ผงะ!โกงคนจน ‘ปปท.’ฟันพรึ่บ 41จว.189ราย


เพิ่มเพื่อน    

 

ป.ป.ท.ตั้งอนุฯ ไต่สวนโกงงบคนจน 41 จังหวัด กล่าวหาระดับ ผอ.ศูนย์ฯ 42 ราย จนท. 145 คน รวม 189 ราย ด้าน "ปปป." ส่งสำนวนฮั้วประมูล "รถดูดโคลน" รอบสองถึงมือ ป.ป.ช. พบ "จนท.รัฐ-เอกชน"  เอี่ยว 47 ราย "อ๋อย" เย้ย "บิ๊กตู่" คตช.ท่าดีทีเหลว

    เมื่อวันที่ 27 เม.ย. พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สรุปผลการดำเนินการกรณีทุจริตการเบิกจ่ายงบประมาณของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ท.มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 41 จังหวัด นิคมสร้างตนเอง 1 แห่ง และศูนย์ประสานงานหมู่บ้านสหกรณ์ฯ 1 แห่ง โดยมีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาเป็นข้าราชการระดับ ผอ.ศูนย์คนไร้ที่พึ่ง 42 แห่ง, ระดับ ผอ.นิคมสร้างตนเอง 1 แห่ง, ระดับ ผอ.ศูนย์ประสานงาน 1แห่ง, ระดับเจ้าหน้าที่และผู้สนับสนุน 145 คน รวมทั้งสิ้น 189 คน
    นอกจากนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ท.ยังมีมติให้รับสำนวนคดีไว้ไต่สวนข้อเท็จจริง 8 เรื่อง ประกอบด้วย จ.ยะลา พัทลุง เลย มุกดาหาร สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ดและชลบุรี และอยู่ระหว่างแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการป.ป.ท.อีก 19 จังหวัด คือ สระแก้ว ปทุมธานี ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ยโสธร สมุทรปราการ พังงา นราธิวาส อุดรธานี นครราชสีมา หนองบัวลำภู ลำพูน ตาก อุทัยธานี เพชรบูรณ์ ระยอง และพะเยา
    พล.ต.อ.จรัมพรกล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการพิจารณาตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. การจะพิจารณาว่าจะตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ผู้ใดนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ท.จะพิจารณาถึงพฤติกรรมและการกระทำของบุคคลที่พนักงาน ป.ป.ท.ชุดแสวงหาข้อเท็จจริงเสนอรายชื่อขึ้นมาเป็นรายบุคคลอย่างรอบคอบ ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ หรือนิคมฯ บางคนที่ต้องทำหน้าที่ต่างๆ ตามสายงาน เช่น การสำรวจคุณสมบัติผู้ยากไร้ การตรวจสอบที่อยู่อาศัย การรับรองคุณสมบัติผู้ยากไร้ การจ่ายเงินสงเคราะห์ ฯลฯ ก็จะมีการตรวจสอบซักถามเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.ชุดแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อทราบพฤติการณ์เป็นรายบุคคลอย่างละเอียด ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้ที่จะถูกกล่าวหา อย่างไรก็ตาม แม้บางคนคณะกรรมการฯ ยังไม่มีคำสั่งให้ไต่สวนขณะนี้ แต่หากการแสวงหาข้อเท็จจริงและการรวบรวมพยานหลักฐานต่อมาพบว่าผู้ใดมีส่วนกระทำความผิด ก็จะมีการตั้งอนุกรรมการไต่สวนเพิ่มเติมในภายหลังได้
    ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ต.อ.จักษ์ เพ็งสาธร รองผู้บังคับการกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) นำสำนวนคดีฮั้วประมูลการจัดซื้อรถดูดสิ่งปฏิกูลและฉีดล้างท่อระบายน้ำ (รถดูดโคลน) ขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ล็อตที่ 2 เพิ่มเติมอีก 8 สำนวน มีข้อมูล 31 แฟ้ม ประมาณ 6 หมื่นแผ่น ส่งมอบให้กับ ป.ป.ช. ผ่านนายวราพงษ์ อินต๊ะโมงค์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์เชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ เพื่อให้ ป.ป.ช.ทำการไต่สวนต่อไป
    โดย พ.ต.อ.จักษ์กล่าวว่า สำหรับ 8 สำนวนที่นำไปส่งมอบเป็นของจังหวัดนนทบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี และระยอง รวม 8 จังหวัด รวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมด 65 ล้านบาท โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหา 40 คน มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด 7 บริษัท ประธานกรรมการบริษัท 7 คน และกรรมการบริษัทที่เกี่ยวข้อง 8 คน โดยสำนวนคดีนี้มีจำนวนมาก และเป็นหลักฐานที่ได้จากการตรวจยึดจากบ้านของผู้ถูกกล่าวหา ส่วนที่เหลืออีก 3 สำนวน เป็นกรณีที่เกิดขึ้นใน 2 จังหวัด ทราบว่าจังหวัดเชียงใหม่จะส่งผู้แทนเข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน ปปป.ได้ภายในต้นเดือนหน้า ส่วนจังหวัดศรีสะเกษยังอยู่ระหว่างการหารือเพื่อมอบหมายตัวแทนเข้าร้องทุกข์
    "สำนวนที่ส่งมาหลักฐานเป็นไปตามที่สืบสวนสอบสวน ดำเนินการมาอย่างดีที่สุดตามกรอบเวลา 30 วันที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรายชื่อผู้ถูกกล่าวหาระบุในสำนวนแล้ว แต่การกล่าวหาใครต้องเป็นไปตามกฎหมายอาญา ซึ่งต้องเป็นการไต่สวนตามข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. เชื่อว่าทาง ป.ป.ช.จะเร่งรัดในการตรวจสอบสำนวนทั้งหมด เนื่องจากเป็นเรื่องที่ประชาชนและสังคมให้ความสนใจ เพราะเป็นวาระแห่งชาติ จึงเชื่อว่า ป.ป.ช.จะใช้เวลาไม่นาน" พ.ต.อ.จักษ์กล่าว
     นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ได้ออกมาเปิดเผยกรณีคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ไม่มีการประชุมมาเป็นเวลานานกว่า 8 เดือน กระทั่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความจริงใจต่อการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า คตช.ถูกตั้งขึ้นมาตามคำสั่ง คสช.ที่ 127/2557 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คตช. เป็นประธาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมาก และทำให้ คตช.กลายเป็นองค์กรสูงสุดในเรื่องคอร์รัปชัน ที่กำกับควบคุมองค์กรทั้งหลายทั้งปวง
     ดังนั้นเมื่อ คตช.ที่เต็มไปด้วยบุคคลสำคัญที่มีอำนาจล้นเหลือ แต่กลับอยู่ในสภาพท่าดีทีเหลว ไม่สนใจไยดีที่จะทำหน้าที่ของตน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เรื่องที่เกี่ยวกับการคอร์รัปชันที่ประชาชนยังติดใจอยู่ เหตุใดจึงไม่มีใครทำอะไรจริงจัง ซ้ำร้ายการทำงานก็อยู่ในลักษณะลูบหน้าปะจมูกกันไปหมด
    "บางทีผู้มีอำนาจคงรู้ว่า หากมีการประชุมและทำงานจริงจัง ก็คงหนีไม่พ้นสภาพลูบหน้าปะจมูกเช่นเดียวกับ ป.ป.ช.และองค์กรอื่นๆ เพราะผู้ที่เป็นกรรมการหลายคนกับผู้ที่ต้องถูกตรวจสอบบางคน ถ้าไม่ใช่คนคนเดียวกันก็พวกเดียวกันทั้งนั้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ หากมีการประชุมขึ้นมาแล้ว กรรมการที่เขาไม่เออออห่อหมกด้วยเกิดโวยวายขึ้นมา ก็คงจะยุ่งกันใหญ่" นายจาตุรนต์ กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"