30 ก.ย. 2563 นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้จะฟื้นตัวชัดเจนในไตรมาส 2/2564 เนื่องจากไตรมาส 2/2563 เศรษฐกิจหดตัวลงไปแรงมาก ส่งผลให้ฐานต่ำ โอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตเป็นบวกจึงมีโอกาสสูงมาก ขณะที่การเติบโตไตรมาสต่อไตรมาสจากนี้ ก็จะขยายตัวเป็นบวก แต่ก็ยังเป็นการขยายตัวที่ติดลบ โดยคาดว่าจะขยายตัวติดลบไปจนถึงไตรมาส 1/2564 แต่ถ้ามีการล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้ง เศรษฐกิจก็จะติดลบต่ออีก
“ไตรมาส 3-4 ปีนี้ เศรษฐกิจจะยังขยายตัวติดลบอยู่ แต่น้อยกว่าไตรมาส 2/2563 โดย ธปท. ประเมินว่าในช่วงครึ่งปีหลัง เฉลี่ยไตรมาส 3 และ 4 ปีนี้ เศรษฐกิจจะขยายตัวติดลบประมาณ 8.5% ก็จะยังติดลบอยู่ไปจนถึงไตรมาส 1 ของปีหน้า” นายดอน กล่าว
สำหรับเม็ดเงินเพื่อการฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ยังเหลืออยู่ หากออกได้เร็ว ออกได้เยอะก็จะมีผลในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ และปีหน้า ขึ้นอยู่กับรัฐบาล รวมถึงกรณีที่ยังไม่มี รมว.การคลังคนใหม่ ยอมรับว่า มีหลายโครงการที่ตอนนี้ต้องหยุดไปเลย ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม
นายดอน กล่าวว่าแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติประเภทพิเศษ หรือ special tourist visa (STV) เชื่อว่าจะไม่มีผลต่อเศรษฐกิจในปีนี้ เนื่องจากเป็นการเปิดรับนักท่องเที่ยวไม่เกิน 1,200 คนต่อเดือน จากปกติอยู่ที่ 3 ล้านคนต่อเดือน จึงถือว่าเป็นการใช้จ่ายน้อยมาก แต่ก็เป็นการจัดการของรัฐบาลทีละขึ้นตอน ซึ่งจะเป็นการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน ส.ค. 2563 ปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ตามมูลค่าการส่งออกสินค้า ที่ยังหดตัวที่ระดับ 8.2% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับการทยอยฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน หลังเร่งมากไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวน้อยลงต่อเนื่องในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับทิศทางการส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัว 19.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน
สำหรับการลงทุนภาคเอกชน หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ จากการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ทยอยฟื้นตัว และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้น แม้ยังอยู่ในระดับต่ำก็ตาม ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว สอดคล้องกับปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่ทยอยปรับดีขึ้น ทั้งการจ้างงาน รายได้ของครัวเรือน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แม้ในเดือนนี้เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมจะหดตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและหมวดบริการ หลังจากปัจจัยพิเศษวันหยุดยาวในเดือนก่อนหมดลง ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนหดตัวน้อยลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากการซื้อรถยนต์รุ่นใหม่หลังจากที่เริ่มมีการเปิดตัวในเดือนก่อน
ขณะที่ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ระดับ 100% จากระยะเดียวกันของปีก่อน จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของไทยที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอน ขยายตัวสูงขึ้น ตามรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางที่ยังคงขยายตัวสูง ขณะที่รายจ่ายประจำของรัฐวิสาหกิจและรัฐบาลกลางยังหดตัว หากเร่งในส่วนนี้ให้ดีขึ้นจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบเล็กน้อย จากราคาอาหารสดและราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเล็กน้อย ส่วนอัตราการนว่างงานปรับลดลงเล็กน้อย แต่จำนวนผู้ขอรับสิทธิว่างงานยังอยู่ในระดับสูง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกิดดุลจากการส่งออกทองคำเป็นสำคัญ ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิเล็กน้อยจากด้านหนี้สิน ตามการขายสุทธิตราสารทุนไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศของสถาบันการนเงินที่รับฝากเงินของไทย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |