“ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจออมสิน” เผยดัชนีเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก ไตรมาสแรกของปียังกระจุกตัว ชู “กทม.- ปริมณฑล” ดีสุด เหตุประชาชนมั่นใจมาตรการช่วยเหลือคนจนของภาครัฐ แนะจับตา 3 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเชื่อมั่น ราคาสินค้าเกษตร-กำลังซื้อภาคเกษตรทรุด-พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างใหม่กระทบเบิดจ่ายล่าช้าฉุดเศรษฐกิจฐานรากไม่ตื่น
29 เม.ย. 61 - นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้สำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานรากในไตรมาส 1 /2561 จากตัวอย่างผู้มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท จำนวน 2,200 รายทั่วประเทศพบว่า ดัชนีเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 45.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2560 ที่ 44.9 เนื่องจากประชาชนระดับฐานรากเชื่อมั่นและรู้สึกว่าภาครัฐ มีมาตรการโครงการที่มุ่งช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง อาทิ มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน และโครงการไทยนิยมยั่งยืน
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกดัชนีความเชื่อมั่นตามภูมิภาคพบว่า พื้นที่กทม. ปริมณฑล เป็นพื้นที่เดียวที่มีดัชนีความเชื่อมั่น เศรษฐกิจฐานรากอยู่ในระดับดี โดยปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นด้านการจับจ่ายใช้สอย เช่นเดียวกับดัชนีภาคตะวันออกปรับขึ้นเล็กน้อย ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นในภูมิภาคอื่นที่เหลือปรับลดลงทั้งหมด โดยภาคใต้อยู่ต่ำสุดที่ระดับ 36.3 รองลงมาเป็นภาคเหนือลดเหลือ 39.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดเหลือ 41.9 ส่วนภาคกลางดัชนีลดลงอย่างรุนแรงจาก 64.6 เหลือแค่46.2
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ เทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า ความเชื่อมั่นด้านการจับจ่ายใช้สอย ความสามารถการชำระหนี้ และการออมปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนการหารายได้ โอกาสในการหางานทำ และภาวะเศรษฐกิจปรับลงเล็กน้อย โดยสาเหตุที่การจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น มาจากเป็นช่วงก่อนวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่าย จากการเดินทางกลับภูมิลำเนา ค่าของขวัญ ของฝาก และท่องเที่ยว อีกทั้งมาตรการภาครัฐที่ออกมาช่วยเหลือให้ประชาชนมีสภาพคล่องในการใช้จ่ายมากขึ้นจากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ส่วนประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังติดตามมี 3 ประเด็น ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการปรับตัวลดลง อาทิ อ้อยโรงงาน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ทำให้รายได้ และกำลังซื้อของภาคการเกษตรลดลง เช่นเดียวกับการจ้างงานนอกภาคการเกษตรปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากหลายสาขา อาทิ การขนส่ง การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนผลกระทบของ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อการเบิกจ่ายของภาครัฐ ทำให้บางหน่วยงานมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งอาจกระทบต่อแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก ในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้าประชาชนระดับฐานรากมีมุมมอง ที่ดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.8 เนื่องจากจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และรัฐบาลจะมีมาตรการ โครงการที่สนับสนุนช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งในอนาคต
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |