4 ต.ค.63- ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) จัดงานเสวนาวิชาการรำลึก 44 ปี 6 ตุลา หัวข้อ “หา(ย) : อุดมการณ์ – ความจำทรง – รัฐธรรมนูญ” โดย นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวตอนหนึ่งว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 คือการฆ่าหมู่กับการรัฐประหาร โดยรัฐราชการหรือรัฐพันลึก เพื่อทวนกระแสการปฏิวัติ 14 ตุลา 16 และเพื่อหยุดกระแสการย้ายอำนาจจากกลุ่มชนชั้นนำข้าราชการไปยังกระฎุมพีชาวเมือง และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบริบท 3 ชั้น เพราะช่วงนั้นมีบริบทของสงครามเย็น บริบทของสงครามร้อนในเขมร ลาว เวียดนาม และบริบทของสงครามภายในประเทศคือสงครามประชาชน
นายเกษียร กล่าวต่อว่า จนทำให้เกิดการเมืองมวลชนผ่านการต่อสู้ลงถนน และต่อสู้ผ่านหีบบัตรเลือกตั้ง ทำให้เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 เกิดสงครามอุดมการณ์ซ้ายกับขวา เกิดปมความความขัดแย้งที่เรียกว่า “ราชาชาติอยู่ฝ่ายขวา ประชาชาติอยู่ฝ่ายซ้าย” สรุปได้ว่ามีชาติสองแบบ คือฝ่ายซ้ายเน้นความเสมอภาค ส่วนฝ่ายขวาจินตนาการว่าความเป็นชาติต้องแตกต่างเหลื่อมล้ำ แต่อุปถัมภ์เกื้อกูลกัน คนดีต้องมีอำนาจประชาชนอาจไม่เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นเหตุให้ทั้งสองแนวคิดจึงชนกันเพราะจินตนาการไว้แตกต่างกัน และเพื่อแย่งชิงรัฐสถาปนาชาติแบบที่ตนนิยมให้ปรากฎเป็นจริง
นายเกษียร กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่จะไม่ทำให้เหตุการณ์แบบ 6 ตุลา เกิดขึ้นอีก คือ 1. ชาตินิยมกระแสหลักไม่เอื้อให้ป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ 6 ตุลา เกิดขึ้นอีก และ2.รัฐคือสิ่งที่เอาชีวิตคุณได้ เพราะรัฐคือนักฆ่าศัตรู เราจึงจำเป็นต้องคุมเจ้าหน้าที่รัฐให้อยู่ว่าต้องฆ่าให้ถูกคน ฆ่าแบบต้องมีเงื่อนไข และฆ่าในวิธีที่ถูกต้อง หมายความว่าเราอยู่กับรัฐต้องคุมรัฐให้อยู่
นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวตอนหนึ่งว่า ความรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มีมากขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพราะเรามีประชาธิปไตยหลังเหตุการณ์พฤษภา 35 ทำให้เราเปิดเผยเรื่องลี้ลับมืดมนให้ปรากฎออกมา เมื่อไหร่ที่เราปรับจากประชาธิปไตยเป็นเผด็จการอีกครั้ง เราจะถูกปิดเรื่องราวต่างๆอีกครั้ง ประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะได้รับรู้อดีต และทราบประวัติศาสตร์ที่เป็นจริง ทั้งนี้ เรามักเชื่อว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นการปราบปรามนักศึกษาที่เป็นฝ่ายซ้าย นักศึกษาเป็นสาเหตุของการรัฐประหารในครั้งนั้น
นายธำรงศักดิ์ กล่าวต่อว่า แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการยิงไปที่ประชาธิปไตยที่กำลังเฟื่องฟู ซึ่งประชาธิปไตยไทยก็เหมือนภูเขาไฟที่อัดอั้นมาตลอดการรัฐประหาร พอเกิดประชาธิปไตยจึงระเบิดปัญหาทั้งหมดออกมา หมายความว่าถ้าประชาธิปไตยมีความต่อเนื่องปัญหาจะถูกแก้ไข ดังนั้น เป้าหมายที่แท้จริงของรัฐประหารคือการทำลายประชาธิปไตย ซึ่งการรัฐประหารจะมาพร้อมการหยุดการกระจายอำนาจ ตรงข้ามกับประชาธิปไตยที่จะมาพร้อมกับการกระจายอำนาจ ตนเองจึงขอเรียกร้องให้พ.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่เป็นผู้ว่าฯซึ่งดำรงตำแหน่งอย่างไม่เป็นประชาธิปไตยมาครบ 4 ปี ลาออกเพื่อชาติ
นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลายคนคิดว่า 14 ตุลา 16 เป็นเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทย ทำให้ประชาชนสำนึกรู้ตัวว่าเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตย บางคนเรียกเหตุการณ์ 14 ตุลา ว่าเป็นอุบัติเหตุ เพราะนำมาซึ่งการล้มล้างอำนาจรัฐที่เกิดจากคณะรัฐประหาร และหากพูดถึงรัฐธรรมนูญ สิ่งที่เราต้องคิดคือการพูดถึงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญว่าเป็นของใคร และหากประชาชนจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้สอดล้องกับยุคสมัยไม่จำเป็นต้องทำให้ยุ่งยาก
นายบัณฑิต กล่าวต่อว่า จินตภาพของรัฐธรรมนูญที่แก้ไม่ได้ คือจินตภาพของคนที่เหนี่ยวรั้งอำนาจไม่ให้เดินไปสู่สังคมโดยรวม ยิ่งทำให้ยากทำให้ซับซ้อนโอกาสที่สังคมจะเกิดความตึงเครียด เกิดความเปลี่ยนแปลงก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่าสิ่งที่พยายามเหนี่ยวรั้งไว้เป็นสิ่งผิดธรรมชาติ ความล้าหลังไม่ยอมอนุมัติตามโลก ตามมติมหาชน และอ้างจำนวนคนบนท้องถนนนั้นพ้นสมัยแล้ว เราต้องใช้หลักคิดที่มีเหตุผลสนับสนุนมารองรับ
นายบัณฑิต ระบุว่า ตนเองคิดว่าบทเรียนจากเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นสิ่งที่เกินบรรยายถึงความโหดร้ายวิปริตของสังคม ที่แทรกซึมไปในระดับครอบครัว ดังนั้น เราควรทำให้ปรากฏการณ์แบบนี้ทำให้ความเห็นต่างเป็นสิ่งที่พูดคุยแลกเปลี่ยนได้ ต้องมีเหตุผลรองรับ และสิ่งใดที่เป็นอภินิหารจะดำรงอยู่ไม่ได้ในที่สุด การปรับตัวตามข้อเรียกร้องที่ควรเป็นไป ใช้เพียงสามัญสำนึกก็พอแล้ว ไม่ต้องอาศัยความซับซ้อนของกฎหมาย ที่สำคัญเจตจำนงของมหาชนไม่จำเป็นต้องลงท้องถนนเสนอไป การลงชื่อของประชาชนก็เป็นเครื่องบ่งชี้ในตัวเองอยู่แล้ว สังคมไทยถึงจะเปลี่ยนแปลงน้อยแต่มีคุณภาพที่มากขึ้น
นายบัณฑิต กล่าวอีกว่า การเข้าไปจัดการกับหน่วยงานของรัฐที่เข้าไปสร้างความทรงจำที่น่าสะอิดสะเอียน เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จะต้องถูกติดตามการทำหน้าที่ การตั้งคำถาม และตรวจสอบ ทั้งนี้ เราต้องเรียนรู้กระบวนการทางการเมืองจากประเทศที่มีความก้าวหน้า และมีอารยะมากกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเพียงปฏิกริยาที่สั่งสมมานาน เราต้องรอดูว่าการถอดสลักจะทำได้อย่างไร
นายเข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การต่อสู้กับผีกับเหตุการณ์ 6 ตุลา คือการต่อสู้กับกฎหมายในการให้อภิสิทธิ์รัฐในการก่อกรรมกับผู้เห็นต่าง เป็นการคิดแบบไทยๆว่ากฎหมายออกมาแล้ว มีการนิรโทษกรรมหลัง 6 ตุลาแล้วก็จบ ซึ่งเราจะเห็นสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา เป็นการบอกว่านิติศาสตร์ก็เป็นป้อมปราการหนึ่งที่ยังปกปักษ์ให้อำนาจนั้นดำรงอยู่มาจนวันนี้ .
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |