1 ต.ต.63-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการนำการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Of) พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดี กรมทางหลวง นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่ากระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันผลักดันโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยนำยางพารามาเป็นส่วนผสมในการทำเครื่องกั้นถนนครอบวัสดุยางพาราหรือ rubber fender berier และหลักนำทางยางธรรมชาติ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตั้งต้นโครงการฯ เพื่อใช้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 วงเงินกว่า 2,700 ล้านบาท หลังจากนั้นได้เดินหน้า kick off สร้างการรับรู้กับชาวสวนยาง เริ่มจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดโครงการ และกระทรวงคมนาคม ยังได้ลงพื้นที่เริ่ม kick off โครงการในหลายจังหวัด สตูล นครพนม บึงกาฬ เลย และล่าสุดที่จังหวัดอุทัยธานี
นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งกรมทางหลวง (ทล.) และ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้กำหนดแผนการดำเนินโครงการ ดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2563-2565 โดย มีปริมาณการใช้ยางพารา จำนวน 1,007,951 ตัน และจะนำ 2 ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว มาใช้ติดตั้งบนถนนของ ทล. และ ทช. ระยะทางรวม 12,282 กิโลเมตร คิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรชาวสวน ยางจะได้รับ จำนวน 30,108 ล้านบาท และจะมีการสำรวจตรวจสอบเพื่อเปลี่ยนแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ ทดแทนที่เสื่อมเสื่อมสภาพหรือมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้ยางพาราในทุกๆ ปี ปีละไม่น้อย กว่า 336,000 ตัน
สำหรับปริมาณการใช้ยางพาราในโครงการดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2562 มีปริมาณการใช้น้ำอย่างพาราสดในโครงการของรัฐมากกว่า 129,000 ตัน แต่เมื่อมีโครงการนำร่องการนำยางพารามาผลิตใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนท้องถนนใน3เดือนนี้ พบว่า มีปริมาณการใช้ยางพารากว่า 50,000 ตัน ซึ่งถือว่า เป็นปริมาณการใช้ ที่เท่ากับปริมาณในปี 2561
โดยกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มั่นใจว่าโครงการยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนนนี้ เมื่อมีเป้าหมายในการใช้ยางพาราแต่ละปีชัดเจน จะช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาให้แก่ยางพาราเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม โดยหลังจากการเริ่มต้นโครงการเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา 1 เดือน ล่าสุดราคาน้ำยางพารา อยู่กิโลกรัมละ 63 บาท ขณะที่ราคายางก้อนถ้วย มีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีนิยมผลิตเพื่อทำการขายนั้น ก่อนที่จะมีโครงการราคาเคยตกต่ำถึงกิโลกรัมละ 8 บาท ก่อนที่จะมีการเริ่มต้นโครงการฯ แต่ ณ วันนี้ ราคายางก้อนถ้วยอยู่ที่กิโลกรัมละ 22 บาท โดยกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป้าหมายที่จะผลักดันให้ราคายางก้อนถ้วยนี้ กิโลกรัมละ 28 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับจังหวัดอุทัยธานี เป็นจังหวัดในภาคกลางของไทย ที่มีการปลูกยางพาราจำนวนมากโดยข้อมูลล่าสุดของการยางแห่งประเทศไทยพบว่ามีเกษตรกรชาวสวนยางจำนวน 1994 รายพื้นที่ปลูกยางรวมทั้งสิ้น 35, 878 ไร่ โดยผลผลิตยางพาราแบ่งเป็นยางแผ่นดิบ 598 ตันคิดเป็น 77.25% และยางก้อนถ้วย 155 ตันคิดเป็น20.0 2%( ข้อมูลณวันที่ 23 กันยายน 2563)
นอกจากนี้ จังหวัดอุทัยธานียังเป็นจังหวัดที่มีสหกรณ์ชาวสวนยางที่เข้มแข็ง โดยกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรฯ มั่นใจว่าการดำเนินโครงการใช้ยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน ซึ่งจะใช้สหกรณ์สวนยาง เป็นกลไกในการรับซื้อยางจากชาวสวน จะมีส่วนในการสนับสนุนให้มีการกำหนดราคารับซื้อที่สร้างรายได้แก่ชาวสวนยางในระดับที่น่าพอใจ ทำให้ราคายางพาราในประเทศ มีเสถียรภาพได้ในระยะยาว
ด้านนายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดี ทช. กล่าวว่า ตามที่เมื่อวันที่ 25 ส.ค.63 ที่ประชุม ครม. สัญจรที่ จ.ระยอง ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง วงเงิน 2,770 ล้านบาทนั้น ถือเป็นการดำเนินการระยะที่ 1 โดย ทล. และ ทช. ได้นำแบริเออร์หุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติและหลักนำทางยางธรรมชาติมาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ประกอบกับการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณการใช้ยางพาราผิวลาดยางพาราแอสฟัลท์ติกคอนกรีต (PARA AC) เหลือเพียงถนนแอสฟัลท์ติก คอนกรีต (AC) เท่านั้น รวมถึงงบประมาณเหลือจ่ายปี 63 มาใช้ รวมงบประมาณที่ใช้ในระยะที่ 1 ทั้งสิ้น 4,400 ล้านบาท ทั้งนี้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน พ.ย.63 ส่วนของ ทช. ดำเนินการระยะที่ 1 แบ่งเป็นใช้แบริเออร์หุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติบนถนน ทช. ระยะทาง 209 กม. ขณะที่หลักนำทางยางธรรมชาติ จะดำเนินการกว่า 300,000 ต้น
นายปฐม กล่าวต่อว่า ขณะที่ระยะที่ 2 ช่วงกลาง พ.ย.นี้ จะเสนของบประมาณรายจ่ายงบกลางปี 64 เพื่อดำเนินการต่อไป จากนั้นจะประเมินความคุ้มค่า รวมถึงสถิติอุบัติเหตุของโครงการ ทั้งนี้จะดำเนินการให้เป็นไปตามแผนระยะ 3 ปี (63-65) โดยมีปริมาณการใช้ยางพารา 1,007,951 ตัน มาใช้ติดตั้งบนถนนของ ทล. และ ทช. ระยะทางรวม 12,282 กม. ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นกว่า 85,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับ 30,108 ล้านบาท นอกเหนือจากนี้ช่วง พ.ย.63 จะตั้งงบประมาณปี 65 เพื่อบรรจุเข้าในปีงบประมาณปี 66 ด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |