โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ โมเดลต้นแบบพัฒนาความสมดุลของแหล่งอาหารเตรียมพาช้างคืนสู่ป่า


เพิ่มเพื่อน    

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงเปิดการประชุมโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 62.

ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงระหว่างคนและช้างป่าที่เข้ามาบุกรุกพื้นที่ชุมชนปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งตามสื่อต่างๆ อันเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับคนในชุมชน ทั้งด้านความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพราะช้างป่าบุกรุกเข้ามาทำลายทรัพย์สินพืชผักผลไม้จนไม่สามารถเข้าไปทำกินได้ หรือบางรายก็ถูกช้างป่าทำร้ายจนสูญเสียชีวิต ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการใช้วิธีไล่ช้างแบบผิดๆจนทำให้ช้างป่าเกิดอาการตกใจและเข้าทำร้ายผู้คนในที่สุด และอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ช้างต้องออกจากป่ามาหากินในชุมชนคือสภาพป่าไม้ที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ขาดแหล่งอาหารที่เพียงพอในการหล่อเลี้ยงชีวิต

ครั้นภาพความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรทราบยังฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างคนและช้างป่าให้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับ “โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์”ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงรับเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการฯ กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นประธานคณะกรรมการฯ ด้วยทรงมีพระบรมราโชบายในการอนุรักษ์ป่าและช้างรวมทั้งการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง ตลอดจนทรงมีพระราชปณิธานในการ สืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการจัดการความขัดแย้งของคนกับช้างป่า และการอนุรักษ์ช้างไทยซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน

 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จฯไปทอดพระเนตรการดำเนินการจัดหาพัฒนาแหล่งอาหารแหล่งน้ำของช้างป่า

หนึ่งในภารกิจสำคัญของ “โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์”อันเป็นโครงการป่ารอยต่อ5จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทรบุรี และสระแก้ว คือการฟื้นฟูแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ ให้เพียงพอในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อนำช้างกลับเข้าสู่ป่ารอยต่อ5จังหวัด อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว  อุทยาแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น อุทยานแห่งชาติเขาคิฌชกูฏ และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง  โดยใช้ความร่วมแรงรวมใจกันของทุกฝ่ายในการนำช้างกลับเข้าสู่ป่า ไม่ว่าจะเป็นชุมชน จิตอาสา และหน่วยงานทีเกี่ยวข้องในการเข้ามาช่วยกันฟื้นฟูพัฒนาแหล่งอาหารของช้างให้มีความอุดมสมบูรณ์

ตลอดระยะเวลา1ปีที่ผ่านมาของการก่อตั้งโครงการ “พัชรสุธาคชานุรักษ์” ทุกภาคส่วนต่างร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาแหล่งอาหารของช้างให้อุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นจุดพักให้ช้างได้อาศัยไม่เข้าไปสร้างความเสียหายยังพื้นที่การเกษตรและที่พักอาศัยของชาวบ้าน 

ภารกิจแรกของการดำเนินการช่วยเหลือสัตว์ป่าโดยเฉพาะช้างให้กลับคืนสู่ป่าให้ได้มากที่สุดคือการสร้างแหล่งน้ำและแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า โดยเริ่มดำเนินการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง จัดทำแหล่งน้ำ 4 แห่ง ฝายชะลอน้ำ7แห่ง โป่งเทียม 73 โป่ง ปรับปรุงทุ่งหญ้า 20 ไร่ เพื่อเพาะชำกล้าไม้ที่เป็นพืชอาหารช้างจำนวนกว่า 6,000 กล้า ซึ่งได้มีการทดลองปลูกหญ้าที่ช้างชอบอย่างเช่น หญ้ารูซี่ หญ้ากินนีสีม่วง และหญ้าเนเปียร์ โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในฐานะองค์ประธานคณะกรรมการฯ เสด็จฯมาทรงหว่านหญ้าและทำโป่งเทียมในแปลงทดลองปลูกพืชช้างป่าในพื้นที่ดำเนินการจัดทำทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำเพื่อเป็นอาหารสำหรับสัตว์ป่าและช้างป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง

แหล่งน้ำที่พัฒนาสร้างขึ้นมาเพื่อให้ช้างป่าและสัตว์ป่าได้พักกิน

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมอีกหลายแห่งเพื่อใช้ในการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งอาหารของช้าง อาทิ การจัดทำแปลงหญ้า 250 ไร่ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน แต่เดิมประสบปัญหาวัชพืชหลายชนิดคลุมพื้นที่ ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการเนรมิตทุ่งหญ้ารกร้างจำนวน 250 ไร่ให้กลายเป็นแหล่งอาหารของช้างและสัตว์ป่าได้นั้น เกิดมาจากความร่วมแรงร่วมใจกันของทุกภาคส่วนทั้งจิตอาสา ชาวบ้านในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนกว่า 800 คนเข้าพื้นที่มาช่วยกันขุดรากถอนรากเหง้าทั้งด้วยเครื่องจักรและสองมือของทุกคน หลังจากขุดรากถอนโคนแล้วจึงลงมือช่วยกันปลูกต้นหญ้ารูซี่ หรือหญ้าธัญญา เป็นหญ้าที่ช้างชอบกิน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนน้อยเนื่องจากความแห้งแล้งและสัตว์กีบเล็มกินไปหมดก่อนจะโตพอให้ช้าง รวมถึงการสร้างโป่งเทียมขึ้นมาใหม่ในจุดที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาโป่งเทียมเดิมที่มีอยู่แล้ว 

เมื่อมีอาหารอันสมบูรณ์แล้วจึงมีการจัดหาพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติมเพื่อให้ช้างในบริเวณอ่างฤาไน ซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับทุ่งหญ้า250 ไร่ให้ช้างได้ลงมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการสร้างฝายที่บริเวณลำห้วยเดิมเพื่อให้มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นผ่านมาแล้ว 1 ปีบนพื้นที่แห่งน้ำพระราชหฤทัยแปลงหญ้าแหล่งน้ำและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ที่ทุกภาคส่วนได้ผสานกำลังช่วยกันอย่างแข็งขันนั้น ได้ชูช่อสร้างความเขียวขจีเป็นแหล่งอาหารของช้างป่าและสัตว์ป่าทั่วไปได้อาศัยเป็นที่พักพิง เปรียบดังน้ำทิพย์รักษาช้างให้แข็งแกร่งยืนยงดุจเพชรที่แท้จริง

นายพรชัย วนัสรุจน์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง เล่าให้ฟังว่าทุกวันนี้แปลงหญ้าเขาชะเมา-เขาวง สามารถลดอัตราประชากรช้างป่าที่จะออกไปหากินในพื้นที่ชุมชนและสวนของชาวบ้านได้จำนวนหนึ่ง เพราะในแปลงหญ้าแห่งนี้มีช้างป่าที่ลงมาหากินจากแก่งหางแมวมาแวะพักอาศัยกินอาหารที่นี้มากถึง16ตัว และใช้เวลาพักอยู่ในบริเวณนี้นานถึง1สัปดาห์ อันเป็นการตรึงไม่ให้ช้างออกไปรบกวนชุมชนและเมื่อช้างมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในป่าแล้วช้างป่าเหล่านี้ก็จะกลับคืนสู่ป่าไปในที่สุด

การพัฒนาแหล่งอาหารของช้างถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง อันนำไปสู่การปรับปรุงพื้นที่ป่าให้มีความเหมาะสมเพื่อให้สัตว์ป่าได้มีแหล่งอาหารและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ และลดความขัดแย้งกับชุมชนทำให้คนในชุมชนและสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"