การปฏิบัติภารกิจของกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ ไทย/เซาท์ซูดาน ผลัดที่ 1 ในภารกิจสนับสนุนทางการช่าง นับเป็นกองกำลังทหารไทยที่ไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในต่างประเทศเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด คือ 1 ปี 9 เดือน เพราะเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงต้องชะลอ การสับเปลี่ยนกำลังออกไปหลายเดือน
แม้สถานการณ์ในระยะเริ่มแรกอัตราของผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศซูดานที่มีพรมแดนติดกัน แต่ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายของประชากร รวมไปถึงสุขอนามัย และระบบสาธารณสุขในประเทศ ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวอยู่ในอัตราที่สูงขึ้นตามลำดับ
จากปัญหาความยากจนหลังเกิดสงครามกลางเมืองมาอย่างยาวนาน ทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศไม่เอื้อต่อการควบคุมโรคระบาด แม้ในแอฟริกาจะเคยเจอกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อ “ไวรัสอีโบลา” มาแล้ว และผ่านสถานการณ์นั้นมาได้ จนทำให้เชื้อดังกล่าวกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น แต่สำหรับโควิด-19 แล้ว ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด อีกทั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลเซาท์ซูดานก็ไม่ได้ตรวจคัดกรองคนเข้า-ออกประเทศ
จึงไม่แปลกที่ทหารไทยที่กลับมาในผลัดที่ 1 ชุดแรกพบผู้ติดเชื้อ 32 นาย ระหว่างการกักตัวอยู่ในพื้นที่ควบคุมแห่งรัฐ เนื่องจากกำลังพลที่ออกปฏิบัติหน้าที่นอกแคมป์ในเมืองจูบา โดยตั้งเป็นกองกำลังส่วนแยกที่เมืองรุมเบคส์เพื่อสร้างถนนและสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น
รวมถึงช่วยเหลือการฟื้นฟูประเทศ ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องพบปะกับประชาชนในพื้นที่ แม้จะมีมาตรการในการป้องกันตามมาตรฐานที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กองทัพบก (ผอ.ศบค.ทบ.) ในการลดความเสี่ยง รวมถึงไม่เข้ามาปฏิสัมพันธ์กับกำลังในส่วนที่อยู่ที่กองอำนวยการ แต่เชื้อก็สามารถแพร่มายังทหารไทยได้
สำหรับการป้องกันการแพร่เชื้อหลังจากกลับถึงประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ก่อนเดินทางออกจากเซาท์ซูดาน ต้องได้เข้ารับการกักกัน 14 วัน เคลื่อนย้ายโดยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ จำนวน 2 เที่ยวบิน เที่ยวบินที่ 1 จำนวน 180 นาย เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 และเข้ารับการกักกัน ณ สถานที่กักกันของรัฐ
ส่วนเที่ยวบินที่ 2 จำนวน 76 นาย ได้เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองเมื่อเช้าวันที่ 12 ตุลาคม 2563 และเมื่อเดินทางถึงก็ได้เข้ารับการคัดกรองขาเข้าและรับการกักกัน ณ สถานที่กักกันของรัฐ รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐานของกรมควบคุมโรค เมื่อถึงประเทศไทย ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการคัดกรอง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองขาเข้า และส่งตัวเข้ารับการกักกัน ณ สถานที่กักกันของรัฐ และตรวจหาการติดเชื้อในทันที เพื่อคัดแยกกำลังพลที่พบการติดเชื้อไปยังพื้นที่ควบคุมของโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในประเทศ
และ หลังเสร็จสิ้นการกักกัน กำลังพลที่ครบกำหนดการกักกันและไม่พบการติดเชื้อตลอดการตรวจหาเชื้อจากโพรงจมูกและคอ (SWAB) ตามห้วงเวลาที่กำหนด จะถูกส่งตัวกลับหน่วยต้นสังกัดเพื่อรับการกักกันภายในสถานที่กักกันเฉพาะองค์กร
แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงจึงได้มีการผลัดเปลี่ยนกำลังในห้วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2563 โดยเข้ารับการกักกัน ณ สถานที่กักกันตัวในพื้นที่จังหวัด 14 วัน และทำการตรวจยืนยันการปลอดเชื้อโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการ 72 ชั่วโมงก่อนออกเดินทางจากประเทศไทย สำหรับการเคลื่อนย้ายใช้อากาศยานเช่าเหมาลำจำนวน 2 เที่ยวบิน
อย่างไรก็ตาม กำลังพลผลัดที่ 2 ที่ได้เดินทางไปก่อนหน้านี้ในเที่ยวบินแรกจำนวน 180 นาย ออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 และเข้ารับการกักกันตัวในค่ายทหารไทยที่เมืองจูบา 14 วัน ตามมาตรการที่สหประชาชาติกำหนด ปัจจุบันได้เสร็จสิ้นการกักกัน และเริ่มปฏิบัติภารกิจแล้ว ส่วนเที่ยวบินที่ 2 จำนวน 90 นาย ออกเดินทางจากประเทศไทยในวันที่ 11 ตุลาคม 2563 ซึ่งกำลังพลได้ดำเนินการกักกันตนที่โรงแรมนนทบุรีพาเลซเสร็จสิ้นแล้ว และได้รับการตรวจยืนยันการปลอดเชื้อก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง ผลการตรวจ ไม่พบผู้ติดเชื้อ
ทั้งหมดจะเข้ารับมอบงานเพื่อปฏิบัติงานในการสร้างเส้นทางต่อจากผลัดแรก และแน่นอนว่าการออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลออกไปย่อมมีความเสี่ยงกว่าผลัดแรก โดยต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากมีการวางแผนร่วมกับกองกำลังชาติอื่นก็จะออกไปตั้งเป็นกองกำลังส่วนแยก ภายใต้มาตรการที่คุมเข้มกว่าเดิม
ซึ่งในอนาคตเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยากว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และความเสี่ยงที่ทหารไทยจะได้รับจะมีมากน้อยแค่ไหน โดยจะมีการประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ หากเห็นว่าสถานการณ์ส่งผลต่อชีวิตของกำลังพลมากเกินไป ก็จะมีการพิจารณานำกำลังพลกลับมา โดยมีการจัดเตรียมแผนอพยพโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำ แต่เที่ยวบินดังกล่าวทางการไทยต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
ทั้งนี้ สหประชาชาติได้มอบเหรียญเกียรติยศให้กองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ ไทย/เซาท์ซูดาน ผลัดที่ 1 ซึ่งถือเป็นหน่วยทหารหน่วยแรกที่ได้รับการประดับเหรียญรักษาสันติภาพ ภายใต้หมายเลข 3 เครื่องพิสูจน์ถึงระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ยาวนานมากกว่าทุกกองกำลังใดๆ ในภารกิจการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ
นอกจากนั้นยังได้รับคำชมเชย และการประเมินผลการดำเนินการได้มาตรฐานยูเอ็น และได้รับคะแนนเป็นที่หนึ่งเหนือกองกำลังชาติอื่นที่ไปปฏิบัติงานร่วมกัน ภายใต้โจทย์และเงื่อนไขที่เพิ่มเติมเข้ามา นั่นก็คือสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ด้วย
ภารกิจที่อยู่ภายใต้ความเสี่ยงเหล่านี้ ยากที่ทหารไทยจะถอนตัวออกมาได้โดยพลการ เมื่อการปฏิบัติเป็นไปตามข้อบัญญัติของสหประชาชาติที่ไทย เพราะนอกจากหมวกยูเอ็นที่สวมอยู่แล้ว ยังต้องแบกเกียรติยศของความเป็นชาติไทยไว้บนบ่าด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |