(ภาพยนตร์โฆษณาแม่ซินดี้-ลูกอีเดน)
สธ.ผนึกเนคเทค สสส. เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน สกัดโรคอ้วนในเด็กไทยที่ติดอันดับเร็วที่สุดในโลก บ่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บก่อนเวลาอันควร ดร.สาธิต ปิตุเตชะรมช.สธ. ประธานแถลงข่าวพัฒนาแอป FoodChoice สแกนก่อนกิน นวัตกรรมใหม่เพื่อสุขภาพ เช็กโภชนาการ ช่วยให้ตัดสินใจเลือก ‘ขนม-เครื่องดื่ม’ มีประโยชน์ พิชิตเป้าเด็กไทยไม่อ้วน ไร้ฟันผุ ผจก.สสส.แจง 10 ปี กราฟเด็กไทยอ้วนทั่วหน้า ไม่พบเด็กขาดสารอาหาร สักขีพยานสำคัญงานแถลงข่าว นพ.ปรากรม วุฒิพงศ์ อดีตอธิบดีกรมอนามัย บุคคลตัวอย่างปี 2538 ผู้ผลักดันการบริโภคเกลือไอโอดีนในทุกหมู่บ้านทั่วไทย อ.สนิท แย้มเกสร รองเลขาธิการคณะ กก.การศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาแม่ซินดี้-ลูกชายอีเดน นักเรียนชายหญิงชั้นประถมปีที่ 5 จำนวน 20 คน จาก รร.อนุบาลนนทบุรีเข้าร่วมกิจกรรม FoodChoice
(เด็กนักเรียน รร.อนุบาลนนทบุรี)
สถานการณ์โรคอ้วนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กไทยติดอันดับเพิ่มจำนวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก เพราะการบริโภคอาหารกินจุบกินจิบ เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ขนมหวาน น้ำอัดลม มีอาหารสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โรค NCDs โรคอ้วน โรคเบาหวาน ดังนั้นประชาชนจำเป็นต้องมีความรู้ที่ถูกต้องอย่างเพียงพอเกี่ยวกับรายละเอียดของชนิดและปริมาณสารอาหารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เพื่อใช้ในการตัดสินใจเรื่องการรับประทานหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ถือเป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลสุขภาพในเบื้องต้น
ความรู้ทางด้านโภชนาการที่แสดงอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในรูปแบบของฉลากโภชนาการ แต่ปัจจุบันนับว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากประสบปัญหาการดูฉลากโภชนาการผลิตภัณฑ์ เนื่องจากตัวอักษรเล็ก มีรายละเอียดมาก เมื่อต้องการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ใดๆ จำเป็นต้องใช้เวลานานในการตัดสินใจ ดังนั้น “FoodChoice” แอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เมื่อสแกนบาร์โค้ดจากผลิตภัณฑ์ ข้อมูลฉลากโภชนาการจะถูกแสดงในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ช่วยผู้บริโภคเปรียบเทียบและเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันใช้ในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
(ดร.สาธิต ปิตุเตชะ)
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (คนที่ 1) พร้อมด้วย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย, ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ร่วมแถลงข่าวผลการพัฒนาเครื่องมือให้ความรู้ด้านโภชนาการ (FoodChoice) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยมีสักขีพยานสำคัญในงาน นพ.ปรากรม วุฒิพงศ์ อดีตอธิบดีกรมอนามัย บุคคลตัวอย่างปี 2538 ผู้ผลักดันการบริโภคเกลือไอโอดีนในทุกหมู่บ้านทั่วไทย, อ.สนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะ กก.การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ก.สาธารณสุข กรมอนามัย ศูนย์ NECTEC รร.ในสังกัด สพฐ. สสส.นำเทคโนโลยีมาใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 5,000 รายการ ประชาชนจำเป็นจะต้องมีความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับรายละเอียดของชนิดและปริมาณสารอาหารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกกินอาหารหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ แต่เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีผู้บริโภคจํานวนมากที่ประสบปัญหาการดูฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ เนื่องจากตัวอักษรเล็กและมีรายละเอียดมาก เมื่อต้องการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ใดๆ จำเป็นต้องใช้เวลาในการตัดสินใจนาน
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คิดค้นเครื่องมือเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งเหมาะสำหรับพ่อแม่ที่จะเลือกผลิตภัณฑ์อาหารให้กับเด็ก ให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนตามมา เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทยติดอันดับการเพิ่มจํานวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก โดยในปี 2561 พบเด็กอายุ 6-14 ปี เริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 11.1 และเพิ่มเป็นร้อยละ 11.7 ในปี 2562 นอกจากนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน สำนักทันตสาธารณสุข ปี 2563 พบเด็กอายุ 12 ปี ดื่มน้ำหวานและน้ำอัดลมมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 52 และกินขนมมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 28.9
(พญ.พรรณพิมล วิปุลากร)
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย (ปัจจุบันเป็นอธิบดีกรมสุขภาพจิต) กล่าวว่า แอปพลิเคชัน FoodChoice เมื่อสแกนบาร์โค้ดจากผลิตภัณฑ์ ข้อมูลบนฉลากโภชนาการจะถูกแสดงในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ช่วยผู้บริโภคในการตัดสินใจ เปรียบเทียบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการจำแนกสีของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกบริโภคและกำหนดปริมาณการกินให้เหมาะสม ดังนี้
1) สีเขียว หมายถึง ปริมาณพลังงานหรือสารอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่กําหนด 2) สีเหลือง หมายถึง ปริมาณพลังงานหรือสารอาหารอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 3) สีแดง หมายถึง ปริมาณพลังงานหรือสารอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่สูงเกิน 2 เท่าของเกณฑ์ที่กำหนด และ 4) สีฟ้า หมายถึง ปริมาณโปรตีน แคลเซียม วิตามินบีสอง ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีแต่มีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์มาก ซึ่งหากผู้ใช้งานสแกนบาร์โค้ดบนผลิตภัณฑ์แล้วไม่พบข้อมูล ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพและแชร์รูปภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านหน้าผลิตภัณฑ์ ข้อมูลโภชนาการ ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ และเลข อย. 13 หลัก เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลในแอปพลิเคชันให้ทันสมัยและครบถ้วนอยู่ตลอดเวลา” อธิบดีกรมอนามัยกล่าว
(ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์)
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขณะนี้กราฟเด็กไทยอ้วนขึ้นกันทั่วหน้า ไม่มีปัญหาเด็กขาดอาหารระดับ 2 ระดับ 3 อย่างเมื่อ 10 ปีก่อนแล้ว โจทย์ของเราเด็กอ้วนต่อเนื่องมา 10 ปีแล้ว พ่อแม่ชอบพูดว่าเด็กอ้วนน่ารัก เพราะกลัวลูกไม่ยอมกิน ด้วยความเป็นห่วงลูก โดยภาพรวมแล้วเด็กในเมืองอ้วนกว่าเด็กนอกเมือง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนั่งหน้าจอ การเคลื่อนไหวร่ายกายลดลง การโฆษณาอาหาร ขนมกรุบกรอบด้วยกลยุทธ์การตลาด มีของเล่น ของแถมเพื่อดึงดูด ดังนั้นต้องเสริมความรู้ให้รู้เท่าทันแบบย่อยง่าย เหมือนกับการนำเสนอการแก้ไขปัญหาการจราจร
สสส.สนับสนุนสุขภาพเด็ก ได้ริเริ่มจุดประกายสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ให้เข้าถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปในยุคดิจิทัล สามารถรับรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค เพราะที่ผ่านมาอาหารการกินเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดโรค NCDs ดังนั้นต้องปลูกฝังพฤติกรรมในการกินของเด็กให้คำนึงถึงสุขภาพ เพิ่มความเข้าใจในเรื่องสลากกำกับสินค้า โดยในช่วงปี 2559 ได้นำเครื่องมือให้ความรู้ทางด้านโภชนาการ หรือแอปพลิเคชัน FoodChoice ไปทดสอบการใช้งานในพื้นที่โรงเรียนนำร่องใน 4 ภูมิภาค ภายใต้โครงการโรงเรียนอ่อนหวาน 9 โรง ส่งผลให้เด็กนักเรียนเกิดความรู้และมีความเข้าใจเรื่องโภชนาการมากขึ้นถึงร้อยละ 98 พร้อมทั้งได้นำข้อมูลจากการทดสอบมาใช้พัฒนาและปรับปรุงแอปพลิเคชัน FoodChoice ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
“ในปี 2562 สสส.และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ขยายผลผลักดันให้แอปพลิเคชัน FoodChoice เข้าไปเป็นหนึ่งในนโยบายเสริมสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการของโรงเรียน และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนให้มีความรอบรู้และมีทักษะทางสุขภาพอีกด้วย” ดร.สุปรีดากล่าว
(ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย)
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค-สวทช. กล่าวว่า ด้วยเป้าหมายสำคัญของเนคเทค-สวทช. ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง เพื่อสร้างฐานรากทางเทคโนโลยีให้กับประเทศ เรามีการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและพันธมิตรมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อผลักดันให้เกิดระบบนิเวศของการใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มาก หนึ่งในนั้นคือการสร้าง Big Data Analytics Platform ที่เชื่อมโยงข้อมูลอาหารและโภชนาการ ทั้งในและนอกรั้วโรงเรียนกับสุขภาวะของนักเรียน เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเห็นข้อมูลสนับสนุนของตนเองได้ชัดเจน แอปพลิเคชัน FoodChoice จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทราบสถานการณ์และแนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่วางขายในท้องตลาด และพฤติกรรมการบริโภคได้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลสามารถใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์เชิงลึกนี้วางแผนและกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้อย่างตรงเป้า
(เด็กนักเรียนโหลดแอป FoodChoice)
ขั้นตอนการโหลดแอป FoodChoice ด้วยการเปิดกูเกิล สแกนบาร์โค้ดซองอาหารสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ ก็จะแสดงค่าน้ำตาล โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตให้ปรากฏ ประเมินแคลอรีที่จะได้รับ เพื่อจะได้เลือกบริโภคอย่างเหมาะสมในแต่ละวัน สอดคล้องกับการทำงานของ สสส. เด็กไทยไม่กินหวาน หน่วยงาน NECTEC ดูแลสุขภาพคนไทย เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี บูรณาการร่วมกับหลายกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมอนามัย ในการดูแลโภชนาการในเด็ก ขณะนี้ได้ทำ The School Lunch ในโรงเรียน 5 หมื่นแห่งทั่วทั้งประเทศ จัดสำรับอาหารเพื่อให้ได้โภชนาการเหมาะสมสำหรับสุขภาพเด็ก เพื่อเด็กจะได้นม อาหารที่ส่งผลต่อความสูงในเด็ก โรงเรียนในสังกัดของ สพฐ. รร.ตำรวจตระเวนชายแดน รร.กศน.
(เด็กๆ ยืนดูถุงขนมกรุบกรอบ)
ขณะนี้มีสำรับอาหารมากกว่า 5,000 เมนู มีระบบ AI ปรับสูตร เช่น ต้มจืด ผัดผัก ผัดกะเพรา เพื่อให้เหมาะสมกับ School Lunch อย่างง่ายๆ อีกทั้งการจัดเมนูอาหารให้สอดคล้องกับท้องถิ่นในกรณีที่ขาดแคลนพืชผัก ผลไม้บางอย่าง ด้วยการประยุกต์นำผัก ผลไม้ในท้องถิ่นมาดัดแปลงปรุงเป็นอาหาร
อ.สนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะ กก.การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เด็กแรกเกิด กระทรวงศึกษาธิการเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่เส้นผมจนถึงปลายเท้า กระทรวงสาธารณสุขดูแลทุกกรม กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต ฯลฯ เมื่อ 20 ปีก่อนแรกเริ่มรับราชการ เด็กประสบปัญหาขาดสารอาหาร แต่ปัจจุบันอาหาร Junk food อาหารขยะ ภาวะโภชนาการเกิน เด็กจำนวน 7 ล้านคนในสังกัด รร.สพฐ.มีโทรศัพท์มือถือใช้ 100% จะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ ขยายผลรวดเร็วกว้างขวางในการใช้แอป FoodChoice และนำไปปฏิบัติในการใช้โภชนาการอย่างถูกต้อง
อนึ่ง ในงานนี้มีการเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาแม่ซินดี้และอีเดนบุตรชายในการใช้ FoodChoice สแกนก่อนกินเพื่อสุขภาพ และภายในงานเด็กนักเรียนทั้งหญิงและชายจากโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ชั้นประถมปีที่ 5 จำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัวแอป FoodChoice เพื่อนำไปเผยแพร่ในครั้งนี้ด้วย และยังมีนิทรรศการให้เห็นถึงความสำคัญในการใช้แอป FoodChoice.
พฤติกรรมการกินของวัยรุ่นและเยาวชนผ่านแอป
การกินเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สำคัญ วัยรุ่นและเยาวชนไทยส่วนใหญ่รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ/วัน การเลือกซื้ออาหารสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนไทยเป็นไปตามความชอบ (ร้อยละ 27.7) ความอยากรับประทาน (ร้อยละ 18.8) และรสชาติ (ร้อยละ 18.8) เป็นหลัก มีเพียงร้อยละ 8.1 ที่คำนึงถึงคุณค่าอาหาร การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดจากประเทศตะวันตกมีรสชาติถูกปาก แต่ให้พลังงานและไขมันสูง
ในปี 2560 ร้อยละ 47.8 ของวัยรุ่นและเยาวชนทั่วประเทศรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ในขณะที่พฤติกรรมการกินผัก ผลไม้ในกลุ่มนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 10-14 ปีที่ไม่ถึง 1 ใน 4 ที่บริโภคผัก ผลไม้สดเป็นประจำทุกวัน
ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมต่อระหว่างร้านอาหารและผู้บริโภค แอปพลิเคชันสั่งซื้ออาหารปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มให้เลือกใช้ และหากพิจารณาจากอัตราการเติบโตของตลาดแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าแอปพลิเคชันเหล่านี้ได้รับความนิยม และส่งผลต่อพฤติกรรมการกินของวัยรุ่นและเยาวชนไทยต่อไปในอนาคต คาดการณ์การตลาดปี 2562 สูงถึง 3.3-3.5 หมื่นล้านบาท เวลายอดนิยมในการสั่งอาหาร ช่วงเย็นวันศุกร์และเสาร์
การสั่งซื้ออาหารผ่านแอปเริ่มเป็นที่แพร่หลาย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ เพราะสะดวกสบายให้ผู้บริโภคเข้าถึงร้านที่ต้องใช้เวลาเดินทางนาน รถติด ไม่มีที่จอด แดดร้อน หรือรอคิวนาน เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
ข้อมูลจากหนังสือสุขภาพคนไทย 2563 : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (สปส.) ม.มหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |