5 ต.ค. 2563 น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการผลักดันสินค้าข้าวอินทรีย์ใช้ระบบบล็อกเชนในการตรวจสอบย้อนกลับ ว่า ขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการนำร่องจำนวน 7 ราย ได้แก่ เนเจอร์ฟู้ด จ.สุรินทร์ บ้านสวนข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี กรีนลิฟวิ่ง จ.นครปฐม ซองเดอร์ จ.สุพรรณบุรี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านน้ำอ้อม จ.ยโสธร ไร่ทองออร์แกนิกส์ฟาร์ม จ.ศรีษะเกษ และกลุ่มวิสาหกิจศูนย์ข้าวชุมชนบ้านมะยาง จ.ศรีษะเกษ ที่ได้ทดลองใช้ระบบบล็อกเชนแล้ว และยังมีกลุ่มที่สนใจเพิ่มเติมอีก เช่น วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน จ.สุพรรณบุรี วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ข้าวคิดคิด จ.สุรินทร์ และวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหนองไผ่ บ้านลาวาเซาะตลุง จ.บุรีรัมย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในกลุ่มนำร่อง มีกลุ่มที่ทดลองติดสติ๊กเกอร์ TraceThai กับสินค้าล็อตจริงแล้ว 3 ราย ได้แก่ บ้านสวนข้าวขวัญ ปลูก สี แพ็กข้าวอินทรีย์หลายพันธุ์ เช่น ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวกล้องหอมปทุมเทพ กรีนลิฟวิ่ง ปลูก สี แพ็กข้าวอินทรีย์หลายพันธุ์ เช่น ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวไรซ์เบอรี่ และซองเดอร์ ผลิตสินค้าแปรรูปจากข้าวอินทรีย์ เช่น โจ๊กข้าวและผักอินทรีย์สำหรับเด็ก
“ผลจากการทดลองใช้ระบบ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ทั้งตัวเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออกข้าวอินทรีย์ และผู้ตรวจรับรองมาตรฐานอินทรีย์ ที่เห็นตรงกันว่า TraceThai ทำให้ไทยเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงรายแรกๆ ของโลก ที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับ และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับข้าวอินทรีย์ของไทยเหนือคู่แข่ง ส่วนผู้ซื้อ ผู้บริโภค ก็มีความมั่นใจ และรู้ว่าสินค้าที่ตัวเองซื้อมีที่มาที่ไปอย่างไร ใครปลูก ใครผลิต ใครรับรอง”น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า สนค. จะเดินหน้าขยายผลให้มีกลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการข้าวอินทรีย์เข้าร่วมระบบ TraceThai เพิ่มมากขึ้น และจะขยายผลไปยังสินค้าเกษตรและสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น สินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สินค้าอินทรีย์ สินค้าเกษตรปลอดภัย สินค้าประมง อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น รวมทั้งจะร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในการต่อยอดระบบ เช่น การเชื่อมโยงเอกสารทางการค้าระหว่างประเทศ การดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วม เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนต่างๆ
ส่วนแผนการสร้างการรับรู้ เพื่อให้มีการใช้งานระบบ TraceThai เพิ่มมากขึ้น สนค.จะผลักดันให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ต้องเข้าร่วมใช้ระบบ TraceThai เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และจะช่วยทำตลาดให้กับสินค้าที่ได้เข้ามาใช้ระบบ TraceThai ทั้งการประชาสัมพันธ์แบรนด์ TraceThai การนำสินค้าเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ และเปิดโอกาสให้เจรจาจับคู่ธุรกิจ เช่น งานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX และงานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ BioFach เป็นต้น
ในปี 2562 ไทยส่งออกข้าวอินทรีย์ประมาณ 1.7 หมื่นตัน มูลค่า 780 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.22% ของปริมาณการส่งออก หรือสัดส่วน 0.6% ของมูลค่าการส่งออกข้าวของไทย (ไทยส่งออกข้าว ปี 2562 ปริมาณ 7.58 ล้านตัน มูลค่า 1.3 แสนล้านบาท) โดยข้าวอินทรีย์ราคาประมาณ 47 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ข้าวทั่วไปราคา 13 บาทต่อกิโลกรัม และข้าวหอมมะลิ มีราคา 34 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเห็นได้ว่าข้าวอินทรีย์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงกว่าข้าวทั่วไปประมาณ 3.5 เท่า และสูงกว่าข้าวหอมมะลิประมาณ 40%
สำหรับระบบ TraceThai เป็นระบบตรวจสอบย้อนกลับมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยบนบล็อกเชน นำร่องด้วยข้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงและมีศักยภาพในการส่งออก ด้วยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาสนับสนุนกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การผลิต การแปรรูป จนถึงการจำหน่ายข้าวอินทรีย์ รวมถึงทราบข้อมูลของผู้ประกอบการ ข้อมูลการผลิตสินค้า รวมทั้งข้อมูลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ว่าสินค้านั้นผ่านมาตรฐานใด ได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานรับรองมาตรฐาน ด้วยการสแกน QR Code หรือตรวจสอบจากเลขล็อตการผลิตบนฉลากสินค้ากับเว็บไซต์ TraceThai.com
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |