เอาจริง 'ศักดิ์สยาม'สั่งศึกษาแลนด์บริดจ์'ชุมพร- ระนอง'เชื่อม2ฝั่งทะเล


เพิ่มเพื่อน    

 

6 ต.ค.63-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ รมว.คมนาคม  เปิดเผยว่าได้ให้นโยบายทุกหน่วยงานในสังกัดเร่งผลักดันโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและสอดคล้องกับนโยบายของพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย เช่นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน  หรือโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร 

อย่างไรก็ตามซึ่งจะเป็นการพัฒนาการคมนาคมเชื่อมโยงสองชายฝั่งทะเลของไทย โดยโครงการจะมีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท และขณะนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบศึกษาให้แก่หน่วยงาน คือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.และการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.รวม 2 หน่วยงาน วงเงิน 158 ล้านบาท รวมทั้งกระทรวงคมนาคมมีนโยบาย ที่จะให้รวมโครงการทุกระบบขนส่งคือท่าเรือ,ทางมอเตอร์เวย์ และระบบทางรถไฟ  ให้เอกชนผู้สัมปทานโครงการ ดำเนินการเพียงรายเดียว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเชื่อมโยงระบบขนส่งต่างๆ

นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)กล่าวว่า  หัวใจคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  2 ชายฝั่งทะเลของไทย  โดยการพัฒนาท่าเรือแห่งใหม่  ทั้งที่จังหวัดระนอง   และท่าเรือใหม่ในจังหวัดชุมพร   หลังท่าเรือทั้ง 2 แห่ง จะสร้างระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์  และทางรถไฟ คู่ขนาน  เชื่อมโยง  2 ท่าเรือเข้าหากัน  โดยทั้ง 2 ระบบขนส่งจะมีระยะทางใกล้เคียงกันคือประมาณ 120 กิโลเมตร 

อย่างไรก็ตามโดยประเด็นสำคัญทางกายภาพและยุทธศาสตร์การขนส่งในภูมิภาค  จะเป็นการเชื่อม 2 ภูมิภาค จากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมัน ยุโรป ซึ่งเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่  ในอนาคต สามารถนำเรือสินค้าเทียบ ท่าที่ท่าเรือระนองของไทย ผ่านโครงสร้างทางถนน และทางรถไฟไปต่อที่ท่าเรือที่ชุมพร  ก่อนจะนำส่งสินค้าต่อเรือ  มุ่งสู่ภูมิภาคเอเซียตะวันออก  ซึ่งประเทศในกลุ่มนี้ ทั้งญี่ปุ่น  เกาหลี เป็นประเทศใช้น้ำมัน การบริโภค   และเมื่อเชื่อมโยงถึงจีน ก็จะเป็นเสมือน โรงงานผลิตสินค้าของโลก  ด้วย 

ทั้งนี้ สนข. ประเมินว่า โครงการแลนด์บริดจ์นี้ จะมีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท  เมื่อโครงการเกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อไทย  เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน การขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกา ที่มีทั้งปัญหาความแออัด จากเรือสินค้าจำนวนมาก และปัญหาความปลอดภัยในการเดินเรือจากโจรสลัด  และการเกิดขึ้นของโครงการแลนบริดจ์นี้  จะช่วยย่นระยะเวลาการขนนส่งได้ 2 วัน  ส่งผลดีโดยตรงต่อการลดต้นทุนโลจสิต์ของไทย ให้เหลือไม่เกิน 12 % ต่อจีดีพี  ตามแผนยุทธศาตร์ชาติ จากปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย มีมากกว่า 13 % ต่อจีดีพี 
 
สำหรับความคืบหน้าของโครงการ  ล่าสุด รัฐบาลได้จัดสรร งบประมาณ  ให้ สนข.เร่งรัดศึกษา ในวงเงิน 68 ล้านบาท โดยกำหนด เป้าหมายชัดเจนว่า  ระยะเวลา 12 เดือน ของกรอบการศึกษา 30 เดือน ตำหน่งที่ตั้งท่าเรือใน 2 จังหวัดจะต้องชัดเจน  การออกแบบราละเอียด  การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่   รูปแบบธุรกิจ จนถึงการร่วมทุนแบบ PPP กับเอกชน  ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย  ก็ได้รับกรอบวงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อออกแบบโครงการรถไฟ สายชุมพร-ระนองแล้วเช่นเดียวกัน  
                     
ทั้งนี้ส่วนรูปแบบการก่อสร้างนั้น   สนข. ยืนยันว่า ปัจจุบัน สามารถใช้เทคโนโลยี่ การก่อสร้างใหม่เข้ามาดำเนินการ โดยแนวเส้นทางทั้งทางมอเตอร์เวย์ และรถไฟนี้  จะใช้เทคโนลยี่การขุดเจาะอุโมงค์  ซึ่งปัจจุบันไทยมีความพร้อมแล้ว  โดยโครงการจะมีอุโมงค์  7-9 แห่ง  เพื่อทำให้การพัฒนาเส้นทาง ไม่ประสบปัญหาคดเคี้ยว ที่ทั้งสิ้นเปลืองพลังงาน  หลีกเลี่ยงการผ่านพื้นที่อยู่อาศัย ที่ส่งผลกระทบเมื่อต้องเวนคืนพื้นที่ก่อสร้าง  และง่ายต่อการจัดการปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม   

อย่างไรก็ตามส่วนการบริหารโครงการแลนด์บริดจ์ นี้จะใช้แนวทางการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP โดยจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลบริหารโครงการเพียงรายเดียวเพื่อให้เกิดการจัดการ  บริหารระบบขนส่งให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอายุการให้สัมปทานเอกชนนั้น เนื่องจากโครงการมีมูลค่าถึง 2 แสนล้านบาท  คาดว่าจะมีอายุการให้สัมปทานไม่น้อยกว่า 50 ปี จึงจะสามารถทำให้ผู้ลงทุนเกิดผลตอบแทน คุ้มค่ากับการลงทุนหลังโครงการเปิดใช้งานแล้ว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"