รฟม.เล็งยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดปมประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม


เพิ่มเพื่อน    

 

22 ต.ค.2563 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องของ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในฐานะฟ้องคดีต่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 และ รฟม.ขอให้ศาลคุ้มครองไม่ให้มีการปรับวิธีการประเมินการยื่นซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวานที่ผ่านมาศาลฯ มีคำสั่งทุเลาไม่ให้มีการปรับหลักเกณฑ์ ซึ่งถือเป็นการคุ้มครองตามคำร้องของผู้ฟ้องนั้น


นายภคพงศ์ กล่าวว่า รฟม.พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของศาล แต่ขอใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ประเด็นเหล่านี้ไปยังศาลปกครองสูงสุด โดยได้มีการหารือทั้งฝ่ายกฎหมายและผู้แทนอัยการเรียบร้อย รวมทั้งในคำสั่งของศาลวานนี้ ไม่ได้สั่งให้ชะลอการเปิดประมูลโครงการฯ ดังนั้น กระบวนการหลังจากนี้จะดำเนินตามขั้นตอนเดิม คือ ให้เอกชนที่สนใจประมูลทุกรายต้องยื่นซองวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้ โดยระหว่างนี้ตั้งแต่ 1-8 พฤศจิกายน จะมีการประชุมของคณะกรรมการตามมาตรา 36 เพื่อกำหนดแนวทางและพิจารณาคำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าวด้วย


ทั้งนี้ ตามขั้นตอนดำเนินการเมื่อถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน นี้ รฟม.รับซองจากเอกชนไว้ก็จะมีระยะเวลาจนกว่าจะเปิดซองประมูล ซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติยังไม่เกี่ยวข้องกับการปรับหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตามมาตรา 36 ประกาศก่อนหน้านี้ โดยยืนยันว่าการปรับเปลี่ยนหรือยกเลิกประมูลนั้น จะเป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 36 ซึ่งในเอกสารเปิดประมูลได้สงวนสิทธิ์ที่ รฟม.สามารถยกเลิกการประมูลได้ แม้จะอยู่ในขั้นเจรจาต่อรองราคาก็ตาม


“ขอย้ำว่าข้อกฎหมายการอุทธรณ์ต่อศาล และท้ายที่สุดแนวปฏิบัติของ รฟม.จะเป็นอย่างไร ทั้งหมดขอให้ติดตามผลการประชุมของคณะกรรมการมาตรา 36 อีกครั้ง”นายภคพงศ์กล่าว


นายภคพงศ์ กล่าวว่าส่วนการชุมนุมของคณะราษฎร ซึ่งมีการใช้สถานีรถไฟฟ้าเป็นจุดเริ่มต้น ทำให้รถไฟฟ้าได้รับคำสั่งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้หยุดให้บริการนั้น ขณะนี้รถไฟฟ้าทุกระบบได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทั้งสิ้น ไม่เฉพาะรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ส่วนจำนวนผู้โดยสารจะลดลงมากน้อยแค่ไหน อยู่ระหว่างขอข้อมูลจากบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) แต่ได้มีการพูดคุยกับเอกชนที่เป็นคู่สัมปทานแล้ว โดยเอกชนยืนยันว่าจะไม่ใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายจากรัฐจากคำสั่งปิดให้บริการแต่อย่างใด


นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) วันที่ 21 ต.ค. 2563 ว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. โดยมีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานบอร์ด รฟม. มีมติเห็นชอบโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร (กม.) กรอบวงเงิน 35,201 ล้านบาท โดยหลังจากนี้ รฟม. จะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม จากนั้นจะเสนอให้สำนักงานคณะกรรมนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ก่อนส่งต่อไปคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เพื่อพิจารณา


ทั้งนี้ คาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ภายใน ต.ค. 2564 คู่ขนานกับการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และคาดว่า ฝจะเปิดประมูลได้ในช่วงต้นปี 2565 อย่างไรก็ตาม จะมีการรายงานให้ ครม.รับทราบในการประชุม ครม.สัญจร จังหวัดภูเก็ต วันที่ 3 พ.ย. 2563 ในส่วนของความคืบหน้าของโครงการนั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินการออกแบบไว้เรียบร้อยแล้ว และมีการปรับปรุงบางจุด โดยการเปลี่ยนแนวบริเวณแยกสนามบินฯ รวมถึงการขอใช้พื้นที่ของกรมทางหลวง (ทล.)


รายงานข่าวจาก รฟม. ระบุว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตนั้น ถูกออกแบบให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 21 สถานี แบ่งเป็น สถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี ขณะที่ ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กม.


ทั้งนี้ รฟม.จะเริ่มดำเนินการระยะที่ 1 ก่อน โดยจากผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 ให้ผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ 13.11% ในส่วนของอัตราค่าโดยสารนั้น มีการกำหนดไว้ที่ประมาณ 35-140 บาทต่อเที่ยว อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"