'สุริยะ'เตรียมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทุกภูมิภาคดึงดูดลงทุนต่างชาติ


เพิ่มเพื่อน    


26 ต.ค.2563 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ภายในงานสัมมนา EEC GO เดินหน้าลงทุน ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไรรัสโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ) แต่มั่นใจว่าจากความสามารถในการบริหารจัดการสถานการณ์และศักยภาพของประเทศไทยที่มีอยู่นั้น จะสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับหลายประเทศได้ จึงต้องอาศัยช่วงเวลานี้ บวกกับปัจจัยการย้ายฐานลงทุนและการผลิตของนักลงทุนต่างชาติจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการค้า(เทรดวอร์)ของจีนและสหรัฐดึดดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศให้ได้ 

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเองจะเน้นในการเตรียมความพร้อมนิคมอุตสาหกรรมทุกภูมิภาคเพื่อเป็นฐานในการผลิตที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม โดยจะต้องตอบโจทย์ทุกการแข่งขัน ทั้งศักยภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานสากลแบบครบววงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริการจัดการอย่างทั่วถึง โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ได้มีโปรโมชั่น ส่งเสริมการขายและเช่าที่ดินในนิคมออกมาอย่างต่อเนื่อง 

“การดำเนินการดังกล่าวจะยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยเฉพาะการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร การแปรรูปสินค้าเกษตร และเครื่องมือการแพทย์ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต และได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือนักลงทุนเดิมในนิคมอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น ในสภาวะการแข่งขันปัจจุบัน ไม่ว่าจะขายในประเทศ หรือผลิตเพื่อการส่งออก จึงเป็นแรงขับเคลื่อนอีกทางหนึ่งที่เร่งให้การลงทุนล็อตใหม่เกิดขึ้นได้เร็วยิ่งขึ้น”นายสุริยะ กล่าว 

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคระกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัทั ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าในปัจจุบันเอกชนยังไม่ได้มีการสอบถามเรื่องการเมืองเข้ามามาก เพราะเชื่อว่าการลงทุนในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) นั้นจะเป็นการลงทุนระยะยาว เอกชนจึงมีการตัดสินใจจากเรื่องศักยภาพของพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน และสิทธิประโยชน์มากกว่า ซึ่งสถานการณ์ย้ายฐานการลงทุนตอนนี้ก็เป็นปัจจัยที่ดีให้กับพื้นที่อีอีซีเช่นกัน 

“ประเทศไทยต้องอาศัยจังหวะนี้ในการดึดดูดการลงทุนให้ได้มากที่สุด เพราะเอกชนหลายรายก็กำลังดูฐานการผลิตใหม่อยู่ แต่ต้องเข้าใจว่าปัจจัยในการที่จะดึงดูดการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนามต่างกัน หากเอกชนที่ต้องการลงทุนที่จะใช้แรงงานมาก ๆ และเป็นแรงงานราคาถูกก็จะมองไปที่เวียดนาม แต่ถ้าต้องการที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพก็จะมองมาที่ไทย แต่เราเองก็จะอยู่เงียบ ๆ ไม่ได้ เพราะนักลงทุนที่จะย้ายฐานนั้นก็มีหลายเงื่อนไขที่จะต้องตัดสินใจ หากไทยไม่สามารถกระตุ้นหรือดึงดูดการลงทุนได้ เอกชนหลายรายก็เริ่มมองไปที่เวียดนามบ้างแล้ว”นางสาวจรีพร กล่าว 

ด้านนางสาวรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) หรือ จีพีเอสซี กล่าวว่ามีความเชื่อมั่นในพื้นที่อีอีซี ว่าจะมีศักยภาพที่เอื้อต่อการลงทุนได้ แต่รัฐบาลเองจะต้องมีการจัดการด้านสาธารณูปโภคที่ดี ไม่ว่าจะเป็นด้าน น้ำ ไฟฟ้า และขยะ และจะต้องมีการสนับสนุนการจัดการพลังงานให้เป็นระบบอัจฉริยะ(สมาร์ท) เพื่อพัฒานาประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0

ทั้งนี้บริษัทเห็นสำคัญในเรื่องการพัฒนาแบตเตอรี่ในประเทศ ซึ่งจะต้องดึงดูดการลงทุนที่เป็นห่วงโซ่อุปทานให้มากขึ้นทั้งอุปกรณ์และชิ้นส่วน เชื่อว่าหากทำสำเร็จจะสนับสนุนการลงทุนและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)ในไทยได้ ขณะเดียวกันจะต้องมีการสนับสนุนให้ทุกโครงการที่ลงทุนใช้วัตถุดิบในประเทศไทย(โลคอล คอนเทนต์)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"