'อนาคตไทยผ่านพันธุ์สถุล'


เพิ่มเพื่อน    

 

                การเมือง "ภาคสถุล" คณะสามสัส

            นอกจากเป็นเสนียดเมืองแล้ว ยังเป็นตัวถ่วงความเจริญสังคมชาติ

            ดูตามได้ เพื่อ "รู้เขา" แต่อย่าไปหมกมุ่นอยู่กับมัน

            ถ้าหมกมุ่น.........

            จะติดกับดักคณะสามสัสที่ใช้สื่อสารไอทีเป็นอาวุธโยกคลอนสังคมผ่านบทบาท "ใหม่-พันธุ์สถุล" ที่ตอกย้ำย่ำเหยียบสถาบันทุกวันๆ

            เขาหวังให้เป็น "น้ำซึมหิน"!

            ถึงวันนี้ "ซึมไม่เข้า" แต่หินก็เปียก ทำให้เปียกไปเรื่อยๆ นานไป หินก็กร่อน เมื่อกร่อน วันนี้ไม่จบ  ซักวันข้างหน้า ก็ต้องจบ

            ฉะนั้น....

            ถ้าประชาชนติดกับดัก ก็เท่ากับสังคมชาติติด การติด ผลคือ ทำให้การพัฒนาประเทศหยุดอยู่กับที่

            "หยุดอยู่กับที่" คือ "ถอยหลัง"!

            อย่ากระนั้นเลย วันนี้ เรามาเดินไปข้างหน้า ด้วยการคุย เรื่องที่ทำให้เห็นความงอกเงย จากพัฒนาวิทยาการไทย เป็นความภาคภูมิใจในชาติดีกว่า

            คือเมื่อวาน ผมเปิดเพจย้อนดูข่าวสารเก่าๆ พบภาพ-ข่าวเมื่อ ๒๕ กันยา อ่านอีกที อืมมมม..อย่างนี้ ต้องช่วยกันส่งแรงใจ

            คือข่าว...

            "นายอนุทิน ชาญวีรกูล" รองนายกฯ-รมว.สาธารณสุข

            "นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์" รองนายกฯ-รมว.พลังงาน

            เป็นประธาน.....

            พิธีลงนามสัญญาร่วม "พัฒนาโครงการโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง"

            ระหว่าง "องค์การเภสัชกรรม" โดย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม

            และ "บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)" โดยนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ CEO บริษัท ปตท. จำกัด  (มหาชน)

            สรุปหลักใหญ่ ก็คือ

            ไทยกำลังลอกคราบไปสู่สังคม "ศตวรรษใหม่" อย่างน่าตื่นตา-ตื่นใจ เรียกว่า ประเทศไทย "อนาคตใหญ่เบิ้มๆ" แน่นอน

            จากไทย "ผู้ซื้อ-ผู้บริโภค" ตะพึด-ตะพือ

            วันนี้ มุ่งสู่ประเทศ "ผู้ผลิต-ผู้ขาย" เชิงอุตสาหกรรมตลาดโลกยุคใหม่บ้างแล้วอีกแขนงหนึ่ง

            คือ โครงการ EEC รัฐบาลวาง "อุตสาหกรรมอนาคต" ที่เรียก New S-Curve ไว้ ๕ กลุ่ม

            -กลุ่มหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม

            -กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์

            -กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล

            -กลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

            -อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

            ครับ....ก็นี่แหละ

            วันนี้ ปตท.เจ้าแห่งพลังงานเชื้อเพลิงของไทย จับมือกับองค์การเภสัชกรรม เจ้าแห่งการผลิตยาของไทย

            แต่งงาน "ข้ามสายพันธุ์" โดยนำศักยภาพแห่งวิทยาการของแต่ละฝ่ายมาร่วมกัน

            วิจัย-ผลิต มุ่งสู่การสร้างโรงงาน "ผลิตยารักษาโรคมะเร็ง" ขึ้นด้วยกัน

            นอกจากเพื่อไทย-คนไทยแล้ว ยังพัฒนาไปถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ตลาดโลกด้วย

            นายสุพัฒนพงษ์ เจ้าภาพฝ่าย ปตท.บอกว่า ตั้งเข็มเป็นอุตสาหกรรมก้าวหน้า

            เน้น "เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว" (BCG Economy) สู่ระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

            ขอแทรกแป๊บ......

            "BCG โมเดล" เป็นเรื่องใหม่ ที่รุ่นใหม่ประเภทหมกมุ่น อาจจะยังไม่เข้าใจ ต้องขยายความซักนิด

            คือ "โมเดลเศรษฐกิจใหม่" ที่นายกฯ ประยุทธ์ ใช้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศ ในพื้นที่ EEC เพื่อพาประเทศก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางและลดความเหลื่อมล้ำ

            โดยใช้เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อมๆ กัน

            ขับเคลื่อนด้วยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

            นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ CEO ปตท.เสริมเติม ว่า

            โครงการจะตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมวนารมย์ของ ปตท.หรือ "PTT WEcoZi" ที่บ้านฉาง ระยอง

            จะใช้เวลาประมาณ ๑๔ เดือน ในขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้ ในการสร้าง "โรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งขั้นละเอียด" (Detailed Feasibility Study)

            มีแผนก่อสร้างโรงงาน ในปี ๒๕๖๕ เพื่อให้สามารถวิจัยพัฒนาและผลิตยารักษาโรคมะเร็งเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ในปี ๒๕๗๐

            โครงการนี้ อนาคตจะเป็น "ศูนย์กลางอาเซียน" ทั้งด้านยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี

            เพื่อให้ไปถึงจุดหมาย......

            "ประเทศไทย มั่นคง-มั่งคั่ง-ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

            CEO ปตท. "คนรุ่นใหม่" ยังว่า

            "โครงการผลิตยารักษาโรคมะเร็งนี้ เป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ ปตท.ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ตามพันธกิจ Powering Thailand’s Transformation

                เป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ 'ทุกภาคส่วน' "

            จะใช้ศักยภาพความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและด้านการบริหารจัดการโครงการของ ปตท.สนับสนุนสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด

            "นพ.วิฑูรย์" ผอ.องค์การเภสัชกรรม อธิบายด้านวิทยาการทางยาและการผลิตที่เราควรรู้กันไว้ ว่า

            "องค์การเภสัชกรรม" ที่คุ้นกันแต่อดีตว่า "เจ้าตำรับยาชุด" เป็นองค์กรหลักด้านยาและเวชภัณฑ์ของประเทศ

            ได้ดำเนินโครงการพัฒนายารักษาโรคมะเร็งมาตลอด โดยวิจัย-พัฒนา และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตยารักษาโรคมะเร็งชั้นนำของโลก

            ทั้งมีแผนก่อสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยมุ่งเน้นการผลิตยารักษาโรคมะเร็ง

            ทั้งยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) และกลุ่มยารักษาแบบจำเพาะเจาะจง (Targeted Therapy)

            ประกอบด้วยยาชนิดเม็ด ประเภท Tyrosine Kinase Inhibitors (TKIs) เป็นยาชนิด small  molecule แพร่เข้าเซลล์และจับกับเป้าหมายภายในเซลล์ได้โดยตรง

            และยาฉีด "ชีววัตถุ" คล้ายๆ ประเภท Monoclonal antibodies (Biosimilar)

            ส่วนใหญ่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ แต่จะไปจับเป้าหมายที่อยู่ภายนอกเซลล์หรือบนผิวเซลล์

            ด้วยเพราะโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งนี้........

            (๑) ต้องมีมาตรฐานคุณภาพการผลิตเป็นสากล

            (๒) ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัย

            (๓) ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง

            ดังนั้น .....

            "วิทยาการข้ามสายพันธุ์" ระหว่าง อภ. "หมอยา" กระทรวงสาธารณสุข กับ ปตท. "หมอพลังงาน" กระทรวงพลังงาน จึงเกิดเป็นหน่อพันธุ์ใหม่

            "ข้ามศตวรรษ" สู่ "อนาคตใหม่"!

            ศึกษา-วิจัย-พัฒนา-สร้างโรงงาน "ผลิตยารักษาโรคมะเร็ง"

            รองรับการต่อยอด "งานวิจัย" จากห้องปฏิบัติการสู่การผลิตในระดับ "อุตสาหกรรม" เชิงพาณิชย์ ให้ประเทศมีความมั่นคงด้านยาและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

            ทุกวันนี้........

            คนไทยกับมะเร็ง "เหมือนญาติ" ที่ตัดกันไม่ขาด เจอกันแป๊บๆ หายไปพัก อ้าว...ขอเชิญร่วมงานฌาปนกิจซะแล้ว

            ถามว่าเป็นไร?

            ไม่ได้เป็น แต่มะเร็งเขาเป็น!

            รัฐมนตรีอนุทิน ให้ข้อมูลว่า มะเร็งเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุข เป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ ๑ ต่อเนื่องมายาวนาน ๒๐ ปี

            คนไทยกว่า ๘๐,๐๐๐ คน/ปี ต้องตายเพราะมะเร็ง

            ทุกวันนี้ ยารักษามะเร็ง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมูลค่ามากกว่า ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท/ปี
            "ปตท.-อภ." ร่วมกันสร้างโรงงานผลิตยารักษามะเร็งครั้งนี้

            "จะทำให้ประเทศไทยมีโรงงานที่สามารถผลิตยารักษาโรคมะเร็งครอบคลุมการรักษาทุกกลุ่มโรคมะเร็งในปัจจุบัน และในทุกกลุ่มการผลิต

                ทั้งรูปแบบยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคมะเร็งที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย

                ทั้งกลุ่มยารักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง เมื่อผลิตได้สำเร็จ.........

                นอกจากลดภาระการนำเข้าจากต่างประเทศแล้ว จะช่วยลดราคายารักษามะเร็งลงได้มากกว่า ๕๐%

                และยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมยาของไทยทัดเทียมสากล สร้างความมั่นคงทางยา ถือเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน"

                ครับ....
            พอมองเห็นกันแล้วนะ แต่ละวัน พวกสถุลถ่วงชาติ ก็เอาตีนราน้ำไป ส่วนพวกสร้างชาติ ก็ก้มหน้าก้มตาจ้ำไป-พายไป

            ถอยหลังคืบ เดินหน้าศอก ก็ยังดีกว่าหยุดอยู่กับที่ โชคดี หลายๆ องค์กรภาคเอกชน ยังช่วยกันฟันฝ่าบ่าแบก

            อย่าง ปตท.นี่.....

            โควิดไม่เพียงเปลี่ยนทิศโลก ยังเปลี่ยนทิศอุตสาหกรรมพลังงานเชื้อเพลิงตลอดถึงปิโตรเคมี

            ตอนนี้อาจซบ แต่สังเกตจากแตกแขนงสู่เศรษฐกิจอนาคตใหม่หลายๆ ตัว ที่ซบ โอกาสซู่ซ่ากว่าเดิมมีมาก

            ประเทศไทย ดีหมดทุกอย่าง.......

            ถ้าไม่มี "พันธุ์สถุล" สามสัส!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"