อัตลักษณ์ของสินค้า) ที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าของชุมชน ช่วยสร้างการเรียนรู้การตลาด Online ให้แก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการในชุมชน ในอนาคตอันใกล้ กรมฯ จะมีแพลตฟอร์ม ชื่อว่า ฟาร์มสุข จาก AIS ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ ศูนย์ร่วมความสุข และศูนย์สินค้าดี ๆ ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ในการช่วยกระจายสินค้า ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น กรมฯ วางแผนให้บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ดำเนินงาน และ ให้ผู้ประกอบการในชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน อันเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้มากขึ้น เพื่อเป็นจุดกระจายสินค้าในท้องถิ่น ผู้บริโภคจะได้สินค้าที่มีราคายุติธรรม ไม่ต้องเดินทางไกล และที่สำคัญคือการช่วยเหลือ อุดหนุนสินค้า OTOP ในชุมชนอีกด้วย
สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กิจกรรมยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว (ผลิตภัณฑ์คลัสเตอร์ผ้าและเครื่องแต่งกาย) การอบรมเชิงปฏิบัติการ Bangkok Design Camp ในครั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ 63 จังหวัด 277 ผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ชุมชน ซึ่งการดำเนินการโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นการส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านให้ได้ใช้ศักยภาพและมีความพร้อมที่จะรองรับการให้บริการนักท่องเที่ยวได้อย่างครบวงจร ทั้งในเรื่องทักษะการบริหารจัดการของหมู่บ้านในด้านต่าง ๆ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชุมชนมีโปรแกรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าและความคุ้มค่าผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีเป้าหมายในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกระแสหลักที่เป็นแอ่งใหญ่ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสเสน่ห์ของหมู่บ้านที่เป็นแอ่งเล็ก พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับเสน่ห์ของชุมชน โดยนำเสนอเสน่ห์ 8 ด้าน ได้แก่ อาหาร การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณี ศิลปะพื้นถิ่น ความเชื่อ อาชีพ และภาษา ของหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |