16 ต.ค.63 - นายปองพล อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กโดยมีเนื้อหาดังนี้
ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
รากฐานอันมั่นคงของราชอาณาจักรไทยได้แก่พุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และตัวคนไทยเองซึ่งมีวัฒนธรรม จารีตประเพณีที่สะสมหล่อหลอมมาหลายชั่วอายุคนจนถึงปัจจุบัน ได้สร้างพันธุกรรมและภูมิคุ้มกันในสังคมนานาชาติและระบบการปกครองที่เหมาะสมกับคนไทย คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับก่อนหน้านั้น
ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าประชาธิปไตยเป็นผลผลิตของโลกตะวันตกและนำมาสู่ประเทศไทยได้ 88 ปีแล้ว แต่จากการศึกษาของผมพบว่าประชาธิปไตยระบบรัฐสภาได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลด้วยการทอดกฐิน ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทอดกฐินตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 31 ต.ค. 2563 ขอให้ผู้ไปร่วมในพิธีทอดกฐินติดตามดูจะเห็นว่าพระภิกษุที่มารับผ้ากฐินจะต้องมีองค์ประชุมคือพระภิกษุซึ่งจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลยไม่ต่ำกว่า 5 รูปมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพุทธบัญญัติ ในการกำหนดพระภิกษุผู้จะรับผ้ากฐินนั้น จะต้องมีพระภิกษุ 1 ใน 5 รูปเป็นผู้เสนอว่าพระภิกษุรูปใดจะเป็นผู้รับผ้ากฐิน เมื่อมีผู้เสนอแล้ว ก็จะมีการถามว่ามีผู้คัดค้านหรือไม่ ผมเคยไปงานทอดกฐินครั้งหนึ่งซึ่งมีผู้คัดค้านแต่แพ้การลงมติจากเสียงข้างมาก จะเห็นว่าการทอดกฐินมีองค์ประกอบของประชาธิปไตยระบบรัฐสภาครบถ้วน ผมเชื่อว่าคนไทยพุทธทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับพิธีทอดกฐินซึ่งมีเป็นประจำทุกปี ซึ่งการได้สัมผัสประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอย่างต่อเนื่องคงจะซึมซับอยู่ในจิตสำนึก
ไปดูประชาธิปไตยของโลกตะวันตกกันบ้าง ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่ 1. ปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ (Majority Rule) 2. ความเท่าเทียมกันใน สิทธิ (Rights) โอกาส (Opportunity) และการปฏิบัติ (Treatment) 3. การตรวจสอบและถ่วงดุลย์ (Check and Balance)
ส่วนดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยไทย กัมพูชา ลาว และพม่าซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนามานานร่วมพันปีปกครองโดยระบบกษัตริย์ ซึ่งราชธานีแห่งแรกของราชอาณาจักรไทยหรือสยามในขณะนั้นคือกรุงสุโขทัย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยคือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงปกครองบ้านเมืองแบบพ่อปกครองลูกด้วยทศพิศราชธรรมสืบต่อมาจากยุคพุทธกาลและต่อเนื่องยาวนานมาเกือบ 800 ปีจนมาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุใน มาตรา 9 ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”
ขณะที่ชาวตะวันตกและประชาธิปไตยแบบตะวันตกมักจะมองบุคคลอื่นเป็นผู้สร้างปัญหา ไม่ใช่ตนเองและมุ่งแต่รักษาสิทธิและเสรีภาพของตนแต่พร้อมที่จะละเมิดและคุกคามสิทธิของผู้อื่นนั้น ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นจริยวัตรในการดำรงชีวิต ยอมรับผลของกรรม บาป บุญ คุณ โทษของตนเอง เชื่อว่าทุกคนย่อมเป็นไปตามกรรมและการกระทำ ทำดีย่อมได้รับผลดี และทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ไม่โทษผู้อื่น อันเป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยแบบไทยๆ
ปองพล อดิเรกสาร
16 ต.ค. 2563
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |