5 ต.ค. 63 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ (สปสช.) ได้ออกมาแถลงยกเลิกสัญญาการให้บริการบัตรทองของสถานพยาบาลใน กทม. หลายต่อหลายครั้ง หลังจากตรวจพบการทุจริตการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ขณะนี้มีการยกเลิกไปแล้วทั้งสิ้น 190 แห่ง กระทบประชาชนรวมกว่า 2 ล้านคนนั้น
การดำเนินการดังกล่าว มีการตั้งคณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีหน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นเท็จ โดยมีอัยการอาวุโส สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายประเมินผล เป็นประธาน โดยพุ่งเป้าไปที่โรงพยาบาล คลินิกเอกชน ซึ่งมีทั้งคลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกอายุรกรรม และคลินิกทันตกรรม ฯลฯ โดยมิได้แยกปลาแยกน้ำให้ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยต้องหาสถานพยาบาลแห่งใหม่กันอย่างโกลาหล และเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยอย่างมาก จากเดิมที่เดินทางไปตรวจรักษาโรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้าน ใช้เวลาไม่มากนัก แต่กลับต้องไปหาสถานที่ตรวจรักษาในสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งต้องไปแย่งกันเข้าคิวรอ ใช้เวลากว่าครึ่งค่อนวันกว่าจะถึงคิว
ผลจากปัญหาดังกล่าว ไม่มีใครพูดถึงหรือกล่าวถึง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหาร สปสช. และพนักงานเจ้าหน้าที่ของ สปสช. ที่อนุมัติการเบิกจ่ายค่าบริการที่ไม่ถูกต้องของ 190 สถานพยาบาลดังกล่าวหรืออาจจะมากว่า 190 แห่ง ที่อาจเกิดขึ้นมานานตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 กระทั่งมีอดีตผู้บริหาร สปสช. บางคนออกมาตั้งคลินิกทั่วทั้ง กทม .และปริมณฑลมากมายหลายสาขา จนเป็นที่ผิดสังเกต เพราะมีการระดมหาผู้มาขึ้นทะเบียนในแต่ละคลินิกเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับศักยภาพในการตรวจรักษา และในแต่ละปีจะมีการทำเอกสารเรียกเก็บค่าใช้จ่ายไปยัง สปสช. ในอัตราที่สูงมากจนผิดสังเกต แต่ทว่า สปสช. กลับมิได้เอะใจหรือทำอะไร นั่นแสดงว่าอาจมีคนวงในที่ล่วงรู้ระบบกลไกการทุจริตดังกล่าวมานานแล้ว แต่ไม่ยอมเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ แต่เมื่อเรื่องเหล่านี้เกิดเป็นข่าวครึกโครมขึ้นมา กลับเบี่ยงเบนประเด็นไปเล่นงานโรงพยาบาล และคลินิกเอกชนแทน เพื่อกลบเกลื่อนฝุ่นที่ซุกอยู่ใต้พรมของ สปสช.ใช่หรือไม่
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และผู้ป่วยบัตรทองทั่วกรุงเทพมหานคร พนักงานเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่างๆ เกือบพันคนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของ สปสช.ดังกล่าว จะร่วมกันเดินทางไปยื่นคำร้องต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อสั่งการให้รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้บริหาร สปสช. ว่าเข้าข่ายการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่ รวมทั้งการเสนอทางออกของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย โดยจะร่วมกันเดินทางไปยื่นคำร้องในวันอังคารที่ 6 ต.ค.63 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ (ตึก กพร.เดิม) ทำเนียบรัฐบาล.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |