30 ก.ย.63 - ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อท.(ผ) 61/2559 ที่ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ และ พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.ต.วรนันท์ ศรีล้ำ อดีตผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษและอดีตรองโฆษกดีเอสไอ และ พ.ต.ท.สุวิชชัย หรือเกียรติกรณ์ แก้วผลึก เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 157 สร้างหลักฐานการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเเจ้งความอันเป็นเท็จต่อศาล มาตรา 137
โดยโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2557 ระบุพฤติการณ์ว่า นายธาริต อธิบดีเอสไอในขณะนั้นกับพวก มีคำสั่งให้นำ พ.ต.ท.สุวิชชัย หรือเกียรติกรณ์ แก้วผลึก พยานโจทก์ในคดีการหายตัวไปของนายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ที่ศาลอาญาให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทยไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยสายการบิน ey402 ทั้งที่ พ.ต.ท.สุวิชชัย เป็นจำเลยที่ศาลจังหวัดมีนบุรีได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตในคดีร่วมฆ่าฯ เชื้อพระวงศ์ลาว ซึ่งศาลจังหวัดมีนบุรีมีคำสั่งห้ามออกนอกประเทศไว้
แต่ภายหลังจำเลยกลับมายื่นคำร้องขออนุญาตศาลอาญาให้ส่งประเด็นไปสืบต่างประเทศ โดยอ้างว่าพบพยานดังกล่าวหลบหนีหมายจับไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์อนุญาตส่งประเด็นไปสืบต่างประเทศ ทั้งที่ความจริงเเล้วตอนนั้นพยานโจทก์ปากดังกล่าวพำนักอยู่ในไทย แต่อัยการโจทก์ไม่สามารถนำตัวมาเบิกความที่ศาลอาญาโดยเปิดเผยได้ เนื่องจาก พ.ต.ท.สุวิชชัย เป็นจำเลยหลบหนีหมายจับของศาลจังหวัดมีนบุรี
นายธาริตกับพวกซึ่งทำหน้าที่รายงานความคืบหน้าการส่งประเด็นไปสืบพยานต่างประเทศตามคำสั่งศาลอาญาในขณะนั้น เป็นผู้ซื้อตั๋วเครื่องบินให้ พ.ต.ท.สุวิชชัย เเละเจ้าหน้าที่ดีเอสไออีกสองคนเดินทางไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อดำเนินการสืบพยานลับหลังจำเลยในคดีการหายตัวไปของ นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี ด้วยช่องทาง พ.ร.บ.ร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาฯ ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะความจริงแล้ว การสืบพยานต่างประเทศด้วย พ.ร.บ.ดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่พยานมีภูมิลำเนาต่างประเทศ มิใช่เกิดจากการนำพยานเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้เข้าเงื่อนไขการส่งประเด็นไปสืบ แต่กลับเเจ้งต่อศาลว่าพบพยานดังกล่าวหลบหนีหมายจับอยู่ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กระทั่งตรวจสอบพบว่า จำเลยทั้งสามในฐานะตัวการเเละผู้สนับสนุน ร่วมกันสร้างพยานหลักฐานการคุ้มครองพยานมาตรการพิเศษ โดยอ้างว่าโดนโจทก์ข่มขู่พยาน เพื่อเป็นข้ออ้างแก้ตัว กรณีโดนโจทก์ร้องคัดค้านการนำพยานปาก พ.ต.ท.สุวิชชัย เดินทางออกนอกประเทศ ว่าเป็นการคุ้มครองพยานเพื่อนำไปสืบพยานที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอ้างเป็นหลักฐานแจ้งต่อศาล ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวแก่โจทก์ทั้งสอง จึงเท่ากับจำเลยมีเจตนาพิเศษกลั่นแกล้ง เพื่อให้โจทก์ถูกศาลเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวในขณะนั้น หากศาลเชื่อตามคำร้องเท็จของจำเลย
ศาลไต่สวนแล้วคดีมีมูลประทับรับฟ้อง จำเลยที่ 1-2 ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 3 หลบหนี จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า เชื่อว่า นายธาริต จำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีดีเอสไอเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากนายประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในขณะนั้น สั่งใช้มาตรการพิเศษคุ้มครองพยานปากจำเลยที่ 3 โดยมีเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ 5 คน ที่ รมว.ยุติธรรม แต่งตั้ง เป็นการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ตามลำดับชั้นบังคับบัญชา ซึ่งต้องดำเนินการเป็นความลับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพยานฯ ในคดีอาญา พ.ศ.2546 มาตรา 9 และ 10 พยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองนำสืบยังไม่พอฟังว่าการคุ้มครองพยานจำเลยที่ 3 เป็นเท็จ
ส่วนการยื่นขอให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสอง ของจำเลยที่ 1-2 เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ เห็นว่า ในคำร้องขอคุ้มครองพยานระบุว่า ถูก พล.ต.ท.สมคิด โจทก์ที่ 1 ใช้ให้บริวารตามข่มขู่จำเลยที่ 3 และครอบครัว เพื่อไม่ให้จำเลยที่ 3 เข้าเบิกความเป็นพยานในคดีอาญา รวมทั้งโจทก์ที่ 1 แถลงข่าวในทางทำให้จำเลยที่ 3 เสื่อมเสีย จนไม่อาจอยู่เป็นปกติสุขได้ แม้จำเลยที่ 3 เปลี่ยนชื่อก็ยังไม่พ้นต้องขอเปลี่ยนที่อยู่และคุ้มครองความปลอดภัย กรณีนี้โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างลอยๆ ว่าไม่มีพฤติการณ์ดังกล่าว แม้โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นการค้นหาความจริงเพื่อเอาผิดจำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมกันพาจำเลยที่ 3 ออกนอกประเทศโดยมิชอบ
ซึ่งกรณีนี้ นายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาการณ์แทนปลัดกระทรวงยุติธรรมขณะนั้น เบิกความว่าได้หนังสือจากกระทรวงการต่างประเทศส่งมาจากสถานทูตซาอุดิอาระเบีย มีข้อความแปลเป็นไทยสรุปข้อความได้ว่า โจทก์ที่ 1 ได้รับและเผยแพร่เอกสารที่เป็นเรื่องลับและละเอียดอ่อนเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อและออกหนังสือเดินทางให้กับจำเลยที่ 3 พร้อมรายละเอียดต่างๆ ทางสถานทูตมีความประหลาดใจที่โจทก์ที่ 1 เป็นอิสระที่ทำเรื่องที่ว่าโดยไม่มีการสอบสวนใดๆ บ่งชี้ถึงความสามารถที่ใช้อิทธิพลอำนาจในทางที่เป็นเพื่อให้ได้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น พร้อมใช้ประโยชน์จากสื่อมีการแถลงข่าวพร้อมเหล่าข้าราชการแจกใบปลิว มุ่งที่จะให้กระบวนการยุติธรรมเสื่อมเสียชื่อเสียง ทางสถานทูตเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะกดดัน จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนจำเป็น เพื่อลดความกังวลของรัฐบาลซาอุฯ
เมื่อนายธาริต จำเลยที่ 1 พิจารณาข้อเท็จจริงในหนังสือดังกล่าวประกอบคำร้องจำเลยที่ 3 พบว่ามีมูลตามคำขอ จึงนำไปยื่นต่อศาลอาญา ขอให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวโจทก์ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกันเห็นว่า พฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้งสองเป็นการยุ่งเหยิงกับพยานตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 108/1 (2)(5) จึงทำคำร้องโดยอ้างเหตุตามข้อเท็จจริงที่ได้มาไปยื่นต่อศาลอาญา เป็นการใช้ดุลยพินิจตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 108/1 (2)(5) ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ส่วนปัญหาที่จำเลยที่ 1-2 นำข้อเท็จจริงตามคำร้องดังกล่าวเบิกความต่อศาลอาญาตามคำร้องนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 (เเจ้งความอันเป็นเท็จต่อศาล) และคดีขาดอายุความหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป พิพากษายกฟ้อง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |