'หมอระวี'แนะทำประชามติ เตือนรัฐสภาจะแก้ไขรธน.ถามประชาชน 16 ล้านคนแล้วหรือ


เพิ่มเพื่อน    

27 ต.ค. 63- นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ อภิปรายในห้องประชุมรัฐสภาว่า จากข้อเรียกร้องข้อหลักของผู้ชุมนุม คือ นายกฯ ประกาศยุบสภาหรือลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญตามร่างของประชาชน และปฏิรูปสถาบัน ซึ่งปรากฎว่าแกนนำหลายคนก็มีการนำเสนอว่าได้มองข้ามประเด็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ประเด็นหลักอยู่ที่ข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบัน ดังนั้น ขณะนี้ความขัดแย้งหลักในสังคมไทยคือ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายปกป้องสถาบันกับฝ่ายที่อ้างว่าปฏิรูปสถาบัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยตรงด้วย ถ้ารัฐสภาเปิดประชุมเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมาเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะมีมติออกมาอย่างไร ก็จะมีฝ่ายหนึ่งพอใจ อีกฝ่ายหนึ่งไม่พอใจ เช่น ถ้ามีมติไม่ให้แก้ไขหมวด 1,2 ฝ่ายปกป้องสถาบันก็จะพอใจ แต่ฝ่ายปฎิรูปสถาบันก็จะไม่พอใจ

“ผมขอเสนอทางออกที่จะลดความขัดแย้งและความเสี่ยงที่จะเกิดหายนะต่อประเทศ โดยเสนอให้รัฐสภาต้องร่วมกันหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำประชามติถามคนไทยทั่วประเทศก่อนว่า คนไทยจะให้แก้รัฐธรรมนูญปี 60 หรือไม่ และถ้าให้แก้จะให้แก้รายมาตราก็พอ หรือจะให้แก้มาตรา 256 และให้ตั้ง สสร.มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะให้แก้หมวด 1,2 หรือไม่ ถ้าให้แกจะให้แก้อำนาจ ส.ว.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่” นพ.ระวี กล่าว

นพ.ระวี กล่าวต่อว่า เมื่อมีผลประชามติออกมา รัฐสภาก็ดำเนินการตามนั้น ถ้ารัฐสภามีมติออกมาแบบนี้ จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้ระดับหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะมีผลประชามติออกมาในรูปแบบใดก็ตาม ทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้ารัฐสภาจะฝืนตัดสินใจรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญร่างใดไปก่อน ก็จะสร้างความขัดแย้งขึ้นมาอีก จากฝ่ายที่ไม่พอใจ อาจจะมีคนร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีความผิดที่ไปลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยังไม่ได้ทำประชามติขอความเห็นชอบจากประชาชนก่อน ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2555

“ถ้ารัฐสภาจะเดินหน้าแก้ไรรัฐธรรมนูญไปจนจบวาระที่ 3 แล้ว ค่อยนำมาทำประชามติ ถ้าผลประชามติ ประชาชนไม่เห็นด้วย ก็ต้องมาเริ่มกันใหม่อีก อาจจะทำให้เสียเวลาและงบประมาณมากกว่าเดิม ผมขอสรุปว่า รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท่านถามประชาชน 16 ล้านคนแล้วหรือยัง”นพ.ระวี กล่าว

นพ.ระวี กล่าวต่อว่า ตนมีโอกาสเข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ทุกการชุมนุมตั้งแต่ 14 ตุลาคม 16 จนถึงกปปส. 2557 ไม่เคยพบว่ารัฐบาลใดจะยอมรับความคิดเห็นของม็อบง่าย ๆ ประชาชนจะมามากแค่ไหน ประชาชนตายหรือบาดเจ็บไปกี่คน รัฐบาลไม่เคยสนใจจะถอยง่ายๆ เลย ตนไม่ใช่คนที่จะอวยนายกรัฐมนตรี จุดยืน คือ การต่อสู้กับเผด็จการทหารและเผด็จการรัฐสภามาโดยตลอด แต่ต้องเข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพราะสมาชิกพรรคพลังธรรมใหม่ทั่วประเทศ ต้องการให้พรรคเข้ามาปกป้องสถาบัน

นพ.ระวี กล่าวด้วยว่า สำหรับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ได้เริ่มมีการถอยบ้างแล้ว ในความขัดแย้งครั้งนี้ เช่นประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน การเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อแก้ปัญหา นี่เป็นการถอยหลายก้าวของนายกฯแล้ว หลังจากวันนี้คงเป็นหน้าที่ของฝ่ายผู้ร่วมชุมนุมแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในยุคโควิด ที่ประชาชนทั่วประเทศยากลำบากอย่างแสนสาหัส ทั้งนี้ การที่นักเรียน นิสิต นักศึกษาไม่ได้มาชุมนุมปิดล้อมรัฐสภา แสดงถึงสัญญาณที่น้องๆก็ได้เริ่มถอย เพื่อประชาชน แล้วเช่นกัน.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"