'จตุพร' กังวลหนักมาก!เพียงเพราะปากถากถางม็อบ จะเกิดเหตุการณ์วิปโยค


เพิ่มเพื่อน    

1 ต.ค.63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊กไลฟ์ peace talk ว่า ประวัติศาสตร์ 14 ตุลามีปรากฎการณ์สำคัญและควรเป็นบทเรียนคือ การรายงานข่าวของฝ่ายรัฐที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง จนทำให้จอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี รมว.มหาดไทย และ ผบ.ทบ. ในขณะนั้น เชื่อมีคนมาชุมนุมน้อย จึงพูดท้าทายไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเป็นเหตุให้คนออกมาชุมนุมกันมโหฬาร แล้วเกิดการปะทะกัน กระทั่ง 3 ผู้นำอำนาจต้องหลีกภัยยังต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ตนยกกรณีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทบทวนถึงคำพูดของรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐคนหนึ่งได้ถากถางการชุมนุมเรียกร้องให้แก้ รธน.ว่า มีคนเพียงหยิบมือเดียว เป็นการเยาะเย้ย ดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งคนไทยทนไม่ได้ และจะเป็นเหตุให้คนออกมาแสดงกำลังมืดฟ้ามัวดินในวันที่ 14 ตุลา ดังนั้น การพูดด้วยถ้อยคำและท่วงทำนองไม่ระมัดระวังแล้ว จะกระทบกับการเมืองถัดจากนี้ไปว่า จะมีเหตุการณ์ความวิปโยคอีกหรือไม่

"คำว่าคนหยิบมือเดียว เป็นการดูถูกเหยียดหยามเขา ผมยังยืนยันเหมือนเดิมว่า ผมสนับสนุนแค่ 3 ข้อเท่านั้น เป็นจุดยืนไม่เคยเปลี่ยน และนายกรัฐมนตรีพูดเป็นนัยๆจะสนับสนุนร่างแก้ รธน. มาตรา 256 ไม่แตะหมวด 1-2 แม้ สว.บางคนแสดงบทบาทว่า ฟังนายกฯคนเดียวไม่ได้ แต่ผมเชื่อว่า ถึงที่สุดต้องฟัง"

นายจตุพร สงสัยว่า เมื่อนายกฯ สนับสนุนร่าง แก้ รธน.แล้ว ปัญหาคือ ทำไมฝ่ายรัฐบาลต้องยื้อเกมด้วย หากต้องให้แก้ รธน. ไม่ควรลังเล ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องการแก้ รธน.จริงหรือไม่

อีกอย่าง สว.ควรเลิกพูดเรื่องประชามติ เพราะถึงที่สุดแล้ว ในทางปฏิบัติ สว.ก็ไม่ได้จริงจังกับประชามติเท่าใดนัก เนื่องจากคนที่เคยออกมาปกป้อง รธน. 2560 เคยอ้างประชามติปกป้อง รธน. 2550 เพื่อไม่ให้แก้ไขมาแล้ว แต่เมื่อมีคนฉีก ยังมาอยู่กับคนฉีก แล้วออกมาพูดถึงประชามติของ รธน. 2560 อีก ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ สว.บางกลุ่มอยู่สัมผัสอำนาจการเมืองมายาวนาน

“เมื่อนายกรัฐมนตรีแสดงท่าทีสนับสนุนร่างแก้ รธน. สิ่งที่น่าห่วงคือ กรรมาธิการแก้ รธน.ทำไมต้องยื้อการประชุมกันถึง 1 เดือน และลากไปสร้างภาวะคับแค้นจนถึงวันที่ 14 ตุลา ถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาแล้วจะโทษใคร ถ้ารัฐบาลทำตามเสียงเรียกร้องให้แก้ รธน.แล้ว สถานการณ์จะเบาบางขึ้น แต่นี่กลับทำตรงข้ามกัน คือเร่งสุมไฟขึ้นไปเรื่อยๆ”

นายจตุพร เตือนว่า การเมืองอยู่ที่การกระทำว่า ทำอย่างไร เพราะเห็นกันอยู่แล้วถึงการชุมนุมครั้งใหญ่ สิ่งสำคัญคือ ทำไมไม่คิดจะนำพาให้บ้านเมืองเดินไปสู่ทิศทางควรจะเป็นได้อย่างไร โดยควรเข้าใจสถานการณ์ความอดอยากเดือดร้อนของคนไทยที่อดทนมายาวนานกันบ้าง

อีกทั้ง ย้ำว่า ฝ่ายรัฐบาลอย่าได้ชะล่าใจความรู้สึกของคนไทย และใครที่ท้าทายประชาชนมีอันเป็นไปทั้งนั้น ต้องฟังกันบ้าง อย่าได้พูดยั่วยุประชาชน ซึ่งต้องมีการตักเตือนนักการเมืองที่พูดอะไรไม่รู้สึกรู้สาเสียเลย

อย่างไรก็ตาม ตนยังหวังว่า สิทธิการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธต้องได้รับการคุ้มครองให้เป็นเสรีภาพของประชาชน ที่สำคัญรัฐควรรีบเสนอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ซึ่งจะทำให้บรรยากาศในเดือนตุลาดีขึ้น ถ้าเอาแต่ท้าทายจะจบลงที่ไม่ได้อะไรเลย คือ รธน.ก็ไม่ได้แก้ และคนก็ไม่ได้อยู่ ให้ไปคิดอ่านกันเอาเอง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"