อุตฯอาหารปรับทัพรับยุคNewNormal หวัง“อีอีซี”เปิดประตูเชื่อมกลไกผลิตสู่บริโภค


เพิ่มเพื่อน    

    อีอีซีจะเป็นประโยชน์ในการเป็นประตู่เชื่อมความต้องการของผู้บริโภค นักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามากับกระบวนการผลิตสินค้าได้ ซึ่งการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายนี้ จะมีนโยบายในการให้มาตรการจูงใจนักลงทุนต่างๆ จะเน้นให้สิทธิกับผู้ลงทุนเข้ามาตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาถ่ายทอดความรู้ให้คนไทยผลิตสินค้าในกลุ่มเป้าหมาย 


    “อุตสาหกรรมอาหาร” เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยม และคาดว่าจะเติบโตได้ดีในปี 2562 แต่มาในปี 2563 สถานการณ์เศรษฐกิจในแง่มุมต่างๆ มีปัจจัยเข้ามากระทบให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มส่งผลตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันจนทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนเปลี่ยนไป จำเป็นต้องใช้ชีวิตในรูปแบบปกติใหม่ (New Normal) เช่นเดียวกับการบริโภคอาหารก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน 

(อนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์)

    “อนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์” ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานในเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในเอเชียเปลี่ยนไป เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญ จึงเป็นที่มาของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารของไทยที่ต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ตลาดของผู้บริโภคในยุค New Normal การสร้างช่องทางการจำหน่ายแบบออนไลน์ การจับมือพันธมิตรด้านขนส่ง การสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้า การสร้างคุณภาพและการการันตีเรื่องความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องสำคัญ 


    ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสถาบันอาหารได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระยะสั้น ด้วยการมอบสิทธิประโยชน์ เพื่อบรรเทาภาระของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อทุกภาคส่วน ดังนั้นการสร้างโอกาสและลดผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวให้ผู้ประกอบการได้ดำเนินธุรกิจต่อไป  
    โดยมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของสถาบันอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบด้วย การให้ส่วนลดในการใช้บริการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้ส่วนลดในการใช้บริการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ การให้ส่วนลดในการใช้บริการตรวจสอบ หรือรับรองระบบ และการให้ส่วนลดในการใช้บริการฝึกอบรมแก่บุคลากร  


    “อนงค์” ให้มุมมองว่าวิกฤติโควิด-19 เป็นประเด็นหลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากรูปแบบเดิมเป็นแบบ New Normal ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น  ส่งผลให้การดำเนินอุตสาหกรรมอาหารต้องปรับเปลี่ยนตาม โดยยึดหลักพื้นฐานความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) เป็นหัวใจเพื่อสร้างความเชื่อมั่น (Trust) แก่ผู้บริโภค และต้องเพิ่มความสำคัญในด้านนวัตกรรม (Innovation) การปรับปรุงระบบการผลิตให้ทันสมัย มีต้นทุนต่ำ มีความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นอาหารเพื่อการดูแลสุขภาพอนามัย อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ รวมทั้งมีความสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงการบริโภค 
    นอกจากนี้ สถาบันอาหารยังได้จัดทำข้อเสนอ “โครงการเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร” วงเงิน 1,345.44 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงิน 400,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) วงเงิน 1,000,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ซึ่งมีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สภาพัฒน์ เป็นเลขานุการ 


    นอกจากนี้ สถาบันอาหารยังเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกขับเคลื่อนมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูประยะ 10 ปีสู่ภาคปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักรับช่วงต่อจาก “มาตรการครัวไทยสู่โลก”  โดยมองว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีโอกาสในการเติบโตในระดับโลกได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมีความต้องการในผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทเพิ่มขึ้น เนื่องจากพลเมืองโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ประกอบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความต้องการสินค้าอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นตามปริมาณนักท่องเที่ยวที่มาในไทย 
    “อนงค์” เล่าว่า พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตให้ปรับตัวรองรับกับความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่ โดยแนวโน้มอาหารในปัจจุบัน มุ่งเน้นในเรื่อง 1.อาหารที่เน้นโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละคน แต่ละช่วงวัย 2. อาหารที่มีประโยชน์เฉพาะต่อสุขภาพ ที่แม้ว่าส่วนแบ่งตลาดของอาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพจะมีเพียง 5% ของมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด แต่ผู้เล่นในตลาดกลับให้ความสนใจสินค้าประเภทนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ 3.อาหารปลอดภัย สดใหม่ ใกล้เคียงธรรมชาติ เจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น 4.อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน  5.การผลิตอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.อาหารตามความต้องการเฉพาะเจาะจง เช่น อาหารฮาลาล เพราะตลาดเศรษฐกิจฮาลาลเป็นตลาดเกิดใหม่ที่ทรงอิทธิพล และมีอัตราการเติบโตรวดเร็ว และ 7.การเติบโตของตลาดออนไลน์ที่เติบโตกว่า 20% ต่อปี 


    โดยแนวทางในการพัฒนาตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2570) จะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ Global Supply Chain รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ การผลักดันการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การสนับสนุนให้เกิดปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการลงทุนในประเทศ การสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อรองรับ Digital Economy โดยเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ ในระยะกลาง (3-5 ปี) คือ การยกระดับเทคโนโลยีและปัจจัยพื้นฐาน พร้อมทั้งสร้างนักรบพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร  
    สถาบันอาหารตั้งเป้าหมายว่าตัวเลขจีดีพีในอุตสาหกรรมอาหารจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 ล้านล้านบาท ส่วนเป้าหมายระยะยาวในปี 2570 คือ “ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตของอาเซียน” และไทยเป็น 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลก โดยปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 11 ของโลก และตัวเลขจีดีพีในอุตสาหกรรมอาหารของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.42 ล้านล้านบาท 


    ต้องยอมรับว่า “อุตสาหกรรมอาหาร” มีความสำคัญและมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจไทยไม่แพ้อุตสาหกรรมในส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ประเทศไทยหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 12 กลุ่ม แบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีศักยภาพที่จะต่อยอด และอีก 5 อุตสาหกรรมอนาคต อาทิ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ขนส่งและการบิน เป็นต้น และกำลังมีแนวคิดเพิ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายอีก 2 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษาในพื้นที่การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)  
    โดยอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรม 1 ใน 12 ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถใช้เป็นปัจจัยการผลิตภายในประเทศพัฒนาไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจได้สูงเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาภาคธุรกิจของประเทศ สินค้าอาหารที่ผลิตได้ภายในประเทศเพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ และยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินที่สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ด้วย  
    และด้วยศักยภาพการแข่งขัน หรือความโดดเด่นของอุตสาหกรรมอาหารไทยนั้น ช่วยสร้างจุดแข็งให้ประเทศไทยภายใต้อุตสาหกรรมอาหาร จากการเป็นผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ยาวนานในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งไทยเติบโตในเรื่องดังกล่าวมานานกว่าครึ่งศตวรรษ การมีฐานลูกค้าทั้งภายในและและประเทศผู้นำเข้าสามารถปรับเปลี่ยนสายการผลิตสินค้าได้หลากหลายตามความต้องการ อีกทั้งแรงงานของไทยมีฝีมือดี โดยเฉพาะด้านความปราณีที่อุตสาหกรรมอาหารไทยเติบโตมาจนทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะศักยภาพของแรงงานไทยที่สามารถทำงานให้ผลิตได้อย่างคุ้มค่ากับต้นทุน และอาหารไทยมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงทัดเทียมระดับโลก ซึ่งปัจจุบันตลาดส่งออกสินค้าอาหารไทยอยู่ในประเทศพัฒนาสัดส่วนสูงกว่า 40%  


    อีกทั้งวัตถุดิบการเกษตรของไทยมีคุณภาพและความหลากหลาย อาหารไทยมีรสชาติดี มีคุณประโยชน์ในเชิงสุขภาพ จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในต่างประเทศ ตรงนี้ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ และท้ายที่สุดสินค้าอาหารไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV “อนงค์” มองว่า อีอีซีจะเป็นประโยชน์ในการเป็นประตูเชื่อมความต้องการของผู้บริโภค นักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามากับกระบวนการผลิตสินค้าได้ ซึ่งการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายนี้ จะมีนโยบายในการให้มาตรการจูงใจนักลงทุนต่างๆ จะเน้นให้สิทธิกับผู้ลงทุนเข้ามาตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาถ่ายทอดความรู้ให้คนไทยผลิตสินค้าในกลุ่มเป้าหมาย 
    อุตสาหกรรมอาหารจะได้รับอานิสงส์ในเรื่องของการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสินค้าใหม่ รวมถึงยกระดับการตลาด การแปรรูป การเกษตรด้วยเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน ได้แก่ สร้างตลาดด้วยกลไกการค้าออนไลน์ เพื่อขายไปทั่วโลกและเชื่อมระบบโลจิสติกส์ ตั้งแต่ส่งออก ขายในประเทศ การแปรรูปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ได้สินค้าคุณภาพมาตรฐานระดับโลก การสร้างงานวิจัยเชิงเทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริง ตรงกับความต้องการในทุกขึ้นตอน ตั้งแต่หีบห่อ การแปรรูป การปลูก การควบคุมความเสี่ยงจากภูมิอากาศ เป็นต้น. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"