ไทยโพสต์ ก้าวขึ้นปีที่ 25 ในวันที่ 21 ต.ค.นี้ ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตัวเองในการเน้นเสนอข่าวสารการเมืองอย่างเข้มข้นภายใต้สโลแกน อิสรภาพแห่งความคิด เช่นเดิม ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคุกรุ่นมาหลายปี สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและบนความรับผิดชอบ ในขณะที่ความขัดแย้งทางความคิดของสังคมไทยแตกเป็น 2 ขั้ว ประชาชนแทบทุกสาขาอาชีพก็เลือกข้างตามจุดยืนของตัวเอง สื่อมวลชนก็ไม่พ้นตกอยู่ในกระแสเดียวกัน ดังนั้นใครจะเลือกแนวทางไหนก็เป็นเรื่องของ อิสรภาพแห่งความคิด เช่นกัน ก็เอาที่สบายใจ แต่อย่าบิดเบือนข้อเท็จจริง ปลุกเร้าซ้ำเติมสถานการณ์ก็แล้วกัน...0
ม็อบปลดแอก-เราคือราษฎร ยังคงจัดชุมนุมแบบดาวกระจายต่อเนื่องตามจุดสำคัญทั้ง กทม.และต่างจังหวัด กดดันให้ บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ วันก่อน บิ๊กตู่ ย้อนถามว่า "ผมทำผิดอะไร" วันนี้ นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา เฉลยให้แล้วว่า "ปัญหาบ้านเมืองเวลานี้เป็นผลมาจากการยึดอำนาจของ คสช. หรือจะเรียกว่า มรดกบาปจากการรัฐประหารปี 2557 ก็ได้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกตอนนั้นถือว่าพอไปได้ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ยึดอำนาจแล้วไม่คืนอำนาจ มิหนำซ้ำบอกว่าจะคืน ผมเคยเตือน พล.อ.ประยุทธ์แล้วแต่ไม่ฟัง พล.อ.ประยุทธ์เป็นได้แค่กรรมการห้ามมวย อย่าลงไปต่อยเอง แต่ไม่เชื่อ แล้วเป็นไง"...0
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า "หน้าที่ของผมและพวกเราทุกคนต้องช่วยกันป้องกัน กำจัดการกระทำที่มีเจตนาร้าย ความพยายามยุยงปลุกปั่นสร้างความวุ่นวาย ความแตกแยก สับสนอลหม่านภายในประเทศ" ก็แล้วทำไม พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเป็นหัวหน้า คสช.และนายกฯ กว่า 6 ปี ถึงปล่อยให้คนที่เจตนาร้ายยุยงปลุกปั่นสร้างความวุ่นวายแตกแยกในประเทศได้ขนาดนี้ แล้วที่บอกว่า เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน จะคืนความสงบสุขให้ประเทศไทย แต่วันนี้กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม แสดงว่าเป็นความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาใช่ไหม? และที่นายกฯ พูดในที่ประชุม ครม.ว่า "เมื่อเกิดมาเพื่อปกป้องสถาบัน ถ้าตายขอตายเพื่อสถาบัน" แต่ทำไมถึงมีการจาบจ้วงสถาบันมากที่สุดในยุคตนเองเป็นผู้นำ แล้วจะรับผิดชอบอย่างไร?...0
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบออกร่างพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ.2563 เพื่อหารือถึงการชุมนุมเรียกร้องของนักศึกษาและประชาชนในขณะนี้ คาดว่าจะเปิดอภิปรายได้ ในวันที่ 26-27 ต.ค.นี้ ถือเป็นการหาทางออกจากวิกฤติตามกลไกรัฐสภาดีกว่าลงท้องถนน แต่จะตอบสนองข้อเรียกร้องผู้ชุมนุมได้แค่ไหนยังไม่แน่นอน หาก พล.อ.ประยุทธ์ยังไม่ลาออก และโดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปสถาบัน เป็นประเด็นแหลมคมที่จะหาข้อยุติได้ยาก แต่ความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมือง จบลงที่การพูดคุยเจรจากันทั้งนั้น ซึ่งต้องเข้าใจว่าจะไม่มีฝ่ายใดได้ทั้งหมด ต้องหาจุดที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ มิเช่นนั้นก็จะซ้ำรอยการชุมนุมกลุ่ม นปช. เมื่อปี 53 ที่ตัวแทนรัฐบาลกับผู้ชุมนุมตกลงกันแล้ว แต่มีโทรศัพท์จาก คนแดนไกล สั่งแกนนำลุยต่อ สุดท้ายก็จบลงด้วยชีวิตเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกัน!...0
ถ้าจะว่าไปแล้วการชูธง ปฏิรูปสถาบัน ของผู้ชุมนุมครั้งนี้ส่งผลสะเทือนทางความคิดและเกิดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันต่อสาธารณะอย่างกว้างขวางกว่าทุกยุคสมัย ลงลึกไปถึงเด็กเยาวชนถือเป็นชัยชนะยกแรกแล้ว แต่หากยังจะจัดม็อบกดดันให้มีการปฏิรูปสถาบันต่อไป ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มปกป้องสถาบันแน่นอน หลายพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ เริ่มออกมาแสดงพลังและพร้อมจะออกมาเผชิญหน้ากันแล้ว นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรมีมติตั้ง กมธ.ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยเรื่องนี้ ก็เป็นข้อเสนอที่ควรพิจารณา แต่นายปิยบุตรก็ควรเลิกยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศสได้แล้ว ผู้ชุมนุมก็หยุดใช้ภาษาจาบจ้วงดูหมิ่นเหยียดหยามสถาบัน หยุดใช้คำว่า ศักดินาจงพินาศ เพราะฝ่ายที่ปกป้องสถาบันก็รับไม่ได้ มองว่าไม่ใช่แค่ปฏิรูป แต่คือ การปฏิวัติล้มล้าง สุดท้ายจะมีซากปรักหักพังของสังคม!...0
แซมซาย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |