หวัง"อาคม"ร่ายมนต์ฟื้นศก


เพิ่มเพื่อน    

 

      ในที่สุดรัฐบาลประยุทธ์ 2/2 ก็ได้ "อารม เติมพิทยาไพสิฐ" มาดำรงตำแหน่ง รมว.การคลัง คนที่ 54 ซึ่งกว่าจะลงตัวว่าต้องเป็น "อาคม" ก็ใช้เวลาพอสมควร โดยล่าสุด "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ออกมาชี้แจงถึงเหตุผลที่เลือก "อาคม" เพราะว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้

                อีกทั้ง "อาคม" ยังเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความรู้ในงานของรัฐบาลเป็นอย่างดี และยังสามารถที่จะทำงานกับฝ่ายการเมืองได้ ส่วนคำถามที่ว่า "อาคม" จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้นได้หรือไม่นั้น "พล.อ.ประยุทธ์" ระบุว่า ต้องดูจากผลงาน ซึ่ง รมว.การคลังไม่สามารถอนุมัติโครงการได้ด้วยตัวเอง ต้องนำเสนอโครงการต่างๆ ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาก่อนตามขั้นตอน ส่วนเรื่องของความเชื่อมั่นนั้น คงอยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคล จึงอยากให้ติดตามจากผลงานจะดีกว่า

                ที่ผ่านมาหลายฝ่ายลงความเห็นตรงกันว่า ตำแหน่ง "รมว.การคลัง" ในยุคที่เศรษฐกิจวิกฤติจากปัจจัยทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอย่างที่เข้าใจกันดีว่าเศรษฐกิจไทยกว่า 70% พึ่งพาภาคการส่งออก ซึ่งอิงกับปัจจัยนอกประเทศเป็นหลัก แต่ที่ผ่านมาภาคการส่งออกประสบปัญหาอย่างมาก เริ่มตั้งแต่เกิดสงครามการค้า จนสืบเนื่องมาถึงภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ก่อนจะมาเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกหยุดชะงัก จากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของหลายๆ ประเทศทั่วโลก

                นอกจากนี้ ที่ผ่านมาไทยมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวอย่างเป็นกอบเป็นกำ ในแต่ละปีจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงระดับ 38-40 ล้านคนต่อปี แต่มาปีนี้เกิดเหตุการณ์ช็อกภาคท่องเที่ยว ไทยปิดประเทศทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาราว 4-5 เดือนแล้ว นั่นทำให้รายได้จากภาคการท่องเที่ยวหายวับไปกับตา แม้ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ เน้นไทยเที่ยวไทย ออกมาตรการต่างๆ มาสนับสนุน ก็คงทำได้เพียงบรรเทา แต่คงชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ไหว

                ไม่เพียงเท่านั้น "กลุ่มเอสเอ็มอี" ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล แม้ว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานจะออกมาตรการด้านสินเชื่อ เงินทุนต่างๆ  มา แต่ก็ดูเหมือนมีเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อยที่เข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือทั้งหมด หลายส่วนยังตกขบวน ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป นี่จึงเป็นอีกภารกิจสำคัญของ "อาคม" ที่ต้องมากอบกู้ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ

                มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น อาจเป็นอาวุธสำคัญในขณะนี้ ที่รัฐบาลและกระทรวงการคลังต้องเร่งผลักดันออกมา แม้หลายฝ่ายจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดแย่ที่สุด คือไตรมาส 2/2563 ที่จีดีพีติดลบสูงถึง 12.2% ไปแล้ว และเชื่อว่าหลังจากนี้สถานการณ์จะค่อยๆ ฟื้นตัวได้ดีขึ้น เพราะรัฐบาลได้คลายล็อกมาตรการต่างๆ ไปถึง 6 รอบแล้ว แต่เอาเข้าจริงๆ การคลายล็อกมาตรการต่างๆ นั้น ยังไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้อย่างเต็มกำลัง

                เมื่อหลายภาคธุรกิจยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องปิดตัวลงหลังมาตรการล็อกดาวน์ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เพียงมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย แต่ยังมีหนี้ที่ต้องแบกรับอยู่เป็นจำนวนมาก สะท้อนจากตัวเลขหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ระดับ 83.8% ต่อจีดีพี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นนี้ ได้สวนทางกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ยังต้องลุ้นการฟื้นตัวแบบวันต่อวัน

            ความคาดหวังของภาคเอกชนในตัว "อาคม" จึงมีอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ที่แรงและเร็ว มีประสิทธิภาพ สร้างประสิทธิผล จึงเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายจับตา เพราะขณะนี้เครื่องยนต์เศรษฐกิจหลายตัวยังกลับมาทำงานไม่ได้ ที่ยังเดินหน้าได้ก็มีแต่ "การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ" เท่านั้น แต่การหวังพึ่งพาภาครัฐอย่างเดียวในสถานการณ์แบบนี้คงไม่พอ การสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มความมั่นใจให้ภาคเอกชนหันกลับมาลงทุน ประชาชนกลับมาใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องสำคัญ.  

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"