18 ต.ค.63 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ได้เวลาเลือกนายก อบจ.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเพื่อเลือก นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และสมาชิกสภา อบจ. ในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และสมาชิกสภา อบจ. ในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.47 ระบุว่า ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง ขณะที่ ร้อยละ 12.34 ระบุว่า ไม่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง และร้อยละ 5.19 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่
สิ่งที่ประชาชนใช้พิจารณาในการตัดสินใจเลือก นายก อบจ. พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.50 ระบุว่า พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาในการทำประโยชน์เพื่อท้องถิ่น รองลงมา ร้อยละ 38.07 ระบุว่า พิจารณาจากนโยบายการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นของผู้สมัคร ร้อยละ 24.91 ระบุว่า พิจารณาจากประวัติพฤติกรรมส่วนบุคคล ร้อยละ 22.80 ระบุว่า พิจารณาจากคุณสมบัติประวัติส่วนบุคคล เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ ร้อยละ 8.58 ระบุว่า พิจารณาจากพรรคการเมือง/กลุ่มการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 4.97 ระบุว่า พิจารณาจากชื่อเสียงของผู้สมัคร ร้อยละ 2.86 ระบุว่า พิจารณาว่าใครเป็นผู้สนับสนุนผู้สมัคร และร้อยละ 2.63 ระบุว่า พิจารณาจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับผู้สมัคร เช่น เป็นพ่อ-แม่ ลูก-หลาน ญาติพี่น้อง-เพื่อน
สำหรับที่มาของ นายก อบจ. ที่ประชาชนอยากได้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.23 ระบุว่า นายก อบจ. อิสระ รองลงมา ร้อยละ 28.37 ระบุว่า นายก อบจ. ที่สังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 14.00 ระบุว่า นายก อบจ. ที่สังกัดกลุ่มการเมือง และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนต่อการเปลี่ยน นายก อบจ. ในเขตจังหวัด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.77 ระบุว่า อยากเปลี่ยนนายก อบจ. ขณะที่ ร้อยละ 43.19 ระบุว่า ไม่อยากเปลี่ยนนายก อบจ. และร้อยละ 12.04 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.59 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 19.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 36.72 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.83 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.17 เป็นเพศหญิง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |