'พิธา' มอง '6ตุลา' ถูกสร้างสถานการณ์ เป็นบทเรียนรัฐที่จะต้องไม่ทำให้เกิดซ้ำรอย


เพิ่มเพื่อน    

6 ต.ค.63 - ที่ลานประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519 หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นตัวแทนของพรรคก้าวไกล เดินทางมาร่วมวางพวงมาลารำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เเละสดุดีเหล่าวีรชนคนกล้าผู้สละชีวิตต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในนามของพรรคก้าวไกล ขณะที่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ได้ร่วมวางพวงมาลารำลึกเหล่าวีรชน ในนามคณะก้าวหน้าด้วย

นายพิธา กล่าวว่า คงไม่มีเวลาไหนที่เหตุการณ์ 6 ตุลา จะเป็นเครื่องเตือนใจให้กับสังคมได้เท่าเวลานี้ เหตุการณ์นี้มีความสำคัญหลายด้านและสำคัญสำหรับใครหลายคน บางคนจะมองเป็นตำนานการต่อสู้ บางคนอาจเป็นความทรงจำ หรือบางคนมองว่าคือประวัติศาสตร์ คิดว่าถึงเวลาเเล้วที่เราจะต้องเรียนรู้ถึงความอดทนอดกลั้นในสังคม ควรจะเรียนรู้ได้เเล้วว่า ไม่ว่าจะเห็นต่างทางการเมืองอย่างสุดโต่งมากเเค่ไหน ก็ไม่ใช่เป็นข้ออ้างที่รัฐจะก่อความรุนแรงอย่างมีระบบกับประชาชนที่อยู่ในชาติได้ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ถือเป็นบทเรียนที่รัฐจะต้องไม่ทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกโดยเฉพาะในช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมือง ไม่ว่าจะยุคสมัยใด

"จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 14 ตุลา 2516 หรือ 6 ตุลา 2519 และล่าสุด พฤษภา 2553 ดูเหมือนว่ารัฐจะยังไม่ตระหนักถึงบทเรียนในการตอบสนองเจตจำนงค์ของประชาชน โดยเฉพาะใน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมือง แน่นอนว่าต้องมีคนเห็นต่าง แต่ความรุนแรงทุกครั้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 หรือ 6 ตุลา 2519 จนถึงพฤษภาคม 2553 ความรุนแรงจะมาจากผู้มีอำนาจทั้งสิ้น ถ้าได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา และสามารถสร้างความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ( Political tolerence ) ได้ เหตุการณ์ที่เราต้องมากังวลว่ามันจะเกิดขึ้นทุกๆ 10 ปีหรือไม่ ก็จะไม่เกิดขึ้น

ประเด็นที่สอง ในเรื่องของสถิติของสิ่งที่เกิดขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิต 6 ตุลา 2519 เท่าที่เราพอที่จะหาได้คือ 45 คน นี่เป็นตัวเลขทางการ มูลนิธิอื่นตัวเลขก็จะต่างกันไป คนบาดเจ็บ 145 เราก็ยังคงหาได้ แต่ตัวเลขที่สังคมไทยไม่เคยหาได้เลยคือ ผู้ยิง หรือผู้ใช้อาวุธ ไม่มีการได้รับผิดจากสถานการณ์นี้ กรณีแบบนี้หากเป็นในระดับสากลจะต้องมีกระบวนการตามหาข้อเท็จจริง (fact finding) ต้องมีทั้งการรับผิดและการปรองดอง แต่ในประเทศไทยเท่าที่เคยมีกระบวนการแบบนี้เมื่อ 4-5 ปีก่อน กระบวนการตามหาความจริงได้ข้ามไปที่ความปรองดอง โดยปราศจากการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ดังนั้นในทุกวันนี้ตัวเลขผู้กระทำผิดก็ยังเป็นศูนย์ และนี่คือ 2 ประเด็นสำคัญที่ว่า สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้คืออะไร

สำหรับมุมมองส่วนตัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นายพิธากล่าวว่า เหตุการณ์นี้ถูกทำขึ้นอย่างเป็นระบบ เป็นการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยย่อมมีความคิดเห็นที่ขัดเเย้งกัน มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่เห็นต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ความรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มคนและสร้างวาทกรรมต่างๆ เพื่อกล่าวหากัน ดังในกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ที่มารวมตัวกันในธรรมศาสตร์ไม่ใช่คนไทย มีผู้อยู่เบื้องหลังจากต่างประเทศ

"เหล่านี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์และสามารถทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น เป็นการโหมฟืนเข้ากับกองไฟทุกครั้งไป ซึ่งหากกลับไปแก้ไขสิ่งที่ง่ายที่สุดคือ หลักการที่ว่า รัฐมีหน้าที่คุ้มครองประชาชน ไม่ใช่คุกคามประชาชน ถ้ารัฐเห็นภาพตรงนี้เเละยอมถอย เพื่อทำตามข้อเรียกร้องในการแก้รัฐธรรมนูญ ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเปลี่ยนผ่านไปตามกระบวนการที่ประชาธิปไตยควรจะเป็น ไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกทางตันอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จากนิทรรศการแขวนที่จัดแสดงอยู่ธรรมศาสตร์ในเวลานี้"

เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการมีมติจะเชิญพรรคร่วมฝ่ายค้านเข้าชี้แจง นายพิธา กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการเชิญจากทางคณะกรรมาธิการ อย่างไรก็ตาม พรรคร่วมฝ่ายค้านมีข้อสังเกตว่า การตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าวคือการประวิงเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่จริงใจต่อประชาชน และตนยังไม่ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล เพราะจากกระทำของรัฐบาลที่ผ่านมามีลักษณะย้อนเเย้ง ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้เห็นต่างทางการเมืองในหลายกรณี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะ ร่วมวางพวงมาลาเรียบร้อยเเล้ว ยังได้ร่วมชมนิทรรศการ “ แขวน 6 ตุลา On site Museum ที่จัดแสดงข้อมูลและภาพถ่ายที่ทางโครงการบันทึก 6 ตุลารวบรวมหลักฐานและความทรงจำของบุคคลเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์มาดำเนินการบอกเล่า โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการ ‘แขวน’ ซึ่งสะท้อนเป็นภาพถ่ายคนถูกแขวนคอบนต้นไม้และถูกเก้าอี้ฟาดของนีล ยูเลวิช (Neal Ulevich) ช่างภาพสำนักข่าวเอพี

นอกจากนี้ยังได้นำเอาหลักฐานหลายชิ้นมาจัดแสดงเพื่อบอกเล่าข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าภาพถ่าย หนังสือพิมพ์เก่า สิ่งของต่างๆในเหตุการณ์ เช่น ลำโพงของนักศึกษาที่พรุนไปด้วยรอยกระสุนปืน สมุดบันทึกของบิดาผู้เสียชีวิต และเสื้อผ้าของนักศึกษาผู้เสียชีวิต ประตูเหล็กสถานที่เเขวนผู้เสียชีวิต หนึ่งในชนวนเหตุ 6 ตุลา มาจัดเเสดงเพื่อเป็นการตอกย้ำความสูญเสีย เเละสดุดีเหล่าวีรชนผู้กล้าที่เสียสละชีวิตต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"