รางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปีนี้มอบให้นักวิจัยหญิงทั้งคู่ ได้แก่ เอมมานูเอล ชาร์พองติแยร์ ชาวฝรั่งเศส และเจนนิเฟอร์ เดาด์นา อเมริกัน จากผลงานการพัฒนาเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรม
แฟ้มภาพ เจนนิเฟอร์ เดาด์นา (ซ้าย) และเอมมานูเอล ชาร์พองติแยร์
ราชบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์สวีเดนประกาศเมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคมว่า ผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้คือ เอมมานูเอล ชาร์พองติแยร์ ชาวฝรั่งเศส วัย 51 ปี และเจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวสหรัฐวัย 56 ปี จากผลงานร่วมกันพัฒนาเทคนิคการปรับแต่งยีนหรือหน่วยทางพันธุกรรมที่เรียกว่า "CRISPR-Cas9 DNA"
คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบลในสาขานี้ระบุว่า ด้วยการใช้เทคนิคนี้ นักวิจัยสามารถเปลี่ยนดีเอ็นเอของสัตว์, พืช และจุลชีพ ด้วยความแม่นยำที่สูงอย่างยิ่ง เทคโนโลยีนี้นับเป็นการปฏิวัติต่อวิทยาศาสตร์ชีวภาพ นำไปสู่การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวิธีการรักษาแบบใหม่ และอาจทำให้ความฝันในการรักษาโรคที่ถ่ายทอดภายในครอบครัวเป็นจริงได้
นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคนเป็นสตรีที่ชนะรางวัลโนเบลสาขานี้คนที่ 6 และ 7 และเป็นครั้งแรกที่รางวัลโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์มอบให้นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้หญิงทั้งสองคน ชาร์พองติแยร์ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการแผนกจุลชีพก่อโรคของสถาบันมักซ์พลังค์ในกรุงเบอร์ลิน ส่วนเดาด์นาเป็นศาสตราจารย์สอนชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |