สนข. จับมือไจก้าศึกษาจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง คาดปรับปรุงแผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางฯ ระยะที่ 2 ระยะ 2 ภายในปีนี้ ก่อนเสนอ ครม. พิจารณาคาดเริ่มก่อสร้างปี 64
30 เม.ย. 61- นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา”The Blueprint for the 2nd Bangkok Mass Rapid Transit Master Plan (M-MAP 2)”แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-map2) ว่า สำหรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่2 สำนักงานนโยบายแผนการขนส่งและจราจร( สนข.)และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) จะดำเนินการศึกษา สำรวจใหม่ทั้งหมด เนื่องจากบริบท ที่อยู่อาศัย จำนวนประชาชนกรความหนาแน่น มีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนจึงจำเป็นต้องสำรวจข้อมูลใหม่ โดยกำหนดกรอบระยะเวลาว่าจะต้องแล้วเสร็จภายใน3ปี เพื่อกำหนดแนวเส้นทางเบื้องต้น ซึ่งโครงข่ายที่ทำเพิ่มเติมจะต้องเชื่อมต่อกับสนามบิน เรือ และสถานีกลางบางซื่อเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ รวมถึงหามาตรการจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานีรถไฟเช่นเดียวกับญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันไทยยังมีการพัฒนาไม่มากพอ
ทั้งนี้การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นโครงข่ายรถไฟฟ้าระยะที่ 2 จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม นี้ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการที่ 2 คือการกำหนดเส้นทาง และพื้นที่ โดยจุดหลักที่เป็นพื้นที่สำคัญ มีการเชื่อมต่อในหลายระบบ จะเร่งศึกษา คือ บางซื่อ มักกะสัน สถานีแม่น้ำ เป็นต้น เมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี(ครม)ต่อไป
สำหรับกรอบระยะเวลาการดำเนินการในปี 62 ทำการสำรวจพื้นที่รายละเอียด ปี63 กำหนดแนวเส้นทาง แต่ละพื้นที่ สรุปข้อมูล ชัดเจนปี64-65 เริ่มต้นก่อสร้างโครงการ อย่างไรก็ตาม จะเร่งดำเนินการวางแผนโครงการให้แล้วเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ เพื่อส่งต่อให้กับรัฐบาลชุดต่อไป โดยรถไฟฟ้าระยะที่ 2จะเป็นโครงข่ายย่อย ระบบฟีดเดอร์ มีทั้งโมโนเรล รางเดี่ยว ระบบ เฮฟวี่เรล เช่น บีทีเอส MRT ผู้รับผิดชอบอาจจะเป็นทั้งกรุงเทพมหานคร และการรถไฟฟ้าขนส่งมวชชนแห่งประเทศ รฟม.ซึ่งจะพิจารณาตามความเหมาะสม
นายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า รถไฟฟ้าในเมืองมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้น จึงยินดีที่มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ระยะที่ 1 (M-MAP 1) ซึ่งรัฐบาลไทยได้รับการออกแบบร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ปี 2553 เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นยังกล่าวต่อว่าที่มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องนั้นจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าให้มากขึ้นและลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ ทางญี่ปุ่นพร้อมที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟได้อย่างง่ายดายและเปลี่ยนถ่ายการเดินทางไปยังระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ได้สะดวกมากขึ้นสำหรับทุกคนรวมทั้งผู้สูงอายุ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถตระหนักถึงสังคมเพื่อคนทั้งมวล
อย่างไรก็ตามส่วนการจัดทำแผนแม่บทขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลระยะที่ 2 นั้น ไจก้าร่วมสนับสนุนดำเนินการทบทวนศึกษาและเสนอทิศทางนโยบายการจัดทำแผนแม่บทฯ ระยะ 2 ให้กับ สนข. เพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตและรองรับทิศทางการพัฒนาเมืองในอนาคต โดยได้เริ่มดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 60 ปัจจุบันมีความคืบหน้ากว่า80%
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |