เชื่อสร้างบัณฑิต-อาชีวะพันธุ์ใหม่ดันปฎิรูปการศึกษา


เพิ่มเพื่อน    

“หมออุดม” เชื่อ "โครงการสร้างบัณฑิต- อาชีวะ"พันธุ์ใหม่ เป็นการปฏิรูปเรื่องการศึกษาไปในตัว เหตุจะต้องมีการปรับกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง เตรียมของบฯ กลาง ปี 61 ในส่วนของอาชีวะ 119 ล้านบาท และอุดมศึกษา 1,277 ล้านบาท เผย มีมหา’ลัย เข้าร่วม 20 แห่ง 235 หลักสูตร  วิทยาลัยอาชีวะเข้าร่วม 27 แห่ง

 

นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้การอนุมัติโครงการสร้างบัณฑิตและอาชีวะพันธุ์ใหม่ ศธ. ได้เห็นความสำคัญในการที่จะตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการวางแผนผลิตคนในสาขาต่างๆ เช่น ช่างอุตสาหกรรม ช่างเทคนิค วิศวกร เป็นต้น โครงการนี้จะตอบโจทย์ใหญ่ๆ ของประเทศอยู่ 3 เรื่อง คือ 1.จะเป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายประเทศไทย 4.0 ,  2.เป็นการตอบโจทย์เรื่องความขาดแคลนแรงงานด้านต่างๆ และ 3.ตอบโจทย์ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้รับเสียงสะท้อนที่สำคัญว่าบัณฑิตหรือนักศึกษาอาชีวะที่จบการศึกษาไปแล้ว ไม่สามารถทำงานได้ทันที ต้องมีการฝึกการทำงานเพิ่มอีก 1-2 ปี ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นการสร้างบัณฑิตที่มีทั้งองค์ความรู้ มีสมรรถนะ และทักษะที่ตอบโจทย์ภาคเอกชนและตอบโจทย์ตลาดแรงงานได้จริง และโครงการนี้ยังได้รับความสนใจจากบริษัทต่างๆ ที่จะมาร่วมใน โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ด้วย

 สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนของอาชีวศึกษา จะมีค่าใช้ที่รัฐบาลสนับสนุน จำนวน 35,000 บาทต่อคนต่อหลักสูตร ส่วนระดับอุดมศึกษา หลักสูตรระยะสั้น มีค่าใช้จ่าย 60,000 บาทต่อคน ส่วนหลักสูตรระดับปริญญา โครงการ 5 ปี 120,000-150,000 ต่อคนต่อปี โดยเบื้องต้นจะของบประมาณกลางปี 2561 เพื่อที่จะให้เริ่มโครงการได้ในส่วนของอาชีวศึกษา 119 ล้านบาท และอุดมศึกษา 1,277 ล้านบาท ส่วนปีหน้าและปีต่อไป ตนได้หารือกับสำนักงบประมาณว่าจะไม่มีการขอกรอบงบประมาณเพิ่ม ด้วยการลดจำนวนหลักสูตรไม่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติให้ลดจำนวนลง เพื่อนำงบประมาณมาใช้ในส่วนนี้

“จุดประสงค์ใหญ่อีกประการหนึ่งของโครงการนี้ คือ การปฏิรูปเรื่องการศึกษาไปในตัว ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการจัดการศึกษาของทั้งระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพราะว่าการที่เราจะสามารถทำให้เกิดบัณฑิตอาชีวะพันธุ์ใหม่ได้ จะต้องมีการปรับกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง อีกทั้งโครงการนี้ยังกำหนดให้มีการเรียนในสถานที่จริง อย่างน้อยร้อยละ 50 ของเวลาเรียนทั้งหมด อีกทั้งยังต้องมีอาจารย์ไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะทำงานได้จริงด้วย และหลักสูตรจะต้องเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ในส่วนของภาคเอกชนโครงการนี้กำหนดให้ร่วมตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร กำหนดกระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล รวมถึงส่งคนมาเป็นอาจารย์พิเศษด้วย ซึ่งก่อนที่จะเสนอ ครม.พิจารณา ศธ.ได้ดำเนินการเชิญภาคเอกชนกว่า 20 แห่ง มาร่วมให้ข้อเสนอแนะกับโครงการนี้ด้วย”รมช.ศธ.กล่าว

นพ.อุดม กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในส่วนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่มีมหาวิทยาลัยที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 มหาวิทยาลัย 235 หลักสูตร โดยหลักสูตรจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หลักสูตรระยะสั้นที่ใช้เวลาอบรม 6 เดือน - 1 ปี ใช้ในการพัฒนากำลังคนที่ทำงานอยู่แล้วให้มีทักษะและสมรรถนะสูงขึ้น ซึ่งวางเป้าหมายไว้ว่าในระยะเวลา 3 ปี จะสามารถผลิตกำลังคนได้ จำนวน 51,995 คน และในส่วนที่สอง คือ หลักสูตรระดับปริญญา โครงการ 5 ปี เมื่อจบโครงการจะสามารถผลิตบัณฑิตได้ จำนวน 56,078 คน

 สำหรับอาชีวะพันธุ์ใหม่ มีวิทยาลัยที่เข้าร่วม 22 วิทยาลัย ในกลุ่ม 5 อุตสาหกรรมหลัก และจะมีในส่วนของสมาร์มฟาร์มมิ่ง อีก 5 วิทยาลัย รวมเป็น 27 วิทยาลัย ซึ่งจะสามารถผลิตกำลังคนได้ 8,500 คน ในระยะเวลา 5 ปี สาเหตุที่ผลิตได้น้อย เพราะได้ตั้งข้อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้สูงมาก เช่น หลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากล เป็นต้น จึงทำให้มีวิทยาลัยที่เข้าเกณฑ์เพียง 27 แห่ง ส่วนวิทยาลัยที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ศธ. จะลงไปช่วยพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมเข้าร่วมโครงการในระยะต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"