ต้องอ่าน!รศ.หริรักษ์อรรถาธิบายทำไมพระกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองการทำรัฐประหาร


เพิ่มเพื่อน    

21 ต.ค.2563 -  รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า เพราะสถานการณ์โควิด เมื่อวาน ช่างตัดผมประจำ ซึ่งดูจากอายุก็นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่ มาตัดผมให้ที่บ้าน เธอบ่นว่าตั้งแต่มีม็อบ ลูกค้าหายหมด ที่ร้านเงียบมาก เธอถามผมว่า ผมยืนอยู่ข้างไหน ผมตอบว่า ผมไม่ได้ปลื้มกับรัฐบาลลุงตู่ซักเท่าไหร่ แต่ก็ยังไม่เห็นว่ารัฐบาลนี้ทำอะไรที่เป็นความผิดชัดแจ้ง แต่เรื่องโจมตีจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมไม่เอาด้วยเด็ดขาด

เธอถามต่อว่า ที่เขาบอกว่า กษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยให้การรับรองการทำรัฐประหารที่ผ่านมาทุกครั้ง จริงหรือไม่ ทำไมพระองค์ท่านจึงทำเช่นนั้น

ผมนึกชมเธอที่อย่างน้อยยังมีข้อสงสัย ตั้งคำถาม หาข้อมูลเพิ่มเติม ฟังความเห็นผู้อื่น

ตอนนั้นจังหวะเวลาไม่อำนวยที่จะพูดอะไรยืดยาว ผมจึงตั้งคำถามกลับว่า ลองคิดดูว่า หากท่านไม่ทรงยอมลงพระปรมาภิไธยอะไรเลย แล้วอะไรจะเกิดขึ้นตามมา

จริงๆอยากอธิบายว่า จะว่าทรงลงพระปรมาภิไธยให้การรับรองการทำรัฐประหาร ก็ไม่เชิงเสียทีเดียว ทุกครั้งที่มีการทำรัฐประหารสำเร็จ คณะรัฐประหารถือว่าได้รัฏฐาธิปัตย์หรืออำนาจสูงสุดแล้ว หัวหน้าคณะรัฐประหารจะขอเข้าเฝ้า เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว และมีการนิรโทษกรรมให้กับคณะรัฐประหาร จากนั้นเมื่อได้ตัวผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็จะขอเข้าเฝ้าเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ลองมองย้อนกลับไปเมื่อครั้งคณะราษฎร ยึดอำนาจการปกครองจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากหนังสือเรื่อง “เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ” ของคุณ วิมลพรรณ ปิตธวัชชัย ความว่า

เวลาเที่ยงเศษของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย ได้นำเรือรบหลวงสุโขทัยแล่นออกทะเลไปยังพระราชวังไกลกังวล พร้อมหนังสือกราบบังคมทูล มีใจความดังนี้

“ ด้วยคณะราษฎร ข้าราชการ ทหาร พลเรือน ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้แล้ว และได้เชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ มีสมเด็จพระพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เป็นต้น ไว้เป็นตัวประกัน ถ้าหากคณะราษฎรนี้ถูกทำร้ายด้วยประการใดก็ดี ก็จะทำร้ายเจ้านายที่จับกุมตัวไว้เป็นการตอบแทน......”

วันที่ 26 มิถุนายน เวลา 11.00 น คณะราษฎรจำนวน 6 นาย ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดประสงค์เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธยในเอกสาร 2 ฉบับคือ ร่างพระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองสยาม และร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรม

หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมตามคณะราษฎร และไม่ยอมลงพระปรมาภิไธย อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

การทำรัฐประหารครั้งต่อๆมา หากพระมหากษัตริย์ทรงปฏิเสธที่จะลงนามในเอกสารใดๆ ของคณะรัฐประหาร ก็จะแสดงว่าพระมหากษัตริย์ทรงเลือกข้างอย่างชัดเจน ไม่ได้อยู่เหนือการเมืองจากนั้นประเทศก็จะอยู่ในสภาวะ ชะงักงัน หรือเกิดสุญญากาศทางการปกครอง ประเทศอาจจะเข้าสู่ภาวะ มิคสัญญี เกิดสงครามกลางเมือง โอกาสที่จะเกิดการนองเลือดจึงมีสูงมาก

หากจะบังคับไม่ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในเอกสารใดๆของคณะรัฐประหาร ควรบอกด้วยว่า ไม่ลงพระปรมาภิไธย แล้วพระมหากษัตริย์จะต้องทำอะไรต่อ ประเทศจึงจะสงบ ประชาชนจะไม่เดือดร้อน

เมื่อวานนี้เช่นกัน อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล เสนอความเห็นให้สภาฯตั้งกรรมาธิการเพื่อพิจารณาข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ของคณะราษฎร 2563 ในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างมี”วุฒิภาวะ “ และตรงไปตรงมา แปลว่า อ.ปิยบุตร ยอมรับแล้วใช่หรือไม่ว่า ที่ปราศรัยกันแต่ละครั้งในการชุมนุมไม่มีวุฒิภาวะจริงๆ

อย่างไรก็ดี อ.ปิยบุตร ควรต้องมีแนวทางด้วยว่า หากตั้งกรรมาธิการได้จริง ได้ข้อสรุปแล้ว จะยังไงต่อไป พระมหากษัตริย์จะมีโอกาส แสดงความเห็นหรือมีพระราชวินิจฉัยใดๆได้หรือไม่ และหากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยเล่า บ้านเมืองจะวุ่นวายหรือไม่ อย่างไร

คิดอะไรต้องคิดให้ตลอด ให้ลงไปถึงระดับปฏิบัติด้วยครับ จะได้ไม่สร้างปัญหาให้ประเทศในภายหลัง. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"