ขยะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ตื่นมาเราผลิตขยะทุกรูปแบบ แต่ในสังคมไทยการจัดการขยะก็ยังไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ใช่การแก้ปัญหาทั้งระบบ เพราะยังมีความไม่เข้าใจระหว่างผู้ทิ้งและผู้เก็บว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะสามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีหลายหน่วยงานออกมารณรงค์เรื่องนี้กันมาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปัญหาขยะที่มีอยู่ในประเทศนั้นนอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น ในบางพื้นที่ยังสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในพื้นที่อีกด้วย เนื่องจากขยะเป็นของเสีย และส่งกลิ่นเหม็น รวมถึงเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้อย่างดี มีหลายบ้านพยายามผลักภาระการรับผิดชอบไว้ให้ผู้อื่น แม้ว่าขยะจะเกิดจากตัวเองด้วยก็ตาม จนลามไปถึงปมความขัดแย้งกันในพื้นที่
การคัดแยกขยะยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างจริงจังในครัวเรือนหรือในสังคม ขยะจึงเป็นปัญหาที่อยู่ใกล้ตัวในชีวิตคนมาตั้งแต่เกิด และไม่สามารถคลี่คลายได้ในอนาคตอันใกล้ แต่ตามความเป็นจริงนั้น เมื่อเราเป็นคนสร้างขยะก็ต้องช่วยจัดการ เพื่อไม่ให้ปัญหารุนแรงขึ้น
ขณะที่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี มีความมุ่งมั่นเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว จึงเห็นความสำคัญของการจัดการเรื่องพวกนี้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างจริงจัง โดยนายยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี กล่าวว่า ได้จัด SCG Symposium เชิญทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วม เพราะเรื่องเหล่านี้ทำคนเดียวไม่ได้
โดยได้นำความสำเร็จของชุมชนมาถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และนำเอากรณีศึกษาต่างๆ มาถ่ายทอดให้นำไปทดลองใช้ ลองผิดลองถูก เรียนรู้ร่วมกัน เชื่อว่าทุกภาคส่วนพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการที่จะทำให้การจัดการขยะของประเทศไทย หรือชุมชนต่างๆ ได้รับการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมที่ดี การเติบโตที่ยั่งยืนของประเทศ
ซึ่งเอสซีจีให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มุ่งพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลักดันหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นในภาคธุรกิจ จึงได้ร่วมกับทุกภาคส่วนรวบรวมองค์ความรู้จากชุมชนและองค์กรที่มีการจัดการขยะเป็นผลสำเร็จ ได้เรียบเรียนไว้ในหนังสือ “Waste to wealth ...เงินทองจากกองขยะ”, “คน” สร้าง “ขยะ” การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต้องเริ่มจากต้นทาง
รวมถึงยังส่งเสริมแนวคิด “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” สร้างความเข้าใจ และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิตและการบริโภค โดยเริ่มจากจัดการภายในองค์กรสำนักงานใหญ่บางซื่อ เริ่มโครงการบางซื่อโมเดล เพื่อสร้างความตระหนักให้พนักงานเห็นคุณค่าของทรัพยากร เป็นต้นแบบที่ดีด้านการบริหารจัดการของเสีย ตลอดจนส่งต่อแนวคิดการจัดการขยะสู่ชุมชนภายนอก
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และแนวทางปฏิบัติของมูลนิธิชัยพัฒนาที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว และเห็นว่าเรื่องขยะแค่ปรับมุมมองก็สามารถแปรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และก่อให้เกิดรายได้ เพราะขยะมีทั้งกระดาษ พลาสติก ขยะสด เพียงแค่แยกออกมาจะเห็นว่าแต่ละอย่างมีราคา เนื่องจากขยะเป็นแหล่งรายได้ การจูงใจให้เกิดการคัดแยกเพื่อจะเห็นได้ชัดเจนว่าอันไหนเป็นเงิน ซึ่งตอนนี้มีตัวอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จของคนที่ทำเรื่องนี้มาเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม แม้ในประเทศไทยจะมีผู้ที่เห็นดีเห็นงามในการจัดการเรื่องขยะให้เกิดประโยชน์ หรือมีบทเรียนให้ปฏิบัติตามมากเพียงใด แต่ไม่มีใครสนใจที่จะนำโมเดล หรือบทเรียนต่างๆ ที่เป็นความรู้ไปต่อยอดให้ใช้งานจริงได้ ทุกอย่างที่ทำมาทั้งหมดก็จะไม่เกิดผลสำเร็จ 100% เรื่องนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือไม่ใช่แค่หน่วยงาน แต่หมายถึงประชาชนทุกคนในสังคม.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |