เฮลั่น!สหรัฐถอดไทยจากบัญชีต้องจับตามองละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา


เพิ่มเพื่อน    

สหรัฐเปิดเผยรายงานประจำปี 2561 ว่าด้วยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยประเทศคู่ค้าของสหรัฐ 36 ประเทศ ยืนยันไทยหลุดจากบัญชีต้องจับตามองเป็นพิเศษที่เคยติดอยู่นาน 10 ปี มาอยู่ในกลุ่มถูกจับตา ส่วนแคนาดาคู่ค้าสำคัญของสหรัฐขยับขึ้นติดกลุ่มแทนไทย

สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) เผยแพร่รายงานประจำปีว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาโดยประเทศคู่ค้าตามกฎหมายการค้าสหรัฐปี 2517 มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่นของกรุงวอชิงตัน โดยมี 36 ประเทศที่รัฐบาลสหรัฐกล่าวหาว่ายังไม่ดำเนินการอย่างเพียงพอในการปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา (ไอพี) ของสหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มจากรายงานประจำปีที่แล้ว 2 ประเทศ

การจัดกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือประเทศที่ต้องได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List) หรือพีดับเบิลยูแอล และประเทศที่ถูกจับตา (Watch List) หรือดับเบิลยูแอล โดยในกลุ่มแรก ปีนี้มี 12 ประเทศ โดยเพิ่มแคนาดาและโคลอมเบียเข้าไว้ในกลุ่มนี้ ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งเคยติดกลุ่มพีดับเบิลยูแอลมาตั้งแต่ปี 2550-2560 ถูกปรับลงมาอยู่ในกลุ่มดับเบิลยูแอลแทน 

รายชื่อประเทศในกลุ่มที่สหรัฐจับตามองเป็นพิเศษเรื่องการละเมิดไอพี ได้แก่ จีน, อินโดนีเซีย, อินเดีย, แอลจีเรีย, คูเวต, รัสเซีย, ยูเครน, อาร์เจนตินา, แคนาดา, ชิลี, โคลอมเบีย และเวเนซุเอลา 

ส่วนในกลุ่มจับตาอีก 24 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย, เวียดนาม, ปากีสถาน, ทาจิกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน, อุซเบกิสถาน, อียิปต์, เลบานอน, ซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, กรีซ, โรมาเนีย, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, เม็กซิโก, คอสตาริกา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, กัวเตมาลา, บาร์เบโดส, จาเมกา, โบลิเวีย, บราซิล, เอกวาดอร์ และเปรู

กรณีของไทยนั้น ยูเอสทีอาร์กล่าวว่า ผลจากการทบทวนสถานะนอกรอบระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2560 ทำให้ยูเอสทีอาร์ตัดสินใจขยับไทยพ้นจากกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ โดยยูเอสทีอาร์เห็นว่า รัฐบาลไทยได้ดำเนินการด้านการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมาย โดยเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา (TIFA) ระหว่างสหรัฐและไทย อันส่งผลให้เกิดความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญต่อการแก้ไขความห่วงกังวลด้านไอพีของสหรัฐในหลากหลายด้าน ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย, สิทธิบัตรและยา, เครื่องหมายการค้า และ

การลงทุนสหรัฐฯ-ไทย ความร่วมมือกันนี้ทำให้มีผลคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในหลากหลายเรื่อง อาทิ การบังคับใช้, สิทธิบัตรและยา เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์

รายงานยกตัวอย่างว่า ไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ และตั้งคณะอนุกรรมาธิการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตามลำดับ การให้ความสนใจอย่างมากจากบุคคฃระดับสูงที่สุดของรัฐบาลส่งผลให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ทำได้ดีขึ้น รวมถึงยังปรับปรุงและส่งเสริมให้การปราบปรามสินค้าปลอมและละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน

ปีนี้รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงสถานะจีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐ ไว้ในบัญชีพีดับเบิลยูแอลเป็นปีที่ 14 ติดต่อกันแล้ว โดยยูเอสทีอาร์ระบุว่าจีน "จำเป็นอย่างเร่งด่วน" ที่ต้องแก้ไขข้อวิตกของสหรัฐเกี่ยวกับไอพี ซึ่งรวมถึงการขโมยความลับทางการ, การละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ และการบังคับให้ถ่ายโอนเทคโนโลยี ขณะเดียวกัน สหรัฐได้ลดระดับแคนาดา ประเทศคู่ค้าในกลุ่มนาฟตา จากกลุ่มจับตามาอยู่ในกลุ่มพีดับเบิลยูแอลเท่ากับจีน โดยอ้างถึงการบังคับควบคุมชายแดนอย่างหย่อนยาน โดยเฉพาะสินค้าปลอมที่ขนส่งผ่านชายแดนตอนเหนือของสหรัฐ และความวิตกเกี่ยวกับการคุ้มครองไอพีเกี่ยวกับยา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"