6 ต.ค.63 - นายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กว่า วันนี้วันที่ 6 ตุลาคม ทั้งประเทศไทยและประเทศจีนมีเรื่องตรงกันอยู่อย่างหนึ่งคือ แนวความคิดแบบเหมาอิสต์ในสังคมของคนหนุ่มสาวโดนกวาดทิ้งไปจากประเทศ ขณะที่ไทยเองก็เป็นวันที่น่าเศร้าอีกวันที่เรามีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ผมจะไม่พูดถึงเรื่องเหตุการณ์นี้ในเมืองไทย แต่จะข้ามไปพูดเรื่องของจีนแทน เพราะเรากับจีนเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งที่ช่วงเวลานั้นมีการใช้มือของคนหนุ่มสาวและเยาวชนเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพียงแต่ของจีนนั้นสร้างความเสียหายในสังคมยาวนานกว่าเรา รวมแล้วเป็นสิบปี ขณะที่ไทยที่มีเวลาสั้นๆ เพียงสามปีเท่านั้น
ถ้าเหมาอิสต์ยังอยู่ในประเทศจีนผมบอกได้เลยว่าจีนจะไม่มีทางยิ่งใหญ่แบบวันนี้ และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับจีนในยุค แก็งค์ออฟโฟร์ นั้นใหญ่หลวงนักกับนโยบาย ทำลายรากเหง้าของจีน นิสัยเก่า, ความคิดเก่า, ประเพณีเก่า, และวัฒนธรรมเก่า แบบถอนรากถอนโคนที่แม้แต่ประธานเหมาเองก็ไม่คิดว่าจะทำไปไกลถึงขนาดนี้ แต่แก็งค์ออฟโฟร์ของนางเจียงจิงกล้าที่จะทำ
วันที่ 6 ตุลาคม 1976 นั้นคือวันที่จีนล้มแนวคิดเก่าแล้วก้าวไปสู่จีนใหม่ วันนั้น นายเติ้ง เสี่ยวผิง นายหวาง ตง ชิง นายพล เย่ เจิ้น อิง ได้ล้มระบบเหมาอิสต์แปรรูปแปลงร่างที่นางเจียงจิง ภริยาประธานเหมาเอามาเชิดร่วมกับแก็งค์ออฟโฟร์ ตั้งแต่ปลายยุคเหมาโดยใช้เยาวชนเรดการ์ดเป็นมือเท้าโดยเริ่มใช้ความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การใช้มือเยาวชนนั้นเป็นเรื่องง่ายเพราะเด็กพวกนี้ไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยมีอำนาจเหนือผู้ใหญ่ เมื่อไรที่เสพติดอำนาจที่ตัวเองไม่คิดว่าจะมี เด็กพวกนี้ก็พร้อมจะยอมทำทุกอย่าตามแต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่อำนาจบางส่วนอยู่ในมือของแกงค์ออฟโฟร์ของนางเจียงจิงจะบัญชา
เด็กพวกนี้โดนล้างสมองกล้าแม้จะลากแม้กระทั่ง ครู พ่อ แม่ ออกมาประจานในที่ชุมชน ถ้าทำตัวผิดจากนโยบายทำลาย 4 สิ่งเก่า ทำลายวัดและสุสาน ที่เป็นตัวแทนของสิ่งเก่า แม้กระทั่งสุสานของขงจี้อและห้องสมุดของขงจื้อที่อยู่มานับพันปีก็ถูกทำลาย สิ่งเคารพต่างๆ ถูกทุบเผาทิ้ง บัญฑิตในสังคมที่ยึดถือแนวจีนเก่าถูกลากออกมาทำโทษหรือแม้กระทั่งฆ่าทิ้งกลางถนนโดยฝีมือเยาวชน ห้องสมุดเก่าตามวัดที่เก็บหนังสือทางศาสนาอายุย้อนไปเป็นพันปีทั่วประเทศก็ถูกรื้อเอามาเผาทิ้ง เรียกว่าในช่วงเวลานั้นจีนสูญเสียวัตถุทางวัฒนธรรมไปมหาศาล เสียหายไม่ต่างกับห้องสมุดอเล็กซานเดียของอียิปต์โดนเผาในอดีตเลยทีเดียว
ผมเองนั้นรู้ว่าความคิดแนวนี้รุนแรงและอิมแพ็กกับคนหนุ่มสาวเพียงใด เพราะเวลานั้นตัวผมเองก็ยังอินกับความคิดแบบนี้ จะบอกว่าเวลานั้นผมยังอยู่ในกระสวนทางความคิดของคนหนุ่มสาว "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย" และแนวทางของเหมาอิสต์แปลงร่างในยุคนางเจียงจิงนั้นเข้าใจง่าย จับตลาดเยาวชน ดูเป็นรูปธรรมกว่าแนวคิดอื่น จะบอกว่าต่อให้คนโง่ที่สุดอ่านแล้วก็เข้าใจ ซึ่งการเข้าใจง่ายแบบนี้ไม่ใช่เลยกับหนังสือด้านสังคมนิยมและเศรษฐศาสตร์มวลชนที่อ่านยากของ อาดัม สมิธ, ทอมัส มอร์, คาร์ล มาร์กซ์, ฌ็อง-ฌัก รูโซ, ปิแอร์ โจเซฟ ปรูดอง ฯลฯ ที่ผมเองกว่าจะเข้าใจข้อความจากหนังสือพวกนี้ก็อายุเกินสามสิบไปแล้ว
แนวคิดซ้ายจัดนั้นเป็นภัยพอๆ กับขวาจัด บ้านเมืองเราก็เคยผ่านยุคขวาจัดหรือขวาพิฆาตซ้าย "เปรี้ยงๆ คือเสียฟ้าฟาด" ของสถานีวิทยุยานเกราะในช่วงปี 2519 มาแล้ว เวลานั้นผมเองต้องฟัง อุทาน อุทิศ สมัคร สามผู้จัดรายการตัวหลักทุกเย็นเพราะบ้านในซอยจะเปิดดังๆ กันทุกบ้าน และถึงวันนี้ทุกอย่างก็พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า "ขวาจัดนั้นเลวร้ายไม่ต่างกับซ้ายจัด" เพราะแนวคิดทั้งคู่สร้างความเสียหายแก่ชาติรุนแรงและฝังลึกเป็นบาดแผลของชาติไม่ต่างกัน
วันนี้ แนวคิดหลงยุค เก่าและล้าสมัย ได้กลับมาในกล่องใหม่และไหลออกจากปากของนักการเมืองหน้าใหม่ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ อ้างว่ามีความคิดแบบใหม่ อ้างว่าจะสร้างอนาคตใหม่ให้แก่ชาติ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลยแม้แต่น้อย เพราะที่หลุดออกมาจากปากคือวาทะกรรมหลงยุคล้าสมัยไปห้าสิบปีแล้วทั้งนั้น
สิ่งหนึ่งที่ผมหวังเอาไว้ว่าในเวลานี้ที่บ้านเมืองเป็นแบบนี้ กลุ่มขวาจัดที่แนวคิดหลงยุค เก่าและล้าสมัย จะไม่ออกมาขวาพิฆาตซ้าย สร้างความเสียหายบอบช้ำเพิ่มเติมจากที่มีในเวลานี้ให้กับสังคมเหมือนในอดีตอีกครั้ง
ขวาจัด กับ ซ้ายจัด นั้นสร้างความระยำให้กับสังคมพอกันครับ ผมเคยผ่านเหตุการณ์เดือนตุลาทั้งสองครั้งนั้นมาแล้ว ผมอยากจะย้ำเตือนสิ่งนี้อีกครั้ง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |