20 ต.ค.63 - ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) โดยพล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. พร้อมด้วย พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษก ตร. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. และนายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกันแถลงสรุปภาพรวมสถานการณ์การชุมนุมและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวถึงการดูแลการชุมนุมในภาพรวมเมื่อวานนี้ (19 ตุลาคม) มีการเตรียมกำลังตำรวจ เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม ผลการปฏิบัติไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นแต่อย่างใดการควบคุมสถานการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนการนัดรวมตัวการชุมนุมในวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ใด อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมความพร้อมในด้านการอำนวยความสะดวกการจราจรและการดูแลความสงบเรียบร้อยไว้พร้อมแล้ว ส่วนสถานการณ์การชุมนุมในรอบ 24 ชั่วโมง มี 6 จุด คือ 1.แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(บางเขน) 2.หน้าเรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร 3.มหาวิทยาลัยศิลปากร(วังท่าพระ) 4.บริเวณถนนตัดใหม่สาธุประดิษฐ์ 5.หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 2 6. สภ.เมืองนนทบุรี โดยได้เลิกชุมนุมก่อนเวลา 20.00 น.
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า ส่วนการดำเนินการทางกฎหมายมีการจับกุมผู้กระทำความผิดจำนวน 2 ราย ได้แก่ 1.นายปฏิวัติ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบงก์ ถูกเจ้าหน้าที่ สภ. เมืองขอนแก่น จับกุมได้ที่บ้านพักในอ.เมือง จ.ขอนแก่น ตามหมายจับศาลอาญาที่ ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ในความผิดตามมาตรา 116 2.จับกุมนายขวัญ จีนา ตามหมายจับศาลอาญาพระโขนง ลงวันที่ 19 ตุลาคม 25863 ซึ่งกระทำผิดทุบทำลายป้อมกดสัญญาณไฟจราจรแยกบางนา ดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก รายที่ 3 จับกุมนายประวิทย์ สมรัตน์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ปรากฏตามสื่อโซเชียลต่างๆ ว่าเป็นตำรวจปลอมตัวเข้าไปในกลุ่มผู้ชุมนุม
ขอเรียนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พิสูจน์ทราบแล้วว่าไม่ใช่ตำรวจ จึงได้ติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ในข้อหาพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้เสียทรัพย์ และชุมนุมเกิน 10 คนขึ้นไป สำหรับการจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมช่วงที่ผ่านมา จำนวน 76 คน แบ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา 21 คน ความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 54 คน และ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน 1 คน
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกว่า วันนี้ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.) เตรียมกำลังไว้ 12 กองร้อย จำนวน 1,860 นาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ภายใต้การบังคับบัญชา พล.ต.ต.สหรัฐ ศักดิ์ศิลปะชัย รอง ผบช.น. โดยเน้นการปฏิบัติเป็นชุดเคลื่อนที่เร็วในการเข้ารักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณที่มีการชุมนุมและป้องกันมือที่สามก่อความไม่สงบเรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มที่พบว่ามีความผิดนั้นมีการกระทำผิดลักษณะอย่างไร นายภุชงค์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นความผิด พรบ.คอมฯ โดยการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบในภาพกว้าง ส่วนความผิดเรื่องของการยุยงปลุกปั่น ทำให้โครงสร้างพื้นฐานได้รับผลกระทบ ซึ่งผู้ที่กระทำความผิดทั้ง 58 รายนั้นได้ประสานไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ให้ระงับไปแล้ว และบางรายมีคำสั่งศาลแล้ว ส่วนบางรายก็ได้ใช้อำนาจคำสั่งของหัวหน้า พรก.ฉุกเฉิน
เมื่อถามว่าผู้ชุมนุมขีดเส้นตายให้ประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ภายในเวลา 18.00 น. ทางศูนย์ กอร.ฉ. จะดำเนินการอย่างไร พล.ต.ต. ปิยะ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยหลังจากนี้จะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมแล้ว ส่วนกรณีที่ผู้ชุมนุมประกาศเซอร์ไพรส์เจ้าหน้าที่เชื่อว่าจะเป็นการแยกย้ายชุมนุมตามจุดต่าง ๆ โดยทางเจ้าหน้าที่ได้เตรียมความพร้อมโดยการจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว
เมื่อถามอีกว่า เจ้าหน้าที่คิดว่าผู้ชุมนุมจะยกระดับการชุมนุมหรือไม่ พล.ต.ต. ปิยะ กล่าวว่า จากการประเมินเชื่อว่าผู้ชุมนุมขณะนี้สามารถยกระดับได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ส่วนการดาวกระจายจะเป็นการเคลื่อนตัวไปตามสถานีรถไฟฟ้าต่าง ๆ เท่านั้น เชื่อว่าชุดเคลื่อนที่เร็วจะสามารถเข้าไปดูแลความสงบเรียบร้อยในส่วนนี้ได้ ส่วนกรณีที่แกนนำหลายคนได้รับการปล่อยตัวแล้วนั้น มีเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวโดยเฉพาะบางคนมีเงื่อนไขห้ามเข้าพื้นที่การชุมนุม ซึ่งขณะนี้ส่วนใหญ่มีหมายจับที่กำลังดำเนินการอยู่หลาย 10 หมาย โดยทางเจ้าหน้าที่ขอย้ำเตือนไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมว่าการกระทำในทุกกรณีที่เข้าข่ายผิดมีเจ้าหน้าที่คอยรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายทุกราย
ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส ได้ตรวจสอบพบบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการยุยงทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ได้ส่งเรื่องมาให้กอร.ฉ. ดำเนินรวมแล้ว 58 เรื่อง ส่วนกรณีการบิดเบือนข้อมูลในลักษณะข่าวปลอมหรือเฟคนิวส์ ได้มีการปลุกระดมโดยผู้ไม่หวังดีโดยใช้บัญชีปิดบังตัวตนผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์ชักชวนให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้วิธีการ Looting คือการปล้นสะดมในระหว่างสถานการณ์ที่มีความไม่สงบ โดยในทวิตเตอร์มีการแชทอ้างการกระทำลักษณะดังกล่าวในสถานการณ์การชุมนุมระหว่างประเทศ ซึ่งมีการชักชวนให้ทำลายทรัพย์สินของทางราชการและทรัพย์สินของประชาชนทั่วไปในพื้นที่บริเวณการชุมนุม เพื่อยกระดับการชุมนุม
ในเรื่องนี้ทางกอร.ฉ.มีความเป็นห่วงและขอแจ้งเตือนประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมอย่าตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดีที่พยายามยุยง ปลุกปั่นให้กระทำการดังกล่าว เพราะนอกจากจะเป็นการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ยังผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเข้าข่ายฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หรือทำให้เสียทรัพย์แล้วแต่กรณี ส่วนผู้ที่ไม่หวังดีที่ทำการยุยง ปลุกปั่นในโลกออนไลน์ จะต้องถูกดำเนินคดีทั้งพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 และเป็นการฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย
จากการตรวจสอบกลุ่มผู้ชุมนุมหลายๆ คน ได้รับข้อมูลลักษณะการเชิญชวนในทวิตเตอร์ แต่มีอีกหลายคนที่มีความเป็นห่วงเป็นใยได้มีการสื่อสารถึงกันและกัน พร้อมเตือนกันว่าอย่าตกเป็นเครื่องมือ ทางกอร.ฉ.ต้องขอขอบคุณที่มีสติในการช่วยเตือนกันเป็นการป้องกันระวังภัยสำหรับบุคคลที่ 3 หรือบุคคลที่ไม่หวังดีมาแทรกแซงด้วยเจตนาร้าย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |