26 ต.ค.2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมท่าอากาศยาน (ทย.) อยู่ระหว่างการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานมุกดาหาร วงเงินลงทุน 4,535 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงได้ใช้บริการ ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2564 ทย.ได้รับงบประมาณวงเงิน 1,691 ล้านบาท เพื่อปรับปรุง และพัฒนาท่าอากาศยานจำนวน 4 แห่ง
ทั้งนี้ได้แก่ 1.การพัฒนาท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 7.8 แสนคนต่อปี วงเงินลงทุน 950 ล้านบาท โดยการต่อเติมความยาวทางวิ่ง รวมถึงขยายทางขับและลานจอดเครื่องบินขนส่งสินค้า และอาคารครั้งสินค้า 2.การพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่น สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2.4 ล้านคนต่อปี ใช้วงเงินลงทุน 500 ล้านบาท ในการขยายลานจอดเครื่องบิน 3.การพัฒนาท่าอากาศยานร้อยเอ็ด รองรับผู้โดยสารได้ 7.5 แสนคนต่อปี ใช้วงเงินลงทุน 110 ล้านบาท ในการก่อสร้าง ปรับปรุง ต่อเติมอาคารที่พักผู้โดยสาร และ 4.การพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานี รองรับผู้โดยสาร 2.4 ล้านคนต่อปี ใช้วงเงินลงทุน 131 ล้านบาท ในการก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสาร และปรับปรุงลานจอดรถยนต์ ขณะเดียวกัน ยังเตรียมพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานี ให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติด้วย
รายงานข่าวจาก ทย. ระบุว่า สำหรับโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานมุกดาหารนั้น ล่าสุด ผลการศึกษาแล้วเสร็จ และได้เสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง โดยในขณะนี้ อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม และคำชี้แจงเสนอให้ สนข. พิจารณา ในประเด็นว่า ท่าอากาศยานมุกดาหาร จะมีปริมาณผู้โดยสารเป็นไปตามผลการศึกษาที่กำหนดไว้หรือไม่
ทั้งนี้ ทย. ได้เตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงไว้แล้ว กล่าวคือ ผู้โดยสารของท่าอากาศยานมุกดาหาร จะเป็นผู้โดยสารคนละกลุ่มกับท่าอากาศยานนครพนม และท่าอากาศยานสกลนคร โดยเบื้องต้น คาดการณ์ว่า ผู้โดยสารของท่าอากาศยานมุกดาหารจะมาจากสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมถึงผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกตก เพื่อเชื่อมต่อไปยังด่านแม่สอด จ.ตาก และข้ามต่อไปยังประเทศเมียนมา
อย่างไรก็ตาม ทย. เตรียมเสนอข้อมูลกลับไปยังกระทรวงคมนาคมอีกครั้งภายใน ต.ค. 2563 และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในปีนี้ โดยหาก ครม. มีมติพิจารณาเห็นชอบแล้ว จากนั้นจะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เพื่อมาจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พร้อมทั้งออกแบบท่าอากาศยาน ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการดังกล่าวประมาณ 1 ปี ก่อนเข้าสู่กระบวนการเวนคืนที่ดินอีกประมาณ 2-3 ปี และเริ่มก่อสร้างในปี 2568 โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี หรือจะใช้เวลากระบวนการทั้งหมดภายใน 8 ปี หากนับจากปี 2565 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการตามแผนภายในปี 2570
สำหรับผลการศึกษาเบื้องต้นที่ได้ทำการศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2561 พื้นที่ที่เหมาะสม คือ บริเวณ ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร มีพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ ห่างจากตัวเมือง 20 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) โดยจะมีอาคารผู้โดยสาร พื้นที่ 37,200 ตารางเมตร มีความยาวทางวิ่ง 2,500 เมตรทั้งนี้ จะอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนครพนม 120 กม. อีกทั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานสกลนคร 125 กม. และห่างจากท่าอากาศยานร้อยเอ็ด 134 กม. นอกจากนี้ ผลการศึกษายังระบุอีกว่า จ.มุกดาหาร เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและโอกาสทางการค้าและลงทุนสูง สามารถก่อสร้างท่าอากาศยานได้ มีความคุ้มค่า ทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |