ศบค.พบติดเชื้อใหม่ 7 ราย มท.1 ยันยังไม่ลดวันกักตัวนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษ สธ.ย้ำจำเป็นต้องเปิดประเทศ ยกระดับการแพทย์รองรับระบาดรอบ 2 แจงนักธุรกิจไทยติดโควิดจากเมียนมาไม่แพร่เชื้อแน่ ตากผวาเพิ่มคุมเข้มคัดกรองเข้า-ออกชายแดน
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ 7 ราย ในสถานที่กักกันของรัฐ มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,622 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 48 ราย ยอดสะสมของผู้ที่รักษาหายแล้วรวม 3,493 ราย จำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 59 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 124 ราย สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ รายที่ 1 มาจากสหรัฐอเมริกา เป็นเพศชาย สัญชาติอเมริกัน อายุ 61 ปี อาชีพพนักงานในสถานบันเทิง เดินทางถึงไทยวันที่ 19 ก.ย., รายที่ 2 มาจากอินเดีย เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 25 ปี เดินทางถึงไทยวันที่ 25 ก.ย., รายที่ 3 มาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 23 ปี เดินทางถึงไทยวันที่ 25 ก.ย.
รายที่ 4-5 มาจากฮังการี เดินทางถึงไทยวันที่ 1 ต.ค. โดยรายที่ 4 เป็นเพศชายสัญชาติไทย อายุ 52 ปี อาชีพรับจ้าง ส่วนรายที่ 5 เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 45 ปี อาชีพพนักงานนวด รายที่ 6 เดินทางมาจากเนเธอร์แลนด์ เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 34 ปี อาชีพรับจ้าง และรายที่ 7 เดินทางมาจากคูเวต เป็นเพศหญิง สัญชาติคูเวต อายุ 45 ปี เดินทางมาถึงไทยวันที่ 5 ต.ค.
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลนำร่อง? 5? จังหวัด ให้เป็นพื้นที่กักกันตัวของนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษเดินทางเข้ามาในประเทศไทยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เปิด? เพราะเพิ่งประชุมวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงต้องไปคุยในรายละเอียด โดยพื้นที่ต้องพร้อมและมีมาตรการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามา เพื่อประชาชนจะได้ไม่วิตกกังวล พื้นที่ใดจะเปิดรับนักท่องเที่ยวถือวีซ่าพิเศษจะต้องมีความพร้อม? ซึ่งการรับนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษ?ไม่น่ากลัว? เนื่องจากนักท่องเที่ยวเหล่านี้จะต้องกักตัว 14 วันจึงออกไปได้? และยังไม่มีการลดเวลากักตัว เพราะยังเป็นแค่แนวคิดที่จะพิจารณา ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ? โดยเราต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยว่า ขณะนี้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ มากกว่าร้อยละ 80 ไม่มีอาการ ภาครัฐยังคงใช้มาตรการกักตัวผู้เดินทางเป็นเวลา 14 วัน และอยู่ระหว่างทบทวนจำนวนวันกักกันให้เหลือ 10 วัน ตามข้อมูลวิชาการ ทั้งในส่วนผู้ที่เดินทางทางอากาศ และผ่านด่านพรมแดน
จากรายงานของกรมควบคุมโรค ตั้งแต่เริ่มอนุญาตให้มีการเดินทางเข้าประเทศ ถึงวันที่ 8 ต.ค.2563 มีผู้เดินทางเข้าประเทศสะสม 107,770 ราย พบผู้ติดเชื้อ 684 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.63 ของผู้เดินทางเข้าประเทศ โดยทุกคนเข้ารับการกักตัวในสถานกักตัวรูปแบบต่างๆ ดังนี้ สถานกักตัวที่รัฐจัดให้ 55,426 ราย, สถานกักตัวในท้องถิ่น 30,871 ราย, สถานกักตัวที่รัฐกำหนดทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น 18,380 ราย, โรงพยาบาลทางเลือก 917 ราย และสถานกักตัวรูปแบบเฉพาะองค์กร 2,176 ราย
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีนักธุรกิจไทยกลับจากเมียนมาตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในสถานกักกันของรัฐว่า มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการแพร่เชื้อออกมานอกระบบอย่างแน่นอน แต่กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มมาตรการเข้มข้นขึ้น ให้มีการตรวจกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ครบถ้วน ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหากพบมีต่างด้าวในพื้นที่
ทางด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงข้อกังวลของประชาชนเกี่ยวกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทำให้เกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ว่าวันนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะคงตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศไว้ที่ศูนย์รายไว้ตลอดไป เราจำเป็นต้องมีการเปิดประเทศ เข้าใจว่าคงมีความเห็นที่แตกต่าง แต่ทุกคนถ้าเอาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง คือประเทศเดินหน้าไปได้ คนในสังคมอยู่ได้ มีงานทำ ไม่ใช่ว่าไม่มีงานทำ ซึ่งอาจจะทำให้เราเจอเกิดการติดเชื้อบ้างเล็กๆ น้อยๆ หากทุกคนร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกันป้องกันประเทศ จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างสมดุลทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่า สธ.อยากให้ความมั่นใจกับประชาชน วันนี้เรายกระดับทางการแพทย์รองรับตั้งแต่ในเรื่องของการตรวจจับ และการควบคุมป้องกันโรค ต้องบอกว่ารอบแรกที่เราชนะมาได้เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจที่ประชาชนมีให้แพทย์ และแพทย์มีให้กับประชาชน และช่วยกันป้องกันทุกอย่าง เชื่อว่าจะปกป้องประเทศของเราให้สามารถเดินหน้าไปได้อย่างปลอดภัย ประชาชนไปไหนขอให้สวมหน้ากากอนามัย สวมหน้ากากผ้า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องการ์ดสูง อย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมไว้มาก ไม่ได้หมายความว่าอยากให้มีผู้ป่วยมาก แต่อย่างที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ระบุไว้คือการเตรียมทุกอย่างให้พร้อมรับมือ แต่ก็หวังว่าเราจะรอเก้อ
ที่ จ.ตาก พญ.ณัฐกานต์ ชื่นชม หัวหน้างานระบาดวิทยา โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก ได้นำคณะแพทย์และทีมงานออกหน่วยเคลื่อนที่ตั้งจุดตรวจหาเชื้อโควิด ผู้ขับขี่รถยนต์ขนส่งสินค้าเมียนมาทุกคันที่ข้ามมาจากจังหวัดเมียวดี ผ่านด่านพรมแดนถาวรแม่สอดแห่งที่ 2 ติดแนวชายแดนไทย-เมียนมา เพื่อทำงานเชิงรุกร่วมกับทางการเมียนมา ที่ตั้งจุดตรวจรถ/คนเข้าออกฝั่งเมียวดีอย่างเข้มข้น
นายพัชรพล มั่นปาน นายอำเภออุ้มผาง ได้มอบหมายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 347 อำเภออุ้มผาง ออกเดินลาดตระเวนตรวจตามช่องทางชายแดนบริเวณฐานบ้านหนองหลวง ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ติดกับชายแดนไทย-เมียนมา เพื่อป้องกันบุคคลต่างด้าวลักลอบข้ามแดนมายังประเทศไทย ตามมาตรการป้องกันแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีการยกระดับการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มข้น ตลอด 24 ชั่วโมง ภายหลังจากพบนักธุรกิจชายไทย อายุ 54 ปี เดินทางกลับมาจากประเทศเมียนมาแล้วติดโควิด-19.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |