17 ต.ค.63 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ ว่าตามที่รัฐบาลได้อาศัยอำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและข้อกำหนดตามประกาศดังกล่าว เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 16 ต.ค. บริเวณสี่แยกปทุมวัน กรุงเทพฯ นั้นกสม. มีความกังวลและห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งมีความอ่อนไหวและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทย
แม้ว่าการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรเมื่อวันที่ 16 ต.ค. เป็นการชุมนุมที่ต้องห้ามตามข้อกำหนดของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ อย่างไรก็ตาม กสม. เห็นว่าการชุมนุมดังกล่าวยังไม่ปรากฏลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงจนเป็นเหตุถึงขั้นที่รัฐบาลต้องตัดสินใจใช้มาตรการในการสลายการชุมนุม จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ ทั้งนี้ การบังคับใช้กฎหมายจำเป็นต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานบางประการที่ไม่สามารถละเมิดได้ (non-derogable) ของผู้ชุมนุม โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน
กสม. จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายพิจารณา ดังนี้1. รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรใช้มาตรการที่รุนแรงในการสลายการชุมนุมโดยสงบซึ่งได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งใช้แนวทางสันติวิธีในการเจรจาแก้ไขปัญหา
2. รัฐบาลไม่พึงใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมชุมนุม และต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนไม่กระทำการใดที่จะมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพ พัฒนาการ และความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจของเด็ก ซึ่งเป็นหลักการที่ได้รับการรับรองไว้ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
3. รัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติควรใช้กระบวนการของรัฐสภาในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง และให้หลักประกันว่าข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมทุกกลุ่มจะได้รับการพิจารณาเพื่อนำไปสู่การยุติข้อพิพาทโดยเร็ว
4. รัฐบาลควรเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากปฏิบัติการการสลายการชุมนุม ทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกสั่งให้ปฏิบัติการ รวมทั้งดูแลให้ผู้เข้าร่วมการชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวจากการชุมนุมโดยสงบได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม
5. การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ทุกฝ่ายควรเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหรือการสื่อสารด้วยวิธีการใด ๆ ที่สร้างความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรง และดูหมิ่นเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
ทั้งนี้ กสม. ขอให้ทุกฝ่ายได้ใช้ความอดทนอดกลั้นและร่วมกันแสวงหาทางออกอย่างสันติเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้ด้วยดี.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |