"ไบโอเทค"สร้างมดลูกจำลอง  ศึกษาวิธียับยั้งไวรัสซิกาแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก 


เพิ่มเพื่อน    

19 ต.ค. 63-ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สวทช.) ดร.ธีรวัฒน์ วิวัฒน์พาณิชย์ นักวิจัยการออกแบบและวิศวกรรมชีวโมเลกุลชั้นแนวหน้า ไบโอเทคสวทช. กล่าวว่า การติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งมียุงลาย เป็นพาหะนำโรคเหมือนกับไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และไข้เหลืองสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่จะสามารถยับยั้งการป้องกันการติดเชื้อได้การติดเชื้อไวรัสซิกา ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงจะไม่มีอาการรุนแรงหรือไม่เกิดอาการเลย แต่ปัจจุบันได้มีผลการศึกษายืนยันแล้วว่า เมื่อผู้หญิงมีครรภ์ได้ติดเชื้อไวรัสซิกาเชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ซึ่งมีโอกาสเสี่ยง  20% ส่งผลให้ทารกมีอาการสมองเล็ก สมองไม่พัฒนา รวมถึงการเสียชีวิตทันทีหลังคลอด สถิติปี61 มีทารก 3,700 รายทั่วโลกประสบปัญหาสมองจากไวรัสซิกา ในไทยแม้การแพร่ระบาดไม่มากเท่าพื้นที่อเมริกาใต้ แอฟริกา  แต่ไทยมีประวัติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสซิกาภายในประเทศมา16 ปี  ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสซิกา21% อายุเฉลี่ย 21-30 ปี ในปี2560 ทารกประสบปัญหาสมองเล็กจากติดเชื้อซิกา4 ราย

     

ดร.ธีรวัฒน์ วิวัฒน์พาณิชย์  

    ดร.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า มีการวิเคราะห์รูปแบบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสซิกาว่าจะคล้ายกับไวรัสเด็งกีหรือไข้เลือดออกจะระบาดเป็นช่วงปี หายไปแล้วกลับมา วนเวียนไปแบบนี้ ควรมีการป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ เป็นสาเหตุให้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และทีมวิจัยศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) ,ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาและหน่วยวิจัยไข้เลือดออก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศึกษาวิธียับยั้งการแพร่เชื้อไวรัสซิกาจากแม่สู่ทารกในครรภ์ โดยทางทีมวิจัยพัฒนาออร์แกนอยด์หรืออวัยวะจำลองของมดลูกเพื่อใช้ทดสอบและพัฒนาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสซิกาเพื่อนำมาใช้ต้านทานเชื้อไวรัสดังกล่าวและป้องกันการแพร่ระบาดจากแม่สู่ลูก

   “ สำหรับอวัยวะจำลองหรือออร์แกนอยดนำชิ้นเนื้อมดลูกจากคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัด เข้าสู่ขั้นตอนแยกเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก กลุ่มก้อนเซลล์ที่ได้เพาะเลี้ยงแบบสามมิติจนมีลักษณะและคุณสมบัติเสมือนหรือคล้ายกับอวัยวะจริงในร่างกาย  มีการแยกเซลล์ชั้นผิว เซลล์สโตรมาเพื่อการศึกษากระบวนการทางชีวภาพ ศึกษาโรคและทดสอบยา โดยยังไม่ต้องทดสอบกับอาสาสมัครหรือคนไข้จริง ผลทดลองเบื้องต้นพบว่า เชื้อไวรัสซิกาสามารถแฝงเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก เป็นแหล่งเริ่มต้นแพร่เชื้อไวรัส หากแม่ท้องจะถ่ายทอดสู่ลูกผ่านรก ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบออร์แกนอยด์ให้เสมือนจริงมากที่สุดและจะทดสอบยาในขั้นต่อไป รวมถึงจะพัฒนาการสร้างออร์แกนอยด์อวัยวะจำลองรกเพื่อใช้ทดสอบการแพร่เชื้อซิกาสู่ทารกในครรภ์“ ดร.ธีรวัฒน์กล่าว

      นักวิจัยไบโอเทค กล่าวต่อว่า ปัจจุบันโครงการนี้ได้รับคัดเลือกเป็น1 ใน5 โครงการจาก 121 ผู้สมัครจาก37 ประเทศที่ชนะTDR Global Crowdfunding Challenge Contest ขององค์การอนามัยโลก(WHO) ซึ่งจัดตั้งเพื่อให้การสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดต่อในเขตร้อนโดยทางองค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรอง 5 โครงการที่ได้รับคัดเลือกเพื่อจัดตั้งCrowdfunding for Science หรือการระดมทุนเพื่องานวิจัยซึ่งทางทีมวิจัยได้ตั้งเป้าหมายงบประมาณในการดำเนินงานวิจัยเบื้องต้นไว้ที่8,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ260,000 บาทโดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการสนับสนุนโครงการสามารถร่วมบริจาคเงินให้กับโครงการได้ที่http://www.experiment.com/noZika4Baby

ตั้งแต่วันที่15 ต.ค.จนถึงวันที่ 30 พ.ย. นี้  คาดหวังว่า เงินบริจาคของทุกคนจะเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มวิจัยทดสอบศึกษาการยับยั้งเชื้อไวรัสซิกาและช่วยเหลือให้แม่ตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอีกทั้งงานวิจัยที่มีผลดีนี้จะทำเพิ่มโอกาสการยื่นขอทุนสนับสนุนโครงการต่อแหล่งทุนขนาดใหญ่ด้วย

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"