6 ต.ค. 2563 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าส.อ.ท.ได้เชิญบริษัทเอกชนรายใหญ่กว่า 100 บริษัทที่เป็นสมาชิก เข้าร่วมโครงการ ส.อ.ท.ช่วยเศรษฐกิจไทย: F.T.I. Faster PAYMENT โดยขอความร่วมมือให้ชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้แก่คู่ค้าของบริษัท(เครดิตเทอม)โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับสินค้าหรือบริการครบถ้วนและได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้ว เป็นระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.-31 ธ.ค.2563
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของทุกภาคส่วน หลายธุรกิจประสบปัญหายอดขายลดลงและขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากมีระยะเวลาในการรับชำระเงินจากการขายสินค้าช้ากว่าปกติ โดยภาคเอกชนยังต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจผลักดันและกำหนดให้มีเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้าภายใน 30 วันเช่นกัน และควรกำหนดบทลงโทษหน่วยงานที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมีงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชนนำมาชำระได้อยู่แล้ว
"ปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่า 96% ซื้อขายกันด้วยวงเงินสินเชื่อมากกว่าการชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด ขณะที่ภาครัฐเองก็มีการซื้อขายกับเอกชนค่อนข้างเยอะ และพบว่ามีการจ่ายล่าช้ามาก ไม่ต่ำกว่า 90 วัน ดังนั้นจึงอยากจะให้ภาครัฐจ่ายภายใน 30 วันเช่นกัน เพื่อมาช่วยเอสเอ็มอี และเรื่องนี้ควรจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนหากบริษัทไหนมีการจ่ายล่าช้า ”นายสุพันธุ์ กล่าว
สำหรับข้อเสนอการขอขยายมาตรการพักชำระหนี้แก่สถาบันการเงินออกไปอีก 2 ปี จากที่จะสิ้นสุดเดือนต.ค.นี้ เนื่องจากประเทศทั่วโลกยังต้องเผชิญปัญหาโควิด-19 อยู่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย แม้ไทยจะควบคุมโควิด-19 ได้ดี แต่ต้องอาศัยเวลาฟื้นตัว ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาสภาพคล่อง สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. จะพิจารณา
“มาตรการขอยืดระยะเวลาชำระหนี้ที่จะสิ้นสุดเดือนต.ค.นี้ เหมือนระเบิดเวลา จึงอยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พักชำระเงินต้นต่ออีก 2 ปี แต่จะขอชำระดอกเบี้ย 6 เดือนแรกเพียง 10% ของดอกเบี้ยที่มีอยู่ ในอัตราดอกเบี้ยปกติไม่ใช่ดอกเบี้ยประเภทผิดชำระหนี้ ส่วนที่เหลือ 90% ขอค้างไว้ก่อน เมื่อสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจเริ่มฟื้นตัวก็สามารถพิจารณาเรื่องการชำระหนี้ส่วนที่เหลือได้ต่อไป”นายสุพันธุ์ กล่าว
บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 100 บริษัทมีสัดส่วนประมาณ 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านบาท อาทิบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บมจ.ซีพี ออลล์ บมจ.สยามแม็คโคร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บมจ.สหพัฒนพิบูล บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บมจ.ปตท. บมจ.บางจากคอร์ปอเรชั่น บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ บจ.เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท บจ.บางกอกคริสตัล บจ.แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ
บมจ.เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด บมจ.ทีบีเอสพี บมจ.ที.เค.เอส เทคโนโลยี บมจ.ไทยซัมมิท ฮาร์เนส บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ บมจ.อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น บมจ.ปัญจวัฒนา พลาสติก บจ.สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล บจ.ควอลิตี้ แมชชีนทูล บจ.ทักษิณปาล์ม (2521) เป็นต้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |