250 ส.ว. ชนวนเหตุ วิกฤติ รธน.รอบใหม่


เพิ่มเพื่อน    

   วันที่ 6 ต.ค. มีประชุมทั้งคณะใหญ่และคณะเล็ก เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน 6 ฉบับ โดยเฉพาะคณะเล็ก คือ คณะอนุกรรมการที่จะมีการพิจารณาหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องต้องทำประชามติก่อนรับหลักการหรือไม่ ซึ่งมีนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ

            เรื่องนี้เป็นความเห็นในข้อกฎหมาย ซึ่งเมื่อปี 55 ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่า ถ้าจะยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะต้องทำประชามติถามประชาชนว่าจะให้ทำหรือไม่

            ฉะนั้น การประชุมร่วมรัฐสภา ระหว่างวันที่ 23-24 ก.ย.ที่ผ่านมา จึงได้เห็น ส.ว.หยิบยกช่องนี้ขึ้นมาอภิปรายกันเป็นจำนวนมาก อาทิ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายตวง อันทะไชย นายสมชาย แสวงการ เป็นต้น

            หรือแม้กระทั่งล่าสุด “พรเพชร วิชิตชลชัย” ก็ยังระบุ

            “รู้สึกลำบากใจในการตอบ เพราะเรื่องนี้ยังเป็นข้อถกเถียงของนักกฎหมาย จึงพยายามไปศึกษาเช่นกันว่าเป็นอย่างไร หากดำเนินการไม่ถูกต้องอาจขัดต่อกฎหมายได้”

            ประเด็นอยู่ที่ว่า ประชามติจะต้องทำเมื่อใดและกี่ครั้ง เพราะในกลุ่ม ส.ว.เอง ในความเหมือนที่ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าต้องทำประชามติก่อน แต่ก็ยังไม่มีคำตอบว่าต้องทำตอนใดบ้าง

            บางคนเสนอให้ทำถึง 3 ครั้ง คือ 1.ทำประชามติก่อนที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะรับหลักการ 2.เมื่อรัฐสภาลงมติผ่านวาระสาม เพื่อตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และ 3.เมื่อ ส.ส.ร.ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว

            ขณะเดียวกันก็มีบางคนเสนอให้ทำ 2 ครั้ง ครั้งแรก ถามว่าเห็นควรให้มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ และครั้งที่สอง ถ้าให้ก็จัดตั้ง ส.ส.ร.ดำเนินการยกร่าง แล้วกลับไปถามว่าร่างแบบนี้ประชาชนเห็นอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ

            อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลักการ มีมติที่จะเชิญ “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎร มาให้ความเห็น

            โดยก่อนหน้า คณะกรรมาธิการของนายพีระพันธุ์ก็ได้ศึกษามาแล้ว และมีความเห็นว่าการจัดทำประชามติแต่ละครั้งมีต้นทุนการดำเนินการโดยประมาณถึง 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณแผ่นดินที่ได้จากภาษีอากรของราษฎร หากมีประเด็นการแก้ไขที่ต้องทำประชามติบ่อยครั้งเกินไปจะเป็นภาระและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ ดังนั้นจึงสมควรให้มีการกำหนดให้มีการทำประชามติในประเด็นที่สำคัญจริงๆ เช่น ในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์เท่านั้น ส่วนประเด็นอื่นๆ เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการทำประชามติ

            นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกต ความเห็น และข้อเสนอแนะ ดังนี้

            1.จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน ทำหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่เกือบทั้งฉบับ ยกเว้นหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์

            2.จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หลังจากรัฐธรรมนูญร่างเสร็จแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

            3.เงื่อนไขการดำรงอยู่ขององค์กรทางการเมืองต่างๆ เป็นไปตามเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่ที่ผ่านประชามติ

            หมายความว่า กมธ.วิสามัญของ “พีระพันธุ์” เสนอให้ทำประชามติ 1 ครั้ง เมื่อ ส.ส.ร.ทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ซึ่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 55 ก็ไม่ได้บอกว่าต้องทำเมื่อใด กี่ครั้ง เพียงแต่บอกไว้กว้างๆ ว่าต้องถามประชาชนเท่านั้น

            ถ้าในอนาคตคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มีมติให้ทำประชามติสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเพียงครั้งเดียว เหมือนกับผลการศึกษาชุด “พีระพันธุ์” ถามว่า ส.ว.ยังจะเสียงแข็งต้องทำประชามติก่อนรับหลักการ หรือจะเล่นเกมฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อซื้อเวลาออกไปอีก หรือจะไม่ยกมือให้ในชั้นรับหลักการหรือไม่

                หากเป็นเช่นนั้นจริง เดือนตุลา.ปีนี้คงมีประวัติศาสตร์การเมืองหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก และแน่นอนต้องจารึกว่าชนวนเหตุนี้มาจาก ส.ว.!!!.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"