สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับกรมการแพทย์ ปรับกระบวนทัศน์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานไทย ยุค 4.0 เดินหน้าสร้าง “เครือข่ายชมรมเบาหวานในประเทศไทย” มั่นใจช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้จริง
ที่ รพ.ราชวิถี มีการแถลงข่าว “เบาหวานไทย ยุค 4.0” จัดโดยสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข เพื่อปรับกระบวนทัศน์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานไทยยุค 4.0 ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมี นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรญี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และ คุณอุไร พันธุมโพธิ ตัวแทนผู้ป่วยเบาหวานยุค 4.0 ผู้ได้รับรางวัล “สุดยอดผู้ป่วยเบาหวาน”
นพ.มรุต กล่าวว่า โรคเบาหวาน นับเป็นโรคที่มีความสำคัญระดับโลก รวมทั้งเป้นปัญหาสำคัญของประเทศไทย มีผู้ป่วยเบาหวานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2 แสนคนต่อปี และเสียชีวิตปีละ 8,000 คน ซึ่งปัจจัยหลักเกิดจากการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย และพบว่าคนรุ่นใหม่มีโอกาสเป็นเบาหวานสูงขึ้นจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป
จาอข้อมูลของสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปีและมีกลุ่มที่เสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานอีก 7.7 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นผู้ป่วยเบาหวานในอัตราร้อยละ 5-10 ปี ซึ่ง สธ.ได้ให้ความสำคัญโดยได้บรรจุให้โรคเบาหวานอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ประเทศประเทศไทยสุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ.2554-2563 รวมไปถึง UNDP หรือโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทย โดยสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ในการต่อสู้กับโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง
ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรญี กล่าวว่า หากมองตัวเลขของประชาชนที่เสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานนั้น ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ ซึ่งจากตัวเลขผู้ป่วยที่เป้นโรคเบาหวานอยู่แล้วส่วนใหญ่เกินครึ่งยังควบคุมเบาหวานไม่ได้ตามเป้าหมายจากสถิติพบว่า ในผู้ป่วย 10 คนจะควบคุมเบาหวานได้เพียง 3 คนเท่านั้น ทั้งนี้ในยุค 4.0 นั้นการสื่อสารค่อนข้างรวดเร็ว มีการค้นหาข้อมูลผ่านโซเชียลมิเดียง่ายขึ้น ซึ่งมีทั้วข้อมูลจริงและข้อมูลเท็จ จึงอยากให้ประชาชนรู้เท่าทันในฐานะสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ได้ตระหนักและเร่งระดมความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในทุกภาคส่วนเพื่อร่วมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงมีการสร้าง “เครือข่ายชมรมเบาหวานในประเทศไทย” เพื่อเชื่อมโยงชมรมเบาหวานที่มีอยู่บ้างแล้วเข้าด้วยกัน โดยได้เริ่มโครงการเครือข่ายชมรมเบาหวานมาตั้งแต่ปี 2557 และได้ร่วมกับโรงพยาบาลในภูมิภาคต่างๆ ให้มีการจัดตั้งชมรมเบาหวานเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงชมรมทั้งหมดเป็น “เครือข่ายชมรมเบาหวาน” เพื่อให้เกิดการพัฒนาการดูแลรักษาและควบคุมโรคเบาหวานครอบคลุมทั้งประเทศ ชมรมเบาหวานเป็นการรวมตัวของบุคลากรทางการแพทย์หรือทีมผู้ให้การรักษา ผู้เป็นเบาหวานและครอบครัว รวมทั้งผู้สนใจเข้าเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นการรวมตัวที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลมาก ด้วยแพทย์และทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวานจะได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้เป็นเบาหวานและครอบครัวอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัวได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันและกัน ทำให้เข้าใจถึงปัญหา และร่วมกันหาทางออกที่ดี นำไปสู่การพัฒนาการดูแลตนเองและการช่วยเหลือระหว่างผู้ป่วยด้วยกัน นับเป็นอีกมิติหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานไทย ยุค 4.0 ทั้งนี้ สมาคมฯ ยังคงเดินหน้ามุ่งขยายเครือข่ายชมรมเบาหวานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลระดับภูมิภาคต่างๆ เพื่อช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน และช่วยลดอัตราการเกิดของโรคเบาหวานในอนาคตอีกด้วย
“ชมรมเบาหวานจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับบริการและผู้ให้บริการได้มาพบกันมากขึ้น เกิดความใกล้ชิดกัน ซึ่งยกตัวอย่างเช่นทาง รพ.จุฬาฯ นั้นมีการจัดขึ้นทุกเดือน โดยมีแพทย์เข้าให้ความรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ มีการสร้างกำลังใจ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการควบคุมโรคเบาหวาน ที่ประเทศไทยมีการควบคุมสูงสุดได้เพียง 40 % ในหลายพื้นที่ และในต่างประเทศมีการควบคุมได้เพียง 50 % ให้มีการควบคุมได้มากกว่านี้”ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรญี กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |