22 ต.ค. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูก เพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ครั้งที่ 2 หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ รฟท.จัดตั้งบริษัทลูกดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด สำหรับการประชุมครั้งนี้ เพื่อวางแผนแนวทางบริหารจัดการ และการดำเนินการ เช่น โครงสร้างองค์กร ข้อบังคับ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินงาน เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้เสนอแนะให้ รฟท.ไปศึกษาดูงานรูปแบบการบริหารของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. เพื่อทราบถึงรูปแนวทางบริหารที่มีความคล่องตัว โดยเฉพาะเรื่องบริหารจัดการที่ดินของ รฟท. ที่มีประมาณ 30,000-40,000 ไร่ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท แต่ปัจจุบันมีรายได้จากที่ดินดังกล่าวประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งไม่ถึง 1% ของมูลค่าตลาดที่ควรจะได้ แต่ รฟท.มีสภาพการขาดทุนมูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า จึงได้มอบหมายให้คณะทำงาน โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ไปทบทวนแผนบริหารจัดการของบริษัทลูกฯ ให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ โดยนำประสบการณ์การทำงานของธนาคารกรุงไทยเข้ามาประยุกต์ ทั้งนี้ เพื่อมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และสามารถบริหารให้มีผลตอบแทนที่คุ้มค่าตามมูลค่าที่ควรจะได้ เพื่อทำให้ รฟท. มีรายได้
สำหรับพื้นที่ที่บริษัทลูกของ รฟท. จะนำมาบริหารจัดการและพัฒนาที่ดินนั้น มีหลายแปลง อาทิ ย่านสถานีแม่น้ำ บางซื่อ มักกะสัน ย่านรัชดา และย่าน RCA ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ หากสามารถดำเนินการได้แบบมืออาชีพเช่นเดียวกับเอกชน ตนเชื่อว่าจะสร้างรายได้ให้ รฟท. และสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง และขาดทุนที่ผ่านมาได้ โดยได้กำหนดกรอบเวลาให้ รฟท. กลับมานำเสนอแผนอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ จะต้องไปพิจารณาว่าแผนนี้จะต้องนำเสนอ ครม. อีกหรือไม่ หากไม่ต้องนำเสนอเข้า ครม. แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการไปจดข้อบังคับกับกระทรวงพาณิชย์ให้แล้วเสร็จ จากนั้นจะเปิดสรรหาให้เอกชนเข้ามาพัฒนาพื้นที่ ก่อนส่งมอบพื้นที่เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป โดยในขณะนี้ รฟท. มีความพร้อม ทั้งในเรื่องสำรวจที่ดิน รวมถึงแก้ปัญหาอุปสรรคไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ในส่วนของแผนการส่งมอบพื้นที่ที่เดิมจะส่งมอบภายใน 1 ปีนั้น จึงได้ให้นโยบายเร่งรัดในเรื่องการส่งมอบพื้นที่คู่ขนานกับการจัดตั้งบริษัทฯ เพื่อให้เร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม เมื่อแผนแล้วเสร็จ และมีการดำเนินการ ได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 4% หรือประมาณหลักหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นมูลค่าผลตอบแทนที่เป็นมาตรฐาน แต่เชื่อว่า จะมีรายได้เพิ่มมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบการบริหารนั้น ให้ดูแนวทาง ทั้งของภาครัฐ เช่น การบริหารทรัพย์สินของกรมธนารักษ์ การบริหารของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และภาคเอกชนด้วย เพราะถ้าไปยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นรัฐวิสาหกิจ อาจจะไม่ได้ผู้ที่มีศักยภาพมาพัฒนาพื้นที่ให้อย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงต้องดำเนินการเป็นบริษัทที่มีความคล่องตัวจริง
นอกจากนี้ รฟท. ต้องดำเนินการหลายเรื่อง เช่น กาบริหารรางที่มีอยู่ให้เอกชนเข้ามาลงทุน โดยการปรับรูปแบบเรื่องรถไฟ ซึ่งในตอนนี้มีผู้สนใจมานำเสนอในการพัฒนารถไฟจากระบบดีเซล มาเป็นระบบไฟฟ้า (EV) แทน โดยใช้แบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน และหากนำแบตเตอรี่มาใส่ 1 โบกี้ จะสามารถเดินรถได้ระยะทาง 400 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเมื่อถึงจุดหมาย จะมีการเปลี่ยนตู้ เพื่อให้ตู้นั้นชาร์จประจุไฟฟ้าต่อไป ทั้งนี้ จะทำให้ช่วยลดต้นทุนในการเดินรถขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าให้มีราคาถูกลงได้ และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |