ถอดบทเรียนดูแลผู้สูงอายุช่วงโควิด-19 พัฒนา ‘เกษียณคลาส’ ห้องเรียนสร้างสุขภาวะ


เพิ่มเพื่อน    

 

สสส. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ถอดบทเรียนดูแลผู้สูงอายุช่วงโควิด-19 ต่างชาติเน้น “บิ๊กดาต้า-เทคโนโลยี-ดูแลตัวเองให้แข็งแรง” ไทยเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์ใน พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ ด้าน พม.ถอดบทเรียน พบความช่วยเหลือตกหล่นไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 1 ใน 3 เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ กลุ่มสูงวัยเสี่ยงตกงานสูง สสส.พลิกวิกฤติ พัฒนา “เกษียณคลาส” มสธ. ห้องเรียนออนไลน์สร้างสุขภาวะที่ดี  โอนหน่วยกิตเรียนรับปริญญาได้ วงร็อกเบเนตตี้สูงวัยของไทยดังข้ามฟ้าที่สิงคโปร์ นำเสนอชีวิตวิถีใหม่

 

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย จัดเวทีอภิปราย “การดูแลผู้สูงอายุสูงอายุในช่วงวิกฤต...บทเรียนจากไทยและต่างประเทศเพื่ออนาคต” เนื่องในวันผู้สูงอายุสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ต.ค.ของทุกปี ที่โรงแรมแมนดาริน เมื่อวันที่ 29 กันยายน พร้อมกับนำเสนอบทเรียนจากไทยและต่างประเทศในการดูแลผู้สูงอายุในช่วงวิกฤติ

 

 

จินตนา จันทร์บำรุง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานคณะทำงานถอดบทเรียนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กล่าวถึงผลกระทบของโควิด-19 ต่อผู้สูงอายุไทยว่า ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบในหลายด้าน เช่น การดูแลตัวเอง การซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค การเดินทางไปสถานที่ต่างๆ รวมถึงการเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วย มีผู้สูงอายุที่ว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.9 เป็นร้อยละ 6.6 ซึ่งกลุ่มที่ตกงานมากที่สุดคือ กลุ่มรับจ้างทั่วไป สำหรับความช่วยเหลือและสวัสดิการรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อมาช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบหลายมาตรการ ซึ่งบางมาตรการก็ได้ผลดี ตรงเป้าหมาย บางมาตรการก็ยังตกหล่นไม่ถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่ควรได้รับความช่วยเหลือ

 

เปรียบเทียบก่อนโควิดและหลังโควิดในกลุ่มอาชีพต่างๆ

                                                      (ก่อนโควิด)           (หลังโควิด)

ข้าราชการบำนาญ                                     16.9       16.9

ไม่ได้ทำงาน (ทำงานบ้าน ชรา ป่วย)               34.6       34.6

ประกอบธุรกิจ                                         18.0       19.1

พนักงานลูกจ้างเอกชน                              17.6       16.2

รับจ้างทำงานทั่วไปไม่ใช่งานประจำ.               9.6         6.6

ว่างงาน/ไม่มีงานทำ/ตกงาน.                        2.9         6.6

 

โดยมาตรการที่เฉพาะเจาะจงในการช่วยผู้สูงอายุประกอบด้วย เงินให้เปล่าเพิ่มขึ้น จากกรมกิจการผู้สูงอายุ คนละ 50 หรือ 100 บาท ซึ่งแม้เป้าหมายถูกตัวเพราะเป็นผู้สูงอายุ แต่งบประมาณที่ใช้ก็น้อยมาก คือเพียง 689 ล้านบาท, การพักชำระหนี้ระยะเวลา 1 ปีสำหรับลูกหนี้กองทุนผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุทุกคน ครอบคลุมผู้สูงอายุเพียง 4.1 หมื่นราย, การจ่ายเงิน 3,000 บาทครั้งเดียวให้กับผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เพราะเป็นการอุดช่องโหว่ของการตกหล่นในโครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตั้งเป้าหมายจำนวนนักบริบาลอาชีพ 15,548 คน กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ แต่มีข้อจำกัดที่ยังอยู่ในระดับนโยบาย ยังไม่เห็นผลเด่นชัดในทางปฏิบัติ

 

ขณะนี้ผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือบางอย่างได้กรณีเงินเยียวยาโครงการเราไม่ทิ้งกัน เนื่องจากต้องใช้การกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุไม่คุ้นเคย รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตโดยตรงของผู้สูงอายุเป็นหลัก การเปิดให้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุ ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ควรจะหางานที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยที่ยังต้องการทำงานอยู่ด้วย

 

 

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ช่วงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทย สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะการให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ ทั้งพัฒนาสื่อความรู้เฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานข้ามชาติ ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์

 

 

“สสส.ขอขอบคุณ ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการในช่วงที่เกิดโควิด เกิดการชุลมุนทุกหน่วยงานหาความรู้ กำหนดทิศทางการปรับตัว เพื่อให้ภารกิจไปต่อได้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ท่ามกลางความไม่รู้ งานวิชาการ สสส.ประเมินภาพรวม สภาพัฒน์ฯ ทีดีอาร์ไอประเมินวิกฤติกลุ่มเปราะบาง ความรุนแรงจากสถานการณ์โควิด สสส.เห็นความจำเป็นในการหนุนเสริม platform worker การสร้างหลักประกันในการดำเนินชีวิต”

 

มอเตอร์ไซค์รับจ้างรับส่งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้จำเป็นตามบ้านเรือน เมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่ได้รับการคุ้มครองจากนายจ้าง สวัสดิการลำบากในคนกลุ่มนี้ ผู้สูงอายุค่อนข้างกังวลในช่วงเริ่มแรกของการเกิดโควิด เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนหนึ่งอยู่ตามลำพัง บางครั้งก็อยู่เพียงคนเดียวเพราะลูกหลานก็ลำบาก ต้องทำมาหากิน รายได้ลดลง ยิ่งบางรายตกงาน โอกาสที่จะประคับประคองพ่อแม่ก็เป็นเรื่องลำบาก รายได้ผู้สูงอายุต่ำกว่าเส้นความยากจน เกิดความกังวลใจ จึงมีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุผ่านชมรมโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมกลุ่มเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล  การใช้ smart Phone เป็นช่องทางให้ อบต.เข้าถึงเทคโนโลยี ในช่วงนั้นมีคำถามว่าจะทำอย่างไรดี การขอความช่วยเหลือ ศึกษาทางรอดทางเลือกในต่างประเทศว่ามีวิธีการทำอย่างไรบ้าง บางเรื่องก็นำมาปรับใช้ในเมืองไทย แนวทางบางอย่างเป็นประโยชน์ เรามีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบไทยๆ ด้วยทิศทางการออกแบบมีกิจกรรมทางสังคม

 

สสส.ใช้แนวทางสงเคราะห์แบบบูรณาการ ให้รู้เท่าทันดิจิทัล สสส.ออกแบบในช่วงวิกฤติตอนต้น ออกแบบสื่อกลางร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข การจัดทำ sticker Poster ไม่ครอบคลุมการออกแบบสื่อเฉพาะ ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียออกแบบย่อยด้านแรงงานข้ามชาติ กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ แต่ละกลุ่มเลือกใช้สติกเกอร์ให้สอดคล้องกับตัวเอง กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ให้ความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนด้วยการประสานความร่วมมือกับผู้รับด้วย

 

ขณะนี้ได้มีการจัดทำสื่อภาษาถิ่นและภาษาแรงงานข้ามชาติกว่า 10 ภาษา รวมถึงสนับสนุนการศึกษาข้อมูลทางวิชาการและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย รองรับวิกฤติสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะและผู้สูงอายุ เช่น การเรียนผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบห้องเรียนผู้สูงอายุออนไลน์ การทำกิจกรรมกลุ่มออนไลน์

 

การพัฒนาระบบ E-learning สำหรับผู้สูงอายุ โดยร่วมกับ Young Happy พัฒนา “เกษียณคลาส” ให้เป็นห้องเรียนออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการมีสุขภาวะที่ดี ผลิตความรู้ที่เหมาะสมกับ   ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงเทคโนโลยี ปรับตัวในการรับทราบข้อมูลที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยด้วย นับตั้งแต่การออกกำลังกาย เพลงที่เหมาะสมกับวัย ขณะนี้ประเทศสิงคโปร์ให้ความสนใจวงร็อกเบเนตตี้ (หัวใจยังเฟี้ยว ที่รวมตัวนักดนตรีผู้สูงวัยรวมอายุกันแล้วเกือบ 500 ปี) นำเสนอชีวิตวิถีใหม่ที่ทุกคนปรับตัว

 

และร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พัฒนาหลักสูตรเตรียมพร้อมและสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะ “ผู้สูงวัยดิจิทัล” ในระบบออนไลน์ โดยเริ่มให้ทดลองใช้งานได้ในช่วงปลายปี 2563 ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่พัฒนาช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข แม้จะต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาด หรือสถานการณ์วิกฤติในอนาคต เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 

มสธ.ช่วยเหลือด้วยการโอนหน่วยกิตวิชาพื้นฐานมาเทียบเคียงกับวิชาอื่น เมื่อผู้สูงวัยอยากเรียนต่อเพื่อรับประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร วุฒิบัตรรับรอง เลือกเรียนทางออนไลน์ในวิชาที่ผู้สูงอายุสนใจ การดูแลสุขภาพ กิจกรรมทางกาย นำความรู้ที่กรมอนามัยมารวมอยู่ในกลุ่ม young happy ช่วยกันผลิตความรู้ที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย ตัดเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ ให้เหมาะสมกับผู้สูงวัยได้เรียนรู้

 

บทเรียนจากต่างประเทศในการดูแลผู้สูงอายุในช่วงวิกฤติโรคระบาด

 

ผลการวิจัยเรื่อง “การจัดบริการสังคมทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุในสถานการณ์วิกฤต : กรณีศึกษาช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19” โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากการสืบค้นข้อมูลการดำเนินงานในศูนย์บริการกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ และบริการสังคมทางเลือกช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในต่างประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อิตาลี แคนาดา ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ พบว่าในสหรัฐและญี่ปุ่นปิดศูนย์ผู้สูงอายุ แต่ยังให้บริการด้านอาหาร ยารักษาโรค และการให้คำปรึกษา

 

กรมผู้สูงอายุออกข้อแนะนำในการปฏิบัติงานแก่ผู้สูงอายุ บริการผ่านเครื่องมือดิจิทัล จัดหาอุปกรณ์ป้องกันไวรัส (กองทุนต่างๆ) สภาผู้สูงอายุแห่งชาติอเมริกัน (NCOA) ออกแนวปฏิบัติการเปิดบริการทั้งสถานที่ วิธีการ บุคลากร เงื่อนไขในการเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุ ศูนย์ฯ เปิดกิจกรรมออนไลน์ ศูนย์เสมือนจริง รายการใน you tube เตรียมผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกให้เข้าถึงระบบดิจิทัล เชื่อมต่ออีเมล โทรศัพท์ facebook เปิดคลินิกดิจิทัล จองสิทธิ์การใช้บริการ จัดเตรียมสถานที่วางอาหารและจุดรับอาหารในชุมชน

 

ทั้งนี้มีข้อแนะนำในการปฏิบัติงานแก่ผู้สูงอายุ ออกแนวปฏิบัติการเปิดบริการ เปิดกิจกรรมออนไลน์ มีรายการใน Youtube และเตรียมให้ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกให้เข้าถึงระบบดิจิทัล รวมถึงการเปิดคลินิกดิจิทัล และพบว่าในสหรัฐเตรียมการเชิงรุกเพื่อช่วยให้บริการมีประสิทธิภาพ โดยศูนย์บริการกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุทุกคนที่เป็นสมาชิก, ก่อนระบาดใหญ่มีการสำรวจปรับปรุงข้อมูลสำคัญ

 

“สำหรับจีนและอิตาลีที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนั้น มีมาตรการเน้นไปที่การบริการสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุ แต่ยังพบว่ามีบทเรียนที่เป็นวิกฤติด้านมนุษยธรรม เช่น ข้อจำกัดของเตียงในโรงพยาบาล ทำให้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะได้รับการรักษา, การจัดบริการโดยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างความยากลำบากในการเข้าถึงบริการ และผู้สูงอายุที่พึ่งพิงตนเองไม่ได้ไม่สามารถเข้าถึงบริการ” ศ.ศศิพัฒน์กล่าว

1) ระบบสวัสดิการของประเทศมีส่วนสำคัญในการกำหนดระบบดูแลผู้สูงอายุในช่วงวิกฤติโรคระบาด ด้วยข้อกำหนดของประเทศในรูป กม.พ.ร.บ.มาตรการ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ รูปแบบสวัสดิการ เป็น welfare state East-Asian Welfare State Work Fare Social Insurance Social Protection ลักษณะบริการ ถ้วนหน้า ไม่ถ้วนหน้า ผู้สูงอายุมี กม.เฉพาะ หรือตามสิทธิประกันสังคม การสงเคราะห์เฉพาะหน้า แต่ในช่วงวิกฤติ บริการของรัฐที่มีอยู่เดิมและ Social Safety Net

2) ศูนย์ปิดแต่บริการไม่ปิด การดำเนินงานของศูนย์กลางวันสำหรับผู้สูงอายุช่วงวิกฤติโรคระบาด การให้ข้อมูลที่เน้นการพึ่งตนเอง ช่วยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น เพื่อให้ผู้สูงอายุดูแลตนเอง (Self Care) อยู่อย่างแข็งแรง (Stay Strong) อยู่อย่างปลอดภัย (Stay Safe)

3) การเตรียมการเชิงรุกช่วยให้บริการมีประสิทธิภาพสูง ประเทศสหรัฐ จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุทุกคนที่เป็นสมาชิก ก่อนการระบาดสำรวจปรับปรุงข้อมูลผู้สูงอายุอยู่กับใคร ความต้องการ ความสามารถในการใช้สื่อต่างๆ ภาวะเจ็บป่วย โทรศัพท์ใช้การได้หรือไม่ มีอุปกรณ์ดิจิทัลอะไรบ้าง การเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต จัดเตรียมสถานที่วางอาหารและจุดรับอาหารในชุมชน

4) การให้ข้อมูลที่เน้นการพึ่งตนเอง ชวนให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น

ประเทศออสเตรเลีย จัดทำคู่มือบริการผู้สูงอายุเป็นเล่ม ลงในเว็บไซต์กรมพัฒนาชุมชน ข้อมูลสายด่วนโควิดแห่งชาติ ข้อมูลบริการดูแลผู้สูงอายุ ข้อมูลสำหรับชาวอะบอริจิน (คลื่นวิทยุ 63 ภาษา) ข้อมูลบริการให้ความช่วยเหลือกลุ่ม LGBT IQ ผู้สูงอายุ ข้อมูลการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค

ประเทศสิงคโปร์ จัดทำข้อแนะนำตัวในที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุโดย National U.Hospital Stay Strong ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ควบคุมภาวะโรค คงการติดต่อกับครอบครัว/เพื่อน คงงานอดิเรก Stay Safe การดูแลเท้าและรองเท้าที่เหมาะสม การจัดบ้านให้ปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการรับประทานอาหาร

5) การกระจายงบประมาณเร่งด่วนสู่ระดับชุมชนช่วยให้เกิดบริการที่รวดเร็วตรงกับปัญหา

ประเทศแคนาดา โครงการ New Horizons for Seniors Program (NHSP) เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในระดับชุมชน 1.สนับสนุนทุนระดับชุมชน ด้วยการปรับโครงการที่อนุมัติไปแล้วป้องกันแก้ไขปัญหาโควิด-19 ในผู้สูงอายุจำนวน 2,166 โครงการ จัดหาอุปกรณ์หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ให้ผู้สูงอายุ เน้นกิจกรรมที่สร้างสัมพันธ์ครอบครัวชุมชน การจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล ช่วยผู้สูงอายุออกไปพบแพทย์ จ้างพนักงานปฏิบัติงานแทนอาสาสมัคร ให้ข้อมูลดูแลตนเองแก่ผู้สูงอายุ 

รัฐบาลเพิ่มทุนเข้าไปในโครงการอีก 20 ล้าน CAD ติดต่อกับองค์กรที่เคยรับทุนให้ช่วยดำเนินการ เพิ่มชนิดกิจกรรมที่ควรดำเนินงานด้วยการป้องกันผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง/สุขภาพจิต เพิ่มศักยภาพการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเสมือนจริง อบรมผู้สูงอายุเตรียมการใช้ชีวิตหลังคลายล็อกดาวน์ 2.สนับสนุนทุนระดับประเทศ

6) การทำงานแบบบูรณาการสร้างกระจายบริการอย่างทั่วถึง

ประเทศออสเตรเลียมีการเชื่อมโยง (เชิงคลินิก) องค์กรบรรเทาทุกข์ หน่วยงานท้องถิ่นสิทธิ์ของผู้รับบริการ ร้านค้าต่างๆ ธุรกิจค้าปลีก ธนาคารต่างๆ บริการช็อปปิ้ง เดลิเวอรี จัดส่งสินค้าถึงผู้เปราะบาง (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ส่งพัสดุ ส่งยา ส่งอาหาร แกะและเก็บสินค้าเข้าที่

ประเทศแคนาดา ประสานงาน (เชิงองค์กร) กระจายบริการถึงชุมชนดำเนินงานโดยองค์กรในชุมชนที่หลากหลาย

ประเทศสหรัฐ บูรณาการเชิงระบบ โครงการบริการอาหารในอเมริกาให้กับผู้รับจำนวน 57.1 ล้านคน บ.feeding America บ.Food Bank บ.Meal On Wheels ด้วยการแบ่งปันข้อมูล แบ่งปันทรัพยากรและวัสดุ จัดระบบกระจายอาหาร จัดการภายใต้องค์กรเดียวกัน

7) การเสริมสร้างทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการได้โดยง่าย ด้วยบทเรียนจากผู้สูงอายุส่วนมากมีทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต-อุปกรณ์ดิจิทัลค่อนข้างน้อย การเพิ่มทักษะในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลจึงมีความจำเป็น

ประเทศสิงคโปร์ IMDA สิงคโปร์ NLB และ Mediacorp CPF Board พัฒนาความรู้ทักษะการใช้งานดิจทัลแก่ผู้สูงอายุ สร้างหลักสูตรปรับเนื้อหาการสอนใหม่ ด้วยการพัฒนารายการโชว์ทางทีวี “เรียนรู้ร่วมกัน” สอนการใช้โปรแกรมต่างๆ จัดเป็นซีรีส์ 8 ตอน เชิญดาราอาวุโสรุ่นเดียวกับผู้สูงวัยเป็นพิธีกร คอร์สพัฒนาทักษะดิจิทัลเนื้อหาสั้นๆ 40 ตอน สอนทีละขั้นตอน สัปดาห์ละ 2 วัน ผู้สูงอายุสามารถสอบถามหลังรายการได้ เปิดคลินิกดิจิทัลออนไลน์ ให้คำปรึกษาเป็นภาษาอังกฤษ มาเลย์ แมนดาริน ทามิล

ประเทศออสเตรเลีย ให้ยืมแท็บเล็ตและอุปกรณ์อื่นๆ สร้างแพลตฟอร์ม รายการหลากหลาย กลุ่มเป้าหมายหลากหลาย การแบ่งปันดิจิทัล เข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีอุปกรณ์ เพิ่มทักษะ เพิ่มรายการ สำหรับผู้มีรายได้ต่ำใช้ฟรี จัดหาให้แก่ผู้มีรายได้ต่ำ

8) ภาวการณ์ตายและมาตรการปิดเมืองสร้างปัญหาสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ความเหงา การเสียชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน สร้างความหดหู่ใจและสิ้นหวังแก่ผู้สูงอายุที่ยังมีชีวิตอยู่ “ชีวิตของฉันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ยากมากที่จะรับมือกับสิ่งนี้โดยลำพัง”

ประเทศอิตาลีมีสภาท้องถิ่นจัดบริการสายด่วน hotline อาสาสมัครที่เป็นเยาวชนทำหน้าที่ส่งยารักษาโรค เครื่องอุปโภคบริโภค หนุ่มสาวในอพาร์ตเมนต์รับผิดชอบผู้สูงอายุในอาคารที่ตนอาศัยอยู่ มีการนำภาพยนตร์เก่าๆ มาลงออนไลน์ให้ผู้สูงอายุดูฟรีทั้งวัน การกักตัวนาน ครอบครัวไม่สามารถเยี่ยมได้ นำไปสู่ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ

ประเทศจีน กรรมการสุขภาพของจีนจัดบริการด้านสุขภาพจิต อบรมนักจิตวิทยาและผู้ปฏิบัติงาน จัดทำแผนปฏิบัติการบริการสุขภาพจิต จัดทำคู่มือสุขภาพจิตแห่งชาติ  เพิ่มบริการออนไลน์และสายด่วน ออกข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแล

9) วิกฤติด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นจากระบบบริการ ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดของเตียงในโรงพยาบาล ทำให้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับการรักษา การจัดบริการโดยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความยากลำบากในการเข้าถึงบริการ ผู้สูงอายุที่พึ่งพิงตนเองไม่ได้ไม่สามารถเข้าถึงบริการ ผู้ให้บริการ การห้ามเปิดเผยข้อมูลของผู้รับบริการ กระทบต่อสวัสดิภาพผู้ให้บริการ

 

เมื่อได้มองการปฏิบัติจากประเทศต่างๆ แล้ว แนวทางการจัดบริการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในภาวะวิกฤติ โลกเคลื่อนเข้าสู่ยุคนิวนอร์มอล เป็นยุคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อปกป้องตนเองจากภัยคุกคาม และคาดหวังว่าจะกลายเป็นฐานวิถีชีวิตใหม่หรือความประพฤติใหม่ สังคมปกติใหม่ กระแสตีกลับของโลกาภิวัตน์ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การลดขนาดองค์กรและรูปแบบการทำงานแบบใหม่

 

การใช้ชีวิตสังคมปกติใหม่ของผู้สูงอายุ วัยก่อนอายุ 60 ปี สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตและเทคโนโลยีอย่างง่ายดาย อายุ 60 ปีขึ้นไปมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตยุคปกติใหม่ ด้วยวิกฤติด้านมนุษยธรรม ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเงิน ขาดความรู้และอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงทางจิตใจลดลง

 

การจัดบริการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในภาวะวิกฤติ การบริหารจัดการบริการสังคมแบบบูรณาการ 1.ปรับแนวคิดการ  จัดสวัสดิการใหม่ 2.พัฒนาระบบการจัดการในศูนย์บริการกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ 3.เสริมสร้างความรู้ทักษะทางคอมพิวเตอร์แก่ผู้สูงอายุ 4.พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส มองเห็น คิด ทบทวน รื้อสร้างสิ่งใหม่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"