รฟม.ย้ำปรับเกณฑ์สายสีส้มเป็นธรรมจ่อฟ้องเพ่งกลับทำรัฐเสียหาย


เพิ่มเพื่อน    

 

 

6 ต.ค.63-นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟม.)ชี้แจงกรณีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวิทนวงศ์) ว่า ศาลปกครองกลางนัดไต่สวนคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ฟ้องคดีคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และ รฟม. เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม ในวันที่ 14 ต.ค.63 โดย รฟม. พร้อมชี้แจงทุกประเด็น

“ยืนยันอีกครั้งว่าการดำเนินการปรับปรุงวิธีการประเมินตามมาตรา 36 ที่ออกเอกสารแนบท้าย ไม่มีการดำเนินการส่อไปในทางทุจริต เพราะยังไม่มีการรับซองข้อเสนอ นอกจากนี้ ยังมีการขยายระยะเวลายื่นซองออกไปอีก 45 วัน ทำให้เอกชนทุกรายมีเวลาปรับปรุงข้อเสนอไม่น้อยกว่า 70 วัน และจะมีเวลาปรับปรุงข้อเสนอให้เป็นไปตามการประเมินคุณสมบัติ แต่รายละเอียดอื่น ๆ ไม่มีการปรับปรุง ผู้เข้าร่วมคุณสมบัติโยธาและคุณสมบัติการจัดผู้เดินรถยังเป็นไปตามเดิม”นายภคพงศ์ กล่าว 

อย่างไรในคำขอท้ายคำฟ้องของคดีที่บีทีเอสฟ้อง เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่าขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนมติคณะกรรมการ ม.36 ที่เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ และขยายเวลาการยื่นข้อเสนอ รวมทั้งให้เพิกถอน RFP ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงวิธีการประเมิน ขณะเดียวกันในข้อท้ายคำร้องได้ขอให้ศาลสั่งระงับการคัดเลือกเอกชนไว้ก่อน จนกว่าศาลจะตัดสิน ดังนั้นการที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ระบุว่าหาก รฟม. เป็นผู้แพ้คดี จะเสียค่าโง่ และค่าชดเชยจึงเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 

นายภคพงศ์ กล่าวยอมรับว่าตั้งแต่มีบุคคล และหน่วยงานไปยื่นฟ้องร้อง และยื่นหนังสือตามหน่วยงานต่างๆ ทำให้ รฟม.ได้รับความเสียหาย แต่ในฐานะที่ รฟม. เป็นหน่วยงานรัฐ เรามุ่งดำเนินโครงการ ไม่ได้เน้นค้าความ จึงขอรอดูคำตัดสินของศาลก่อน และจะพิจารณาว่าจะดำเนินคดีทางแพ่งกรณีที่ทำให้ รฟม.ภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย ทำให้สาธารณชนมีข้อสงสัย และต้องเสียเวลามาชี้แจงเรื่องดังกล่าวมากมายหรือไม่ อย่างไรก็ตามสำหรับกรอบเวลาการคัดเลือกเอกชนฯ นั้น ขณะนี้ยังเดินหน้าตามปกติ โดยจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จากนั้นคณะกรรมการ ม.36 จะพิจารณาหลักเกณฑ์รายละเอียดการให้คะแนนด้านเทคนิค และด้านการเงิน โดยสาเหตุที่ต้องมากำหนดหลังจากยื่นข้อเสนอแล้วนั้น เพราะเกรงว่าหากกำหนดหลักเกณฑ์ก่อนจะทำให้ข้อสอบรั่วไหลได้ 

“ไม่ว่าคำสั่งศาลจะออกมาอย่างไร ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่ง รฟม.มั่นใจว่าจะไม่ยืดเยื้อ เนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องต้องเป็นผู้เสียหายจากคำสั่งทางปกครอง แต่เรื่องนี้ผู้ฟ้องยังไม่ได้รับความเสียหาย รฟม.ไม่ได้มีการเพิกถอนสิทธิ์ประมูลใดๆ และการขยายเวลาทำข้อเสนอ 45 วัน ผู้ซื้อซองทุกรายได้สิทธิ์เหมือนกัน”นายภคพงศ์ กล่าว 

นายภคพงศ์ กล่าวว่า การพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดฯ จะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ จากนั้นจะเปิดซอง 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ โดยใช้เวลาในการพิจารณาสัปดาห์ละ 1 ราย คาดว่าภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ จะทราบผลว่าเอกชนรายใดเป็นผู้ผ่านคุณสมบัติบ้าง จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดซอง 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค และซอง 3 ข้อเสนอด้านการเงิน โดยจะเปิดพร้อมกันทั้ง 2 ซอง จะใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือน คาดว่าต้นปี 64 จะสามารถประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ แต่ทั้งนี้หากศาลตัดสินให้ระงับการคัดเลือกไว้ก่อน กรอบเวลาการดำเนินงานต่างๆ ก็ต้องเลื่อนออกไปจากนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"