ระบบราชการไทย ที่ไม่ทันยุคดิจิทัล


เพิ่มเพื่อน    

 

       ระบบราชการไทยเป็นหัวข้อถกแถลง วิเคราะห์ วิจัยมายาวนาน แต่ไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและยั่งยืน

            ทุกคนบ่น วิพากษ์เรื่องความล้าหลังและคร่ำครึของระบบราชการไทย แต่ไม่ว่าจะตั้งคณะกรรมการกี่ชุด กี่ยุคสมัย หรือมีงานวิจัยกี่ชุดก็ยังมองไม่เห็นโอกาสที่จะแก้ไขอย่างแท้จริงได้

            ปีนี้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI จัดงานสัมมนาประจำปี 5-7 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เน้นประเด็นนี้เพื่อจะหาทางออกให้จงได้

            โดยเน้นว่า "ราชการไทยล้าสมัย ไม่ปรับตัว ชาติถดถอย"

            และได้ข้อสรุปว่าการปฏิรูประบบราชการต้องเริ่มที่แก้รัฐธรรมนูญ

            ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI นำเสนอว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ประสิทธิภาพของระบบราชการไทยอยู่ในระดับปานกลาง

            สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ หากปล่อยให้ขีดความสามารถเป็นเช่นนี้ต่อไป ไม่ช้าประเทศจะเดินถอยหลัง

            รัฐมีขีดความสามารถต่ำในหลายด้านสำคัญ อาทิ

            การให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน, แนวทางพัฒนาทักษะแรงงานผ่านระบบศึกษาและการฝึกอบรม, การส่งเสริมเรื่องการวิจัยและพัฒนา และการบริหารเศรษฐกิจเพื่อลดการผูกขาดทางการค้าและความเหลื่อมล้ำ

            โดยรวมแล้วรัฐไทยไม่ได้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าในระดับสูง ซ้ำร้ายยังเป็นที่มาให้ไทยติดอยู่กับ "กับดักรายได้ปานกลาง" มาเป็นเวลานาน

            ท่านบอกว่า "ระบบราชการเสมือน OS (ระบบปฏิบัติการ) ที่ตอบสนองช้า หน่วยความจำน้อย ล้าสมัย สร้างภาระให้ประชาชน"

            ในวิกฤติโควิดเป็นความโชคดีที่รัฐไทยมีขีดความสามารถด้านสาธารณสุขและการบริหารเศรษฐกิจมหภาคสูง ประกอบกับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชน จนทำให้ไทยยังไม่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย

            ดร.สมเกียรติเสนอว่า รัฐบาลต้องหันกลับมาปฏิรูปตนเองอย่างเร่งด่วนใน 4 ด้าน คือ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชน, ปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม มีต้นทุนต่ำ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้, พัฒนาระบบข้อมูล และปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างรัฐกับประชาชน

            และสรุปว่าการปฏิรูปทั้งหมดต้องเริ่มจากการสร้างกติกาบ้านเมือง หรือรัฐธรรมนูญ ให้เกิดรัฐบาลประชาธิปไตยที่ตอบสนองต่อประชาชนและมีขีดความสามารถสูง

            ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ในฐานะประธาน TDRI เปรียบรัฐและระบบราชการเป็นชีวิตคนคนหนึ่ง

            "รัฐก็เปรียบได้เหมือนสมองที่คอยคิดและสั่งให้ระบบราชการที่เหมือนกับร่างกายเคลื่อนที่ไปตามที่สมองกำหนด โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์และความผาสุกให้ประชาชน และโดยธรรมชาติวัยเด็กจะชอบเลียนแบบคนใกล้ตัว..."

            เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มเห็นโลกมากขึ้นย่อมอยากจะหา role model เพื่อสร้าง character

            ขณะเดียวกัน ร่างกายที่เล็ก เพรียว คล่องแคล่ว มีพลัง ย่อมพยายามพาตัวเองไปจนสุดศักยภาพ

            และเมื่อถึงวัยสร้างความมั่นคงและวางรากฐานชีวิต ก็เริ่มตระหนักว่าชีวิตมีหลายอย่างให้เราต้อง  trade off ตลอดเวลา character ที่เราเคยสร้างไว้ย่อมปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม

            "แต่ถ้าสมองเราคิดแต่หาผลประโยชน์ระยะสั้น โดยไม่คิดถึงการดูแลร่างกาย ไม่ว่าจะใช้ร่างกายเกินจำเป็น หรือปล่อยให้ร่างกายใหญ่โตโดยไม่พยายามให้ลดน้ำหนัก ก็อาจทำให้ร่างกายทรุดโทรมเกินกว่าจะขับเคลื่อนอะไรได้ แถมยังเป็นตัวถ่วงระบบอื่นๆ ให้หยุดชะงักด้วย..."

            ดร.ประสารวาดภาพได้ชัดว่า ระบบราชการที่โตขึ้นตลอดโดยไม่มีคุณภาพ และไม่ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ย่อมจะต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ นั้นย่อมอยู่ได้ยากขึ้น

            "ในสายตานักรัฐศาสตร์หลายท่านยังเห็นว่า โครงสร้างระบบราชการยังคงเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จนทำให้ระบบที่เคยเป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอดีตกลับตกเป็นผู้ต้องหา ว่าเป็นตัวเหนี่ยวรั้งศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในวันนี้..."

            ดร.ประสารจึงชวนให้ตั้งคำถามว่า ระบบราชการผิดพลาดตรงไหน "What went wrong."

            และประเมิน "ความท้าทายในระยะต่อไป"

            ท้ายที่สุดจะต้องปรับบทบาทของรัฐและระบบราชการไทยเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายในวันข้างหน้า

            ซึ่งจะได้ว่ากันต่อไป.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"