12 ต.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ต.ค.2563 เวลา 07.00 น. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง เข้ากระทรวงการคลังวันแรก โดยผู้สื่อข่าวสอบถามว่า กังวลเรื่องการเมืองแทรกแซงหรือไม่ เหมือนกรณี นายปรีดี ดาวฉาย อดีต รมว.การคลัง หรือไม่ นายอาคม ระบุว่า “ผมทำงานครับ เรายึดงานเป็นหลัก” เมื่อถามว่าทำงานกับใครก็ได้ใช่หรือไม่ ตอบว่า “ยึดงานเป็นหลักครับ” เมื่อสอบถามว่า จะทำงานได้นานกว่า 27 วันหรือไม่ นายอาคม ยิ้มและหัวเราะให้กับผู้สื่อข่าว
โดย รมว.การคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังเป็นกลไกหนึ่งในเรื่องการดูแลเศรษฐกิจภาพรวม โดยกรณีที่สถาบันต่าง ๆ คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2564จะยังได้รับผลกระทบจากโควิด -19 ทำให้การฟื้นตัวจะต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะต้องทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจของไทยยังเดินหน้าได้ และคลังต้องร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากประเมินว่าผลกระทบจะยาวถึง 1-2 ปี พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านจะเพียงพอหรือไม่ นายอาคม กล่าวว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับภาพรวมเศรษฐกิจของไทยว่าจะฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหน โดยหากกำลังซื้อภายในประเทศ และกำลังซื้อจากต่างประเทศเริ่มฟื้นตัว ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว แต่รวมถึงการส่งออกด้วย จะทำให้ภาระในเรื่องของเงินกู้ลดน้อยลงไป
“จะมีการหารือเรื่อง พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาการเบิกจ่ายงบในส่วนเงินกู้ อาจจะได้รับเสียงบ่นกันว่าออกมาช้า ตรงนี้ต้องดูว่าจะติดขัดอะไร และจะต้องแก้ไขอย่างไร” นายอาคม กล่าว
นายอาคม กล่าวอีกว่า เรื่องการเตรียมมาตรการเปิดเศรษฐกิจประเทศ (Re-Opening Economy) ต้องเตรียมการว่าจะแบ่งระยะอย่างไร เช่นเรื่องของการท่องเที่ยว มีการศึกษาไว้แล้ว เพียงแต่ระยะเวลาอาจจะไม่เหมาะสมก็ต้องมาดูเรื่องของวิธีการที่จะกระตุ้นส่วนนี้อย่างไร เพราะการเปิดประเทศ คือ รับการเดินทางของต่างประเทศ ก็คือการมาของนักท่องเที่ยวและรวมถึงเรื่องการประชุมสัมมนาต่าง ๆ ดังนั้นตรงนี้ต้องสร้างความมั่นใจว่าในประเทศปลอดภัย
สำหรับงานสำคัญเร่งด่วน ในฐานะ รมว.การคลัง จะต้องเป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ซึ่งมีศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) คอยกำกับดูแลอยู่แล้ว ก็มี 4 เรื่องที่ต้องดำเนินการ คือ 1.เรื่องระยะเร่งด่วน คือการดูแลภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ จนส่งผลต่อสภาพคล่อง เพราะการใช้จ่ายของภาคเอกชน และภาคประชาชน คิดเป็น 70% ของจีดีพี อีก 20% เป็นส่วนของรัฐ รัฐบาลก็ต้องเข้าไปช่วยดูแลด้วย
2.ผลกระทบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ซึ่งต่อเนื่องมาจากในช่วงที่คุมเข้มเรื่องโควิด-19 ส่งผลให้อัตราการบริโภคยังต่ำอยู่ ดังนั้นต้องมีมาตรการออกมาช่วย ทั้งการกระตุ้นกำลังซื้อภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่เรื่องการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน เพราะฉะนั้นเรื่องกำลังซื้อเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเราต้องอาศัยกำลังซื้อภายในประเทศ อย่าลืมว่าในเรื่องการบริโภคภาคในประเทศคิดเป็น 50% ของจีดีพี โดยเศรษฐกิจขณะนี้ต้องพึ่งพาเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก
3.ผลกระทบภาคการท่องเที่ยว ต้องดูธุรกิจที่เกี่ยวข้องของการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ในมาตรการอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าในบางส่วนนั้นมาตรการที่เข้าไปเสริมสภาพคล่องและเข้าไปแก้ปัญหาให้กับกลุ่มต่าง ๆ อาจจะยังไม่ค่อยออกมาดีเท่าไหร่ ก็ต้องเข้าไปช่วย ศบศ. และได้หารือกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ว่าในเรื่องการขับเคลื่อนหรือการเร่งรัดแก้ไขข้อติดขัดในส่วนนี้ จะต้องรีบดำเนินการ
และ 4.ภาครัฐ คิดเป็น 20% ของจีดีพี โดยหลังจากนี้การใช้จ่ายภาครัฐต้องต่อเนื่อง โดยคลังจะดูเรื่องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และเรื่องล้างท่อ เงินค้างท่อต่าง ๆ เพื่อให้กระแสเม็ดเงินออกสู่ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งดูแลกระแสเงินสดภาครัฐ เพื่อให้มีเพียงพอ ซึ่งขณะนี้มีเพียงพออยู่แล้ว แต่ต้องดูแลให้ทั่วถึง ขณะที่การเบิกจ่ายเม็ดเงินต่าง ๆ ให้ไปสู่ประชาชน
“จริง ๆ แล้วมาตรการที่ ศบศ. ออกมาดูแลครบเกือบทั้งหมด เพียงแต่ว่าในบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ท่องเที่ยว ที่เตรียมจะทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยว แต่ยังต้องชะลอไปก่อน ดังนั้นก็ต้องมีมาตรการเข้าไปดูแลตั้งแต่ซับพลายเชนภาคท่องเที่ยว เริ่มมาตั้งแต่ระดับล่าง ชาวบ้านที่เป็นซับพลายเออร์ให้กับโรงแรมต่าง ๆ กิจการโรงแรม กิจการภัตตาคารและแหล่งท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหมดต้องดูแลทั้งหมด” นายอาคม กล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมการบินที่นำนักท่องเที่ยวเข้ามานั้น ล่าสุด ศบศ. ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปดูว่าจะเข้าไปช่วยเหลืออย่างไร โดยเฉพาะเรื่องสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ที่ผู้ประกอบการขอมา โดยสภาพัฒน์ และ ธปท.ต้องไปดูในรายละเอียดในส่วนของหนี้ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นหนี้ที่มาจากผลประกอบการ หรือว่ามาจากเรื่องโควิด-19 ให้ชัดเจน ที่ผ่านมามีการคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ในระดับหน่วยงาน
สำหรับเรื่องเงินบาทแข็งค่า เป็นปัญหาโลกแตก วนกลับมา ทุกอย่างต้องติดตามสถานการณ์ โดยทาง ธปท. ดูแลอยู่ เป็นหน้าที่ของ ธปท. ส่วนมาตรการพักหนี้ที่จะหมด 22 ต.ค. นี้ มีการหารือกันอยู่ โดย ศบศ. มอบหมายให้ ธปท. และ สศช.ดูแล ต้องรอดูผล เพราะเรื่องนี้ สศช.เป็นประธาน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |